free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืชในสินค้าพืชและสัตว์

สหภาพยุโรปปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืชในสินค้าพืชและสัตว์

Featured Image by Mark Stebnicki under Pexels license
  1. Commission Regulation  (EU)  2023/466  ว่าด้วย การปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 3 รายการ ได้แก่ สาร isoxaben สาร novaluron และสาร tetraconazole ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal  L 68/55 ดังนี้

คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 3 รายการ ได้แก่ สาร isoxaben สาร novaluron และสาร tetraconazole ในสินค้าพืชและสัตว์ ดังนี้

สาร isoxaben

  1. ปรับลดระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้
  2. ผลไม้ ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ถั่วเปลือกแข็ง (tree nuts) ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ผักรากและเหง้า ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ผักหัว ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เมล่อน ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ฝักทอง ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     วิทลูฟ ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     กุยช่ายฝรั่ง ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ใบเซเลอรี่ ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ผักบริโภคลำต้น ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เสจ ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     โรสแมรี่ ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ไทม์ ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     โหระพา (basil) ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เมล็ดน้ำมันและน้ำมันผลไม้ ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ธัญพืช ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     รากชิโครี ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

3. คงระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้

–    ซูกินี ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

–     ถั่ว (สด, ไม่มีฝัก) ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

4. ปรับค่า MRLs ให้อยู่ที่ค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) ได้ ในพืช ดังนี้

–    เมล็ดฝ้าย ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

–     ชาสมุนไพร (แห้ง, ดอกไม้) ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

–    ชาสมุนไพร (แห้ง, ราก) ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

–    ฮ็อพ ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารในพืชดังกล่าว ไม่ครบถ้วน ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาทบทวนค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ

5. กำหนดระดับค่า MRLs ในถั่วลันเตา (สด, ไม่มีฝัก) ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (เท่ากับถั่ว (สด, ไม่มีฝัก)

สาร novaluron

  • กำหนดให้ปรับใช้ค่า MRLs ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD)  ในสินค้าทุกชนิด
  • กำหนดให้ปรับชนิดสารพิษตกค้างที่กำหนดให้ตรวจ  (residue  definition)  เป็นสาร novaluron ค่ารวมของไอโซเมอร์องค์ประกอบ (sum of constituent isomers) สาร tetraconazole
  • คงระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้
  • กากี/พลับญี่ปุ่น ที่ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
  • แอปเปิ้ล ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     แพร์ ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ควินซ์ ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เมดลาร์ ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     วิทลูฟ ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     อาร์ติโชค ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ลินซีด ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เรฟซีด ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ไข่นก ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

ปรับลดระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้

– โลควอท ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เอพริคอต ที่ระดับ 0,03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     พีช ที่ระดับ 0,03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ภ

  –     องุ่นรับประทาน ที่ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     องุ่นทำไวน์ ที่ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     สตรอว์เบอร์รี ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     แตงกวา ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     แตงเจอร์กิ้น ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ซูกีนี ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ข้าวไรย์ ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ข้าวสาลี ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     รากบีทน้ำตาล ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ (ยกเว้น ตัววัว/ตับม้า และนม) ที่ระดับ 0,01 – 0,3มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                                                                                            

 ปรับเพิ่มระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้

– มะเขือเทศ ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     มะเขือ ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เมล่อน ที่ระดับ 0,08 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ฝักทอง ที่ระดับ 0,08 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     แตงโม ที่ระดับ 0,08 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     รากชิโครี ที่ระดับ 0,06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ตับวัว ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ตับม้า ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

 เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารในพืชดังกล่าว ไม่ครบถ้วน ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาทบทวนค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ

กำหนดให้ปรับใช้ค่า MRLs ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD)  ในพริกไทย ข้าวบาร์เล่ย์ ข้าวบัค วีท ข้าวโพด ข้างฟ่าง ข้าวโอ๊ต ข้าว และข้าวซอร์กัม

กำหนดให้ปรับชนิดสารพิษตกค้างที่กำหนดให้ตรวจ  (residue  definition)  เป็นสาร tetraconazole ค่ารวมของไอโซเมอร์องค์ประกอบ (sum of constituent isomers)

กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับสาร isoxaben และสาร tetraconazole ในสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรปหรือสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ก่อนวันที่ 26 กันยายน 2566 โดยให้สามารถใช้ค่า MRLs เดิม

กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้  ๒๐ วันหลังจากที่ประกาศใน  EU  Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม 2566) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32023R0466&from=EN

2. Commission Regulation  (EU)  2023/679  ว่าด้วย การปรับค่าปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 4 รายการ ได้แก่ สาร pyridaben สาร pyridate สาร pyriproxyfen และสาร triclopyr ในสินค้าพืช ใน EU Official Journal  L 86/6 ดังนี้

          คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับค่าปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 4 รายการ ได้แก่ สาร pyridaben สาร pyridate สาร pyriproxyfen และสาร triclopyr ในสินค้าพืช ดังนี้       

สาร pyridaben กำหนดค่า MRLs ของสาร pyridaben ในเกรฟฟรุ๊ต ภายใต้การอนุโลมของ Import tolerancesให้แก่สหรัฐอเมริกา ที่ระดับ 0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

สาร pyridate กำหนดค่า MRLs ของสาร pyridate  ในกุยช่ายฝรั่ง ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

สาร pyriproxyfen กำหนดค่า MRLs ของสาร pyriproxyfen ในเอพริคอต ที่ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

และพีช ที่ระดับ 0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

สาร triclopyr กำหนดค่า MRLs ชั่วคราวของสาร triclopyr ในส้ม เลมอน และส้มแมนดาริน  ที่ระดับ 0,1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน  EU  Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ 24 มีนาคม 2566) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32023R0679&from=EN

3. Commission Regulation  (EU)  2023/710  ว่าด้วย การปรับค่าปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 5 รายการ ได้แก่ สาร bromopropylate สาร chloridazon สาร fenpropimorph สาร imazaquin และสาร tralkoxydim ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal  L 93/57 ดังนี้

คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับค่าปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 5 รายการ ได้แก่ สาร bromopropylate สาร chloridazon สาร fenpropimorph สาร imazaquin และสาร tralkoxydim ในสินค้าพืชและสัตว์ ดังนี้

สาร bromopropylate

สาร bromopropylate ไม่เคยได้รับอนุญาตให้เป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช 

    กำหนดให้ปรับใช้ค่า MRLs ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit Determination: LOD) และให้บรรจุอยู่ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก V

    สาร chloridazon

    สิ้นสุดการอนุญาตใช้งานในวันที่ 31 ธันวาคม 2561

    กำหนดให้ยกเลิกค่า MRLs ของสาร chloridazon ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก II และภาคผนวก III

    สาร imazaquin

    สิ้นสุดการอนุญาตใช้งานในวันที่ 31 ธันวาคม 2561

    กำหนดให้ยกเลิกค่า MRLs ของสาร imazaquin ใน Commission Regulation (EC) No

    396/2005 ภาคผนวก II และภาคผนวก III

    สาร fenpropimorph

    สิ้นสุดการอนุญาตใช้งานในวันที่ 30 เมษายน 2562

    กำหนดให้ยกเลิกค่า MRLs ของสาร fenpropimorph ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก II และภาคผนวก III

    กำหนดค่า MRLs ของสาร fenpropimorph ในกล้วย ภายใต้การอนุโลมของ Import tolerances ให้แก่เวเนซูเอลา ที่ระดับ 0,6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

    กำหนดให้คงค่า MRLs ของสาร fenpropimorph ในข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวไรย์ ข้าวสาลี รากบีทน้ำตาล เนื้อจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และนม ซึ่งเท่ากับค่า CXLs ของ Codex

    สำหรับสินค้าอื่นๆ กำหนดให้ปรับใช้ค่า MRLs ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้     (Limit of Determination: LOD) 

    สาร tralkoxydim

    สิ้นสุดการอนุญาตใช้งานในวันที่ 30 เมษายน 2562

    กำหนดให้ยกเลิกค่า MRLs ของสาร tralkoxydim ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก II และภาคผนวก III

    กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับสารทั้ง 5 รายการ ในสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรปหรือสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ก่อนวันที่ 21 ตุลาคม 2566 โดยให้สามารถใช้ค่า MRLs เดิม

    กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน  EU  Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของ กฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้

    https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32023R0710&from=EN