free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับมาตรการตรวจสอบควบคุมชั่วคราวและมาตรการฉุกเฉินกับสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากพืช ที่มีความเสี่ยงที่นำเข้าจากประเทศที่สาม

สหภาพยุโรปปรับมาตรการตรวจสอบควบคุมชั่วคราวและมาตรการฉุกเฉินกับสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากพืช ที่มีความเสี่ยงที่นำเข้าจากประเทศที่สาม

red chili peppers on brown wooden surface
Photo by Lum3n on Pexels.com

คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ  Commission Implementing  Regulation  (EU)  2024/1662  ว่าด้วย การปรับแก้ไข Commission Implementing Regulation (EU) 2019/1793 ในการเพิ่มการตรวจสอบควบคุมชั่วคราว และการปรับใช้มาตรการฉุกเฉินกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่สาม ภายใต้ Regulation (EU) 2017/625 และ Regulation (EC) No 178/2002 ใน EU Official Journal L series โดยมีรายละเอียดดังนี้

      1) การแก้ไขภาคผนวก Implmenting Regulation (EU) 2019/1793:

         1.1  แก้ไขภาคผนวก I, และ II ตามกฎระเบียบฉบับนี้ โดยสรุปดังนี้

                (1) ภาคผนวก I (บัญชีตรวจสอบควบคุมชั่วคราว):

                        ก) กำหนดความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ระดับร้อยละ 20 ในมะเขือ (aubergines/eggplants: Solanum aethiopicum) จากบูร์กินาฟาโซ  

                       ข) ) ยกเลิกมาตรการสุ่มตรวจสารอัลฟลาทอกซิน (Aflatoxins) ในบราซิลนัทที่มีเปลือก (Brazil nuts in shell) ถั่วผสม (mixture) ที่มีบราซิลนัท หรือผลไม้แห้งที่มีส่วนผสมของบราซิลนัทที่มีเปลือก จากบราซิล เนื่องจากไม่มีการนำเข้าเป็นเวลานานกว่า 3 ปี  

                       ค) ยกเลิกมาตรการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง (groundnuts and products produced from groundnuts) จากบราซิล เนื่องจากสถิติผลการสุ่มตรวจเป็นที่น่าพอใจ

                       ง) กำหนดให้ถั่วฝักยาว (yardlong beans) จากสาธารณรัฐโดมินิกัน จากเดิมถูกบรรจุอยู่ในภาคผนวก II  (บัญชีเงื่อนไขพิเศษ) ให้ย้ายมาอยู่ในภาคผนวก I (บัญชีตรวจสอบควบคุมชั่วคราว) เนื่องจากผลการสุ่มตรวจพบปัญหามีปริมาณน้อยลง โดยอนุโลมให้สาธารณรัฐโดมินิกันไม่ต้องทำการสุ่มตรวจวิเคราะห์ก่อนการส่งออก เพื่อรับรองว่า ถั่วฝักยาวปลอดจากสารกำจัดศัตรูพืชในปริมาณ MRLs ที่กำหนด เพื่อใช้ประกอบไปกับหนังสือรับรองการนำเข้า หากให้คงความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืชที่ระดับร้อยละ 30 ในถั่วฝักยาวจากสาธารณรัฐโดมินิกัน

                       จ) ปรับลดความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารอัลฟลาทอกซิน (Aflatoxins) จากเดิมที่ระดับร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 20 ในเฮเซลนัท ถั่วผสม (mixture) ที่มีเฮเซลนัท และผลิตภัณฑ์จากเฮเซลนัทจากจอร์เจีย

                       ฉ) ยกเลิกมาตรการสุ่มตรวจสารอัลฟลาทอกซิน (Aflatoxins) ในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง (groundnuts and products produced from groundnuts)  จากแกมเบีย เนื่องจากไม่มีการนำเข้าเป็นเวลานานกว่า 3 ปี 

                       ช) กำหนดให้ถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง (groundnuts and products produced from groundnuts) จากกาน่า จากเดิมถูกบรรจุอยู่ในภาคผนวก II  (บัญชีเงื่อนไขพิเศษ) ให้ย้ายมาอยู่ในภาคผนวก I (บัญชีตรวจสอบควบคุมชั่วคราว) เนื่องจากไม่มีการนำเข้าเป็นเวลานานกว่า 3 ปี  หากให้คงความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารอัลฟลาทอกซิน (Aflatoxins) ที่ระดับร้อยละ 50                                                                                                                 

                       ซ) เพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจเชื้อซัลโมแนลลา ที่ระดับร้อยละ 50 ในใบพลู (betel leaves: Piper betle L.) จากอินเดีย

                       ฌ) เพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ที่ระดับร้อยละ 30 ในมะรุม (drumsticks: Moringa oleifera) จากอินเดีย

                       ญ) ยกเลิกมาตรการสุ่มตรวจสารเอทิลีนออกไซด์ (ethylene oxide) ในโลคัสต์บีน (locust beans) เมล็ดโลคัสต์บีนที่ยังไม่ได้แกะเปลือก บดหรือป่น รวมถึงยางและสารสกัดที่ได้รับการดัดแปลงหรือไม่ได้รับการดัดแปลงจากโลคัสต์บีนหรือเมล็ดโลคัสต์บีนจากอินเดีย เนื่องจากผลการสุ่มตรวจเป็นที่น่าพอใจ

                       ฎ) ยกเลิกมาตรการสุ่มตรวจสารเพนทาคลอโรฟีนอลและสารไดออกซิน (pentachlorophenol and dioxins) รวมถึงสารเอทิลีนออกไซด์ (ethylene oxide) ตกค้างในกัวร์กัม (guar gum) จากอินเดีย เนื่องจากสถิติผลการสุ่มตรวจเป็นที่น่าพอใจ

                       ฏ) กำหนดให้เครื่องปรุงผสมวัตถุเจือปนอาหารที่มีโลคัสต์บีน (locust beans) หรือกัวร์กัม (guar gum) หรือวานิลลา และฝัก (ทั้งผล ฝัก และลำต้น) จากอินเดีย จากเดิมถูกบรรจุอยู่ในภาคผนวก II  (บัญชีเงื่อนไขพิเศษ) ให้ย้ายมาอยู่ในภาคผนวก I (บัญชีตรวจสอบควบคุมชั่วคราว) เนื่องจากผลการสุ่มตรวจพบปัญหามีปริมาณน้อยลง โดยอนุโลมให้อินเดียไม่ต้องทำการสุ่มตรวจวิเคราะห์ก่อนการส่งออก เพื่อรับรองว่า ปลอดจากสารเอทิลีนออกไซด์ เพื่อใช้ประกอบไปกับหนังสือรับรองการนำเข้า หากให้คงความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารเอทิลีนออกไซด์ ที่ระดับร้อยละ 20 ในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

                      ฐ) ยกเลิกมาตรการสุ่มตรวจสารเอทิลีนออกไซด์ (ethylene oxide) ตกค้างในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีเครื่องเทศ/เครื่องปรุงรสหรือซ๊อส (instant noodles containing spices/seasonings or sauces) จากเกาหลีใต้ เนื่องจากสถิติผลการสุ่มตรวจเป็นที่น่าพอใจ

                       ฑ) กำหนดให้เครื่องปรุงผสมวัตถุเจือปนอาหารที่มีโลคัสต์บีนกัม (locust beans gum) จากมาเลเซีย จากเดิมถูกบรรจุอยู่ในภาคผนวก II  (บัญชีเงื่อนไขพิเศษ) ให้ย้ายมาอยู่ในภาคผนวก I (บัญชีตรวจสอบควบคุมชั่วคราว) เนื่องจากผลการสุ่มตรวจพบปัญหามีปริมาณน้อยลง โดยอนุโลมให้มาเลเซียไม่ต้องทำการสุ่มตรวจวิเคราะห์ก่อนการส่งออก เพื่อรับรองว่า ปลอดจากสารเอทิลีนออกไซด์ เพื่อใช้ประกอบไปกับหนังสือรับรองการนำเข้า หากให้คงความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารเอทิลีนออกไซด์ ที่ระดับร้อยละ 30 ในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

                      ฒ) ปรับลดความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารอัลฟลาทอกซิน (Aflatoxins) จากเดิมที่ระดับร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 30 ในเครื่องเทศผสม (spice mixes) จากปากีสถาน

                       ณ) ยกเลิกมาตรการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืชในพริก (Capsicum) นอกเหนือจากพริกหวานจากปากีสถาน เนื่องจากไม่มีการนำเข้าเป็นเวลานานกว่า 3 ปี                                                                                                               

                       ด) ยกเลิกมาตรการสุ่มตรวจสารอัลฟลาทอกซิน (Aflatoxins) ในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง (groundnuts and products produced from groundnuts)  จากซูดาน เนื่องจากไม่มีการนำเข้าเป็นเวลานานกว่า 3 ปี 

                       ต) ปรับลดความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืช จากเดิมที่ระดับร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 20 ในเกรฟฟรุ๊ต (grapefruits) จากตุรกี                                                                                                   

                       ถ) ยกเลิกมาตรการสุ่มตรวจสารเอทิลีนออกไซด์ (ethylene oxide) ตกค้างในในโลคัสต์บีน (locust beans) เมล็ดโลคัสต์บีนที่ยังไม่ได้แกะเปลือก บดหรือป่น รวมถึงยางและสารสกัดที่ได้รับการดัดแปลงหรือไม่ได้รับการดัดแปลงจากโลคัสต์บีนหรือเมล็ดโลคัสต์บีนจากตุรกี เนื่องจากสถิติผลการสุ่มตรวจเป็นที่น่าพอใจ

                       ท) กำหนดให้เครื่องปรุงผสมวัตถุเจือปนอาหารที่มีโลคัสต์บีนกัม (locust beans gum)  จากตุรกี จากเดิมถูกบรรจุอยู่ในภาคผนวก II  (บัญชีเงื่อนไขพิเศษ) ให้ย้ายมาอยู่ในภาคผนวก I (บัญชีตรวจสอบควบคุมชั่วคราว) เนื่องจากผลการสุ่มตรวจพบปัญหามีปริมาณน้อยลง โดยอนุโลมให้ตุรกีไม่ต้องทำการสุ่มตรวจวิเคราะห์ก่อนการส่งออก เพื่อรับรองว่า เครื่องปรุงดังกล่าวปลอดจากสารเอทิลีนออกไซด์ เพื่อใช้ประกอบไปกับหนังสือรับรองการนำเข้า หากให้คงความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารเอทิลีนออกไซด์ ที่ระดับร้อยละ 30

                       ธ) ยกเลิกมาตรการสุ่มตรวจสารเอทิลีนออกไซด์ (ethylene oxide) ตกค้างในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีเครื่องเทศ/เครื่องปรุงรสหรือซ๊อส (instant noodles containing spices/seasonings or sauces) จากเวียดนาม เนื่องจากสถิติผลการสุ่มตรวจเป็นที่น่าพอใจ

                      น) สำหรับไทย คงมาตรการเดิม คือ กำหนดความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในพืช 2 รายการ ได้แก่

                          –  พริก (Capsicum) ที่ไม่ใช่พริกหวาน (พริกสด พริกแช่เย็น และพริกแช่แข็ง)  ที่ระดับร้อยละ 30

                          – เสาวรส (Passiflora ligularis/Passiflora edulis) (ผลสด) ที่ระดับร้อยละ 10

                     (2) ภาคผนวก II (บัญชีเงื่อนไขพิเศษ):

                         ก) กำหนดให้บัวบก (gotukola : Centella asiatica) จากศรีลังกา จากเดิมถูกบรรจุอยู่ในภาคผนวก I (บัญชีตรวจสอบควบคุมชั่วคราว) ให้ย้ายไปบรรจุอยู่ในภาคผนวก II (บัญชีเงื่อนไขพิเศษ) เนื่องจากผลการสุ่มตรวจพบปัญหามีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยกำหนดให้ศรีลังกาต้องทำการสุ่มตรวจวิเคราะห์ก่อนการส่งออก เพื่อรับรองว่า ปลอดจากสารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง เพื่อใช้ประกอบไปกับหนังสือรับรองการนำเข้า โดยกำหนดความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืช ที่ระดับร้อยละ 50   

                         ข) กำหนดเพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืช ที่ระดับร้อยละ 50  ในพริก (Capsicum) ที่ไม่ใช่พริกหวานจากเวียดนาม โดยกำหนดให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของเวียดนามต้องแนบผลการสุ่มตรวจวิเคราะห์พริกที่ส่งออกว่าปลอดจากสารกำจัดศัตรูพืช

                         ค) กำหนดลดความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารอัลฟลาทอกซินในพริกไทย ขิง หญ้าฝรั่น ขมิ้น ไทม์ ใบเบย์ เคอร์รี และเครื่องเทศอื่นๆ (แห้ง บด หรือป่น) จากเอธิโอเปีย ที่ระดับร้อยละ 30   

                         ง) กำหนดเพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารอัลฟลาทอกซิน ที่ระดับร้อยละ 50  ในจันทร์เทศ (nutmeg)จากอินโดนีเซีย

                         จ) กำหนดเพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารเอทิลีนออกไซด์ (ethylene oxide)  ที่ระดับร้อยละ 30  ในจันทร์เทศ (nutmeg)ดอกจันทร์เทศ (mace) และกระวาน (cardamoms)จากอินเดีย

                         ฉ) กำหนดลดความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารอัลฟลาทอกซิน  ที่ระดับร้อยละ 20  ในมะเดื่อแห้ง ผลิตภัณฑ์ผสมและผลิตภัณฑ์จากมะเดื่อแห้งจากตุรกี  

                          ช) กำหนดลดความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารอัลฟลาทอกซิน ที่ระดับร้อยละ 30 ในถั่วพิสตาชิโอ ผลิตภัณฑ์ผสมและผลิตภัณฑ์จากถั่วพิสตาชิโอจากตุรกี 

                          ซ) กำหนดเพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจเชื้อซัลโมแนลลา ที่ระดับร้อยละ 30 ในเมล็ดงา (sesamum seeds) จากยูกันดา

                          ฌ) กำหนดเพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืช  ที่ระดับร้อยละ 30  ในแก้วมังกร (dragon fruit) จากเวียดนาม

                          ญ) กำหนดลดความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารอัลฟลาทอกซินที่ระดับร้อยละ 30  ในถั่วพิสตาชิโอ (pistachios) และผลิตภัณฑ์จากถั่วพิสตาชิโอที่มีแหล่งกำเนิดจากสหรัฐอเมริกา และส่งออกโดยตุรกีไปยังสหภาพยุโรป      

                 1.2 มาตรการอื่นๆ

                       (1) ปรับแก้รหัส TARIC sub-division/CN codes ของซ๊อสจากงาขาวและขนมจากงาขาว (tahini and halva) และเมล็ดงา (sesamum seeds) จากซีเรีย

                      (2) ปรับแก้รหัส TARIC sub-division/CN codes ของเมล็ดงา (sesamum seeds) จากตุรกี

                       (3) ปรับแก้รหัส TARIC sub-division/CN codes ของมะเขือ (aubergines) จากสาธารณรัฐโดมินิกัน

                       (4)  ปรับแก้รหัส TARIC sub-division/CN codes ของเมล็ดงา (sesamum seeds) จากเอธิโอเปีย อินเดีย ไนจีเรีย ซูดาน และยูกันดา                    

                 2)  ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน  

                 กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2567) อย่างไรก็ตาม อนุโลมช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับบัวบก (gotukola : Centella asiatica) จากศรีลังกา และพริก(Capsicum) ที่ไม่ใช่พริกหวานจากเวียดนาม ที่มีการส่งออกจากประเทศแหล่งกำเนิดหรือจากประเทศที่สามอื่นที่ไม่ใช่ประเทศแหล่งกำเนิด ก่อนที่กฎระเบียบฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ (ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2567) ให้สามารถนำเข้าไปยังสหภาพยุโรปได้ไปจนถึงวันที่ 2 กันยายน 2567 เป็นอย่างช้า โดยไม่ต้องมีผลการสุ่มตรวจวิเคราะห์แนบไปกับหนังสือรับรองฯ ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้ https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=OJ:L_202401662