อำนาจหน้าที่ | ภารกิจ

อำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงฯ

  1. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนงานตามนโยบายด้านการเกษตรของประเทศของกระทรวงฯ
  2. ศึกษา วิเคราะห์ และติดตามนโยบาย มาตรการ และภาวะความเคลื่อนไหวทางการเกษตรในต่างประเทศ
  3. เป็นผู้แทนกระทรวงฯ ในการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางด้านมาตรการที่มิใช่ภาษีของสินค้าเกษตร และร่วมมือและให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรระหว่างประเทศ
  4. เป็นผู้แทนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมประชุมเจรจาในองค์การหรือหน่วยงานต่างประเทศ และระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงฯ
  5. เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับองค์การหรือหน่วยงานต่างประเทศและระหว่างประเทศ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรของไทย
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

ภารกิจ

  1. ติดตาม/วิเคราะห์นโยบาย กฎระเบียบ และมาตรการด้านการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารของสหภาพยุโรป
  2. ศึกษา วิเคราะห์ และติดตามนโยบาย มาตรการ และภาวะความเคลื่อนไหวทางการเกษตรในต่างประเทศ
  3. รักษาตลาดสินค้าเกษตรและอาหารของไทยในสหภาพยุโรป
  4. ติดตามความเคลื่อนไหวด้านการเกษตรเพื่อเพิ่มขีดการแข่งขันให้แก่เกษตรกรและผู้ประกอบการไทย
  5. ผลักดันการขยายตลาดและส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าเกษตร/อาหารไทย
  6. สนับสนุนและหาช่องทางส่งเสริมให้หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานในยุโรป
  7. เผยแพร่ข้อมูลและอำนวยความสะดวกให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนไทย

ขอบเขต/ประเทศที่อยู่ในความรับผิดชอบ

  1. คณะกรรมาธิการยุโรปในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงเกษตรแลพสหกรณ์ อาทิ
    • กรรมาธิการยุโรปด้านการเกษตรและพัฒนาชนบท (Commissioner for Agriculture and Rural Development: DG-AGRI)
    • กรรมาธิการยุโรปด้านสุขภาพและความปลอดภัยอาหาร (Commissioner for Health and Food Safety: DG-SANTE)
    • กรรมาธิการยุโรปด้านสิ่งแวดล้อม (Commissioner for Environment: DG-ENVI)
    • กรรมาธิการยุโรปด้านการค้า (Commissioner for Trade: DG-TRADE)
    • กรรมาธิการยุโรปด้านประมงและทะเล (Commissioner for Maritime Affairs and Fisheries: DG-MARE)
  2. ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป  27 ประเทศ:
    • กรีซ โครเอเชีย เช็กเกีย ไซปรัส เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ บัลแกเรีย เบลเยียม โปรตุเกส โปแลนด์ ฝรั่งเศส ฟินแลนด์  มอลตา เยอรมนี โรมาเนีย ลักเซมเบิร์ก ลัตเวีย ลิทัวเนีย สเปน สโลวาเกีย สโลวีเนีย สวีเดน ออสเตรีย อิตาลี เอสโตเนีย ไอร์แลนด์ ฮังการี
  3. ประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรป คือ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์
  4. สหราชอาณาจักร (ออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปวันที่ 31 มกราคม 2563)