free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช

สหภาพยุโรปปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช

man fumigating the plants
Photo by Laura Arias on Pexels.com
  • Commission Regulation (EU) 2024/342 ว่าด้วย การปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสาร cyflumetofen สาร oxathiapiprolin และสารpyraclostrobin ในสินค้าพืช ใน EU Official Journal L series โดยมีรายละเอียดดังนี้      

สาร cyflumetofen: คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรให้กำหนดค่า MRLs ของสาร cyflumetofen ในซูกินี แตงเจอร์กิน และพืชวงศ์แตงที่เปลือกบริโภคอื่นๆ ที่ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เช่นเดียวกับแตงกวา

สาร oxathiapiprolin: คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับค่า MRLs ของสาร oxathiapiprolin ในใบแรดิช ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

สาร pyraclostrobin: คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรอนุโลมค่า MRLs ของสาร pyraclostrobin  ภายใต้เงื่อนไข import tolerance ให้แก่บราซิล ในมะละกอ ที่ระดับ 0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ 23 มกราคม 2567)

รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

    https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=OJ:L_202400342
    • Commission Regulation (EU) 2024/344 ว่าด้วย การปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสาร mandipropamid ในสินค้าพืช ใน EU Official Journal L series โดยมีรายละเอียดดังนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรอนุโลมค่า MRLs ของสาร mandipropamid ภายใต้เงื่อนไข import tolerance ให้แก่บราซิล ในมะละกอ ที่ระดับ 0,8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และกำหนดให้เฝ้าระวังความเป็นพิษของเมตาบอไลต์ SYN 500003 ของสารดังกล่าวในมันฝรั่ง รากบีท และแรดิช  

    กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ 23 มกราคม 2567)รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

      https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=OJ:L_202400344
      • Commission Regulation (EU) 2024/347 ว่าด้วย การปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสาร fipronil ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal L series โดยมีรายละเอียดดังนี้

      คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรอนุโลมค่า MRLs ของสาร mandipropamid ภายใต้เงื่อนไข import tolerance ในสินค้าพืชและสัตว์ ดังนี้

      บราซิล สหรัฐอเมริกา และยูเครน: ให้คงค่า MRLs เดิม

          – มันฝรั่ง ที่ระดับ 0,005 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

          บราซิล: ปรับเพิ่มค่า MRLs อ้อย ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไขมันวัว ที่ระดับ 0,03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ไขมันแกะและไขมันแพะ ที่ระดับ 0,015 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

          กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ 23 มกราคม 2567)

          รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

            https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=OJ:L_202400347
            • Commission Regulation (EU) 2024/352 ว่าด้วย การปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสาร (Z)-13-hexadecen-11-yn-1-yl acetate สาร (Z,Z,Z,Z)-7,13,16,19-docosatetraen-1-yl isobutyrate สาร acrinathrin สาร azimsulfuron สาร famoxadone สาร prochloraz และสาร sodium hypochlorite ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal L series โดยมีรายละเอียดดังนี้

            สาร (Z)-13-hexadecen-11-yn-1-yl acetate สาร (Z,Z,Z,Z)-7,13,16,19-docosatetraen-1-yl isobutyrate และสาร sodium hypochlorite: คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรให้กำหนดค่า MRLs ของสารทั้ง 3 รายการที่ระดับต่ำสุดเท่าที่จะสามารถวิเคราะห์ได้ (Limit of Determination:  LODs) และให้บรรจุในภาคผนวก V ตามมาตรา 18(1)(b) ของ Regulation (EC) No 396/2005

            สาร acrinathrin และสาร azimsulfuron: คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรให้กำหนดค่า MRLs ของสารทั้ง   2  รายการที่ระดับต่ำสุดเท่าที่จะสามารถวิเคราะห์ได้   (Limit of Determination:  LODs)  และให้บรรจุในภาคผนวก V ตามมาตรา 18(1)(b) ของ Regulation (EC) No 396/2005

              สาร famoxadone: คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรคงค่า MRLs ของสาร famoxadone ที่ระดับเดียวกับค่า CXLs ของ Codex ในองุ่นผลิตไวน์ มันฝรั่ง มะเขือเทศ แตงกวา ซูกีนิ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี สุกร วัว แกะ แพะ ม้า และสัตว์บกอื่นๆ ที่เลี้ยงในฟาร์ม (เนื้อ ไขมัน ตับ ไต และเครื่องในบริโภคได้) สัตว์ปีก นม และไข่นก สำหรับสินค้าพืชอื่นๆ อาทิ องุ่นรับประทาน มะเขือ แตงเจอร์กิน เมลอน บรอกโคลี กะหล่ำดอก กระเทียมต้น ข้าวโอ๊ต ข้าวไรย์ และชาสมุนไพรจากดอกไม้ ให้กำหนดค่า MRLs ที่ระดับต่ำสุดเท่าที่จะสามารถวิเคราะห์ได้ (Limit of Determination: LODs)

              สาร prochloraz: คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรให้กำหนดค่า MRLs ของสาร prochloraz ที่ระดับต่ำสุดเท่าที่จะสามารถวิเคราะห์ได้ (Limit of Determination: LODs) และให้บรรจุในภาคผนวก V ตามมาตรา 18(1)(b) ของ Regulation (EC) No 396/2005

              กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับสารทั้ง  7 รายการ ในสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรป หรือสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ก่อนวันที่ 12 สิงหาคม 2567 โดยให้สามารถใช้ค่า MRLs เดิม ยกเว้นสาร famoxadone ในองุ่นรับประทาน ที่กำหนดไว้ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และสาร prochloraz ในทับทิมและมะละกอ ที่กำหนดไว้ที่ระดับ 0,03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

              กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ 23 มกราคม 2567) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

              รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

              https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=OJ:L_202400352
              • Commission Regulation (EU) 2024/376 ว่าด้วย การปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสาร indoxacarb ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal L series โดยมีรายละเอียดดังนี้

              คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรให้กำหนดค่า MRLs ของสาร indoxacarb ในสินค้าพืชและสัตว์บางรายการที่ปัจจุบันได้รับการอนุโลมภายใต้เงื่อนไข import tolerance หรือถูกกำหนดไว้ที่ระดับเดียวกับค่า CXLs ของ Codex  ให้อยู่ที่ระดับต่ำสุดเท่าที่จะสามารถวิเคราะห์ได้ (Limit of Determination:  LODs) และให้บรรจุในภาคผนวก II ตามมาตรา 18(1)(b) ของ Regulation (EC) No 396/2005 อาทิ แอปเปิ้ล แพร์ เอพริคอต เชอร์รี พีช พลัม องุ่นรับประทาน องุ่นผลิตไวน์ มะเขือเทศ พริกไทย มะเขือ แตงกวา แตงเจอร์กิน ซูกีนิ เมลอน ฟักทอง แตงโม บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ และผักกาด รวมถึงสินค้าพืชและสัตว์ที่มักผ่านการแปรรูปโดยใช้อุณหภูมิสูง (high temperature) อาทิ กะเพรา-โหระพา (basil) มันฝรั่ง ข้าวโพดหวาน ถั่ว (แห้ง) ถั่วลันเตา (แห้ง) ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เมล็ดฝ้าย ไขมัน ตับ ไต เครื่องในที่บริโภคได้จากสุกร วัว แกะ แพะ และม้า เนื้อสัตว์ปีก นม และไข่ 

              กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ 25 มกราคม 2567) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

              รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

                https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=OJ:L_202400376

                                                                                                                 

                • Commission Regulation (EU) 2024/398 ว่าด้วย การปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสาร haloxyfop ในสินค้าพืช ใน EU Official Journal L series โดยมีรายละเอียดดังนี้

                       

                คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรอนุโลมค่า MRLs ของสาร haloxyfop ภายใต้เงื่อนไข import tolerance ให้แก่ออสเตรเลีย ในลินซีด เรฟซีด/คาโนลาซีด ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และกำหนดให้คงค่า MRLs ในถั่วเหลือง ที่ระดับ 0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และคงค่า MRLs ที่ระดับเดียวกับค่า CXLs ของ Codex ในหอมใหญ่ ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และเมล็ดทานตะวัน ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                ทั้งนี้ กำหนดให้ปรับลดค่า MRLs ที่ระดับต่ำสุดเท่าที่จะสามารถวิเคราะห์ได้เฉพาะ (Specific Limit of Determination: Specific LODs) ในนม จากเดิมที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เป็นที่ระดับ 0,002 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และสำหรับสินค้าอื่นๆ กำหนดให้ปรับลดค่า MRLs ให้อยู่ที่ระดับต่ำสุดเท่าที่จะสามารถวิเคราะห์ได้ (Limit of Determination: LODs)

                กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับสาร haloxyfop ในสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรป หรือสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ก่อนวันที่ 19 สิงหาคม 2567 โดยให้สามารถใช้ค่า MRLs เดิม

                กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศในวันที่ 30 มกราคม 2567)รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

                  https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=OJ:L_202400398
                  • Commission Regulation (EU) 2024/451 ว่าด้วย การปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสาร nicotine ในสินค้าพืช ใน EU Official Journal L series โดยมีรายละเอียดดังนี้    

                  คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับค่า MRLs ชั่วคราวของสาร nicotine ในเครื่องเทศทุกชนิด (all  spices)  ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัมกฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศใน วันที่ 30 มกราคม 2567)รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

                    https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=OJ:L_202400451