คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Regulation (EU) 2022/1363 ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 10 รายการ ได้แก่ สาร 2,4-D สาร azoxystrobin สาร cyhalofop-butyl สาร cymoxanil สาร fenhexamid สาร flazasulfuron สาร florasulam สาร fluroxypyr สาร iprovalicarb และสาร silthiofam ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal L 205/207 ดังนี้สาร 2,4-D กำหนดให้คงระดับค่า MRLs ในพืชเปลือกแข็ง อาทิ อัลมอนท์ ถั่วบราซิล เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มะพร้าว ถั่วเฮเซล ถั่วแมคาเดเมีย ถั่วพีแคน ถั่วเมล็ดสน ถั่วพิสตาชิโอ วอลนัท และถั่วเปลือกแข็งอื่นๆ ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 และกำหนดให้คงระดับค่า MRLs ที่ระดับค่าต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์ได้ (Limit of Determination : LOD)หรือที่ระดับค่าโดยปริยาย (default value) ที่ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในบักวีตและธัญพืชเทียมอื่นๆ (pseudocereals)
สาร azoxystrobin ปรับลดระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้
คอร์นสลัด ที่ระดับ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
เอสคารอล ที่ระดับ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
เครส (หน่อและรากอื่นๆ) ที่ระดับ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ร็อคเก็ตโรมัน ที่ระดับ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
มัสตาร์ดแดง ที่ระดับ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
พืชใบเล็ก (รวมตระกูลกะหล่ำ) ที่ระดับ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
ผักสลัด (lettuces) ที่ระดับ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
กำหนดให้คงระดับค่า MRLs ในสินค้าสัตว์ ได้แก่ สุกร วัว แกะ แพะ สัตว์ปีก (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ ไต เครื่องในเพื่อการบริโภค) นม (วัว แกะ แพะ และม้า) และไข่นก ที่ระดับ 0,01 – 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สาร cyhalofop-butyl
กำหนดให้คงระดับค่า MRLs ในข้าว ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
สาร cymoxanil
1) กำหนดค่า MRLs ตามที่ EFSA กำหนด ในพืช ดังนี้
- องุ่นรับประทาน ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- องุ่นทำไวน์ ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ผักสลัด (lettuces) ที่ระดับ 0,03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ผักโขม ที่ระดับ 0,9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
2) กำหนดให้คงระดับค่า MRLs ที่ระดับค่าต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์ได้ (Limit of Determination : LOD)
หรือที่ระดับค่าโดยปริยาย (default value) ที่ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในพัลส์ ชาสมุนไพร และฮอพ
สาร fenhexamid
ให้คงระดับค่า MRLs ในผลกีวี (เขียว แดง และเหลือง) ที่ระดับ 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
สาร flazasulfuron
ให้คงระดับค่า MRLs ในมะกอกรับประทาน และมะกอกผลิตน้ำมัน ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
สาร florasulam
ให้คงระดับค่า MRLs ใน สินค้าสัตว์ ได้แก่ วัว แกะ แพะ (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ ไต เครื่องในเพื่อการบริโภค) นม (วัว แกะ แพะ และม้า) ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
สาร fluroxypyr
1) กำหนดค่า MRLs ในพืช ดังนี้
- แอปเปิ้ล ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- หอมใหญ่ ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ไทม์ (หน่อและรากอื่นๆ) ที่ระดับ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
2) ให้คงระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้
(1) กระเทียม ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
(2) หอมแดง ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
(3) กระเทียมต้น ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
(4) ธัญพืช ที่ระดับ 0,01 – 0,1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
(5) ชาสมุนไพรจากดอกไม้ ที่ระดับ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
(6) น้ำตาลอ้อย ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
(7) สินค้าสัตว์ ได้แก่ สุกร วัว แกะ แพะ (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ ไต เครื่องในเพื่อการบริโภค) และนม
(วัว แกะ แพะ และม้า) ที่ระดับ 0,01 – 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
สาร iprovalicarb
กำหนดระดับค่า MRLs ที่ระดับค่าต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์ได้ (Limit of Determination : LOD) หรือที่ระดับค่าโดยปริยาย (default value) ที่ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในคอร์นสลัด เอสคารอล และเครส
สาร silthiofam
1) กำหนดให้คงระดับค่า MRLs ในสินค้าพืช ได้แก่ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ และข้าวสาลี ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับสารทั้ง 10 รายการ ในสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรปหรือสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ก่อนวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 โดยให้สามารถใช้ค่า MRLs เดิม
กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2565) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R1363&from=EN