free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomePolicyDG MARE เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อข้อกำหนดในการนำเข้าวัตถุดิบสินค้าประมงที่ขาดแคลนภายใต้โควตาภาษีอิสระไปยังสหภาพยุโรป

DG MARE เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อข้อกำหนดในการนำเข้าวัตถุดิบสินค้าประมงที่ขาดแคลนภายใต้โควตาภาษีอิสระไปยังสหภาพยุโรป

raw frozen shrimp in close up shot
Photo by Deane Bayas on Pexels.com

ด้วย เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 กรรมาธิการยุโรปทางกิจการทางทะเลและประมง (DG MARE: Directorate-General for Maritime Affairs and Fisheries) ได้ประกาศเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะผ่านแบบสอบถาม (questionnaire) ออนไลน์ ต่อประเด็นการนำเข้าวัตถุดิบสินค้าประมงที่ขาดแคลนภายใต้โควตาภาษีอิสระไปยังสหภาพยุโรป สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

  1. ขณะนี้ DG MARE กำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะผ่านแบบสอบถาม (questionnaire) ออนไลน์ ต่อประเด็นการนำเข้าวัตถุดิบสินค้าประมงที่ขาดแคลนภายใต้โควตาภาษีอิสระ (EU’s Autonomous Tariff Quotas : ATQs) ไปยังสหภาพยุโรป ปัจจุบัน สหภาพยุโรปมีการนำเข้าวัตถุดิบประมงที่ขาดแคลนในสหภาพยุโรปจากประเทศที่สามภายใต้โควตาภาษีอิสระ* วัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคอุตสาหกรรมผู้ผลิตอาหารในสหภาพยุโรปให้สามารถเข้าถึงวัตถุดิบสัตว์น้ำที่มีความต้องการสูงที่ มีปริมาณไม่เพียงพอหรือมีราคาแข่งขันที่สูงในตลาดสหภาพ ยุโรป โดยระบบโควตา ATQs ตั้งอยู่บนพื้นฐาน « first-come first-served basis » และไม่ยึดติดกับเงื่อนไขความยั่งยืน ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการอนุรักษ์และการจัดการสต็อกปลาของการทำประมงนอกน่านน้ำสหภาพยุโรป ตลอดจนผลกระทบต่อประเด็นทางเศรษฐกิจ สังคม และความสามารถในการแข่งขันของภาคประมงในสหภาพยุโรปเอง
  2. ดังนั้น DG MARE จึงอยู่ในช่วงพิจารณาปรับเปลี่ยนเงื่อนไขระบบโควตา ATQs เพื่อให้มีความสอดคล้องกับหลักความยั่งยืนของสินค้าประมงที่นำเข้าภายใต้ ATQs ที่ควรมีต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจรวมถึงการนำเกณฑ์ความยั่งยืนมาปรับใช้กับสินค้านำเข้าที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษี ATQs นี้ ซึ่งจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะผ่านแบบสอบถามในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีบทบาทเชิงรุกในการกำหนดนโยบายร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการรับฟังเสียงจากกลุ่มประชากร องค์กรภาครัฐ/เอกชน ผู้ประกอบการ นักวิจัย สถาบันการศึกษา องค์กรระหว่างประเทศ ทั้งในและนอกสหภาพยุโรป
  3. โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปตอบแบบสอบถามทางออนไลน์ของ DG MARE ได้จนถึงวันที่ 3 กรกฎาคม 2568 โดยผลที่ได้รับ DG MARE จะนำไปใช้ในการประเมินปรับแก้ระบบโควตา ATQs ที่จะมีผลบังคับใช้ในอนาคต โดยผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารการให้ข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องได้ที่เว็บไซต์ ดังนี้
    https://ec.europa.eu/info/law/better-regulation/have-your-say/initiatives/14358-Sustainable-imports-of-fishery-products-under-the-EU-Autonomous-Tariff-Quota-Regulation/public-consultation_en   

* ปัจจุบันการนำเข้าวัตถุดิบสินค้าประมงภายใต้โควตาภาษีอิสระไปยังสหภาพยุโรป อยู่ภายใต้ Council Regulation 2023/2720 ซึ่งกำหนด

โควตา ATQs ประจำปี 2557-2559 จำนวน 31 รายการ ครอบคลุมสินค้าประมงที่ไม่ได้แปรรูปและกึ่งแปรรูป ซึ่งเป็นที่ต้องการของภาค

อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในสหภาพยุโรป อาทิ  ปลาหมึก กุ้งขาว กุ้งแดง กุ้มชมพู ปลานิล และซูริมิ ภาษีนำเข้า ATQs ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับศูนย์

เพื่อช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบและส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารและราคาที่แข่งขันได้สำหรับผู้บริโภคในสหภาพยุโรป