คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Implementing Decision (EU) 2023/1811 ว่าด้วย การกำหนดแผนตรวจสอบควบคุมประจำปี 2567 ในห่วงโซ่สินค้าเกษตร-อาหารในประเทศสมาชิก ใน EU Official Journal L 234/196 โดยมีรายละเอียดดังนี้
- คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรกำหนดแผนตรวจสอบควบคุมประจำปี 2567 ในห่วงโซ่สินค้าเกษตร-อาหารในประเทศสมาชิก รวม 10 รายการ ดังนี้
1.1 อาหารและความปลอดภัยอาหาร โดยแยกเป็น:
1.1.1 อาหารที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์: ความปลอดภัยของเนื้อสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เนื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ดังกล่าว ความปลอดภัยของนมและผลิตภัณฑ์จากนม และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ประมง
1.1.2 อาหารที่ไม่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์: ความปลอดภัยทางจุลชีววิทยา
1.1.3 สารตกค้างในสัตว์มีชีวิตและอาหารที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์: ความปลอดภัยทางเคมี – สารตกค้าง
1.2 อาหารสัตว์และความปลอดภัยอาหารสัตว์:
1.2.1 ความปลอดภัยอาหารสัตว์: สุขอนามัยอาหารสัตว์ทั่วไป (รวมถึงอาหารสัตว์ที่มียาสัตว์ผสม) ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลิตภัณฑ์พลอยได้จากสัตว์
1.3 สุขภาพสัตว์:
1.3.1 โรคสัตว์ ประเภท A ภายใต้ Regulation (EU) 2016/429 ได้แก่ โรคอหิวาห์สุกร แอฟริกัน โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูง และโรคฝีแกะและแพะ
1.3.2 โรคสัตว์ ประเภท B และ C ภายใต้ Regulation (EU) 2016/429 ได้แก่ โรคปลา ระบบควบคุมโรค ประเภท B และ C
1.3.3 การเตรียมพร้อมและการป้องกัน การวางแผนฉุกเฉินที่ครอบคลุมในช่วงการตรวจสอบโรคอหิวาห์สุกรแอฟริกันและโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูง
1.4 สวัสดิภาพสัตว์:
1.4.1 ที่ฟาร์ม (on farm) ของไก่งวง และปลา (รวมถึงการเชือด/ฆ่า และการขนส่ง)
1.5 สุขภาพพืช:
1.5.1 การระบาดของศัตรูพืช (ที่ก่อให้เกิดภัยคุกคามที่สำคัญ)
1.5.2 การเคลื่อนย้ายพืช ผลิตภัณฑ์พืช และวัสดุอื่นๆ ภายในสหภาพฯ (หนังสือเดินทางพืช)
1.5.3 การเตรียมพร้อมและการป้องกัน (โปรแกรมสำรวจสุขภาพพืช)
1.6 ผลิตภัณฑ์อารักขาพืชและกฎระเบียบการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างยั่งยืน (Sustainable Use of Pesticides Directive: SUD):
1.6.1 ความปลอดภัยทางเคมี (การอนุญาต การวางจำหน่าย การใช้สารกำจัดศัตรูพืช สารกำจัดศัตรูพืชที่ผิดกฎหมาย และการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืช)
1.7 คุณภาพอาหาร:
1.7.1 การทำฟาร์มอินทรีย์
1.8 การนำเข้าสัตว์และสินค้าจากประเทศที่สามไปยังสหภาพยุโรป:
1.8.1 การตรวจสอบควบคุมอย่างเป็นทางการในสัตว์และสินค้า
1.9 ยาต้านจุลชีพ:
1.9.1 การควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพในแบคทีเรียติดเชื้อระหว่างคนและสัตว์ (zoonotic bacteria) และแบคทีเรียอาศัยที่ไม่ก่อโรค (commensal bacteria)
1.10 ลักษณะทั่วไปในห่วงโซ่เกษตร-อาหาร:
1.10.1 การติดตามข้อแนะนำภายหลังจากการตรวจสอบ
1.10.2 สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs)
1.10.3 สถานการณ์ฉุกเฉินใดๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นและการพัฒนาใหม่ๆ
2. แผนตรวจสอบควบคุมดังกล่าวจะปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้