free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืชในสินค้าพืช

สหภาพยุโรปปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืชในสินค้าพืช

Featured Image by Mark Stebnicki under Pexels license
  1. Commission Regulation  (EU)  2023/128  ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 5 รายการ ได้แก่ สาร benalaxyl สาร bromoxynil สาร chlorsulfuron สาร epoxiconazole และสาร fenamiphos ในสินค้าพืช ใน EU Official Journal  L 17/22 ดังนี้

เรื่องเดิม

      1) Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก II กำหนดค่า MRLs ของสาร benalaxylสาร bromoxynil และสาร fenamiphos

       2) Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก III Part A กำหนดค่า MRLs ของสาร chlorsulfuron และสาร epoxiconazole

ข้อเท็จจริง

          คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 5 รายการ ได้แก่ สาร benalaxyl สาร bromoxynil สาร chlorsulfuron สาร epoxiconazole และสาร fenamiphos ในสินค้าพืช ดังนี้

  • สาร benalaxyl ไม่ได้รับอนุญาตต่ออายุการใช้งาน  โดย  Commission Regulation (EU)  2020/1280  การ

อนุญาตเดิมสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2564  

  • ให้คงค่า MRLs ในองุ่นรับประทาน มันฝรั่ง กระเทียม หอมใหญ่ หอมแดง แตงโม ผักสลัด

(lettuces) และกระเทียมต้น รวมถึงองุ่นทำไวน์และเมล่อน ที่มีค่า MRLs ตามค่าที่ Codex กำหนด (CXLs)

  • ปรับลดระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้
  • มะเขือ ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     มะเขือเทศ ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  • กำหนดให้ปรับใช้ค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) ในพริกหวาน/พริกหยวก เรฟซีด/เมล็ดคาโนลา และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
  • สาร bromoxynil
  • ไม่ได้รับอนุญาตต่ออายุการใช้งาน โดย Commission Regulation (EU) 2020/1276 การอนุญาตเดิมสิ้นสุดลงในวันที่ 31 กรกฎาคม 2564  
  • กำหนดให้ปรับใช้ค่า MRLs ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) ในสินค้าทุกชนิด และให้บรรจุในภาคผนวก V ของ Regulation (EC) No 396/2005 ตามมาตรา 18 ข้อ (1)(b)
  • สาร chlorsulfuron
  • การอนุญาตเดิมสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2562  
  • กำหนดให้ปรับใช้ค่า MRLs ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) ในสินค้าทุกชนิด และให้บรรจุในภาคผนวก V ของ Regulation (EC) No 396/2005 ตามมาตรา 18 ข้อ (1)(b)

                                                                                 

  • สาร epoxiconazole
  • การอนุญาตเดิมสิ้นสุดลงวันที่ 30 เมษายน 2563  
  • กำหนดให้ปรับใช้ค่า MRLs ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of

Determination: LOD) ในสินค้าทุกชนิด และให้บรรจุในภาคผนวก V ของ Regulation (EC) No 396/2005 ตามมาตรา 18 ข้อ (1)(b)

  • สาร fenamiphos
  • การอนุญาตเดิมสิ้นสุดลงในวันที่ 23 เมษายน 2563  
  •  กำหนดให้ปรับใช้ค่า MRLs ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) ในสินค้าทุกชนิด และให้บรรจุในภาคผนวก V ของ Regulation (EC) No 396/2005 ตามมาตรา 18 ข้อ (1)(b)
  • กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้  20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม 2566) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้
https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32023R0128&from=EN

2. Commission Regulation  (EU)  2023/129  ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 4 รายการ ได้แก่ สาร azoxystrobin สาร prosulfocarb สาร sedaxane และสาร valifenalate ในสินค้าพืช ใน EU Official Journal  L 17/56 ดังนี้

เรื่องเดิม

     Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก II กำหนดค่า MRLs ของสาร azoxystrobin สาร prosulfocarb สาร sedaxane และสาร valifenalate

ข้อเท็จจริง

          คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 4 รายการ ได้แก่ สาร ในสินค้าพืช ดังนี้

  • สาร azoxystrobin
  • ให้ปรับค่า MRLs ในฝรั่ง ตามค่าที่ Codex กำหนด (CXLs) ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
  • ให้คงระดับค่า MRLs ในลินซีด (linseeds) ที่ระดับ  0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
  • กำหนดให้ปรับเพิ่มค่า MRLs ในเรฟซีด/คาโนลาซีด ที่ระดับ  0,7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
  • สาร valifenalate
  • ให้ปรับค่า MRLs ตามค่าที่ Codex กำหนด (CXLs)  ดังนี้

– หอมใหญ่ และหอมแดง ที่ระดับ 0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

    – มะเขือเทศ และมะเขือ ที่ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  • สาร prosulfocarb
  • กำหนดให้ปรับเพิ่มค่า MRLs ในสมุนไพรและดอกไม้รับประทานได้ ที่ระดับ  20 มิลลิกรัม/

กิโลกรัม

  • สาร sedaxane
  • กำหนดให้ปรับเพิ่มค่า MRLs ในมันฝรั่ง ที่ระดับ  0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                                                                                        

  • กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้  20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม 2566) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้
https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32023R0129&from=EN

3. Commission Regulation  (EU)  2023/147   ว่าด้วย  การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด  (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 3 รายการ ได้แก่ สาร cyromazine สาร topramezone และสาร triflumizole ในสินค้าพืช ใน EU Official Journal  L 20/1 ดังนี้

เรื่องเดิม

      Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก II และภาคผนวก III Part A กำหนดค่า MRLs ของสาร cyromazine สาร topramezone และสาร triflumizole

ข้อเท็จจริง

          คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 3 รายการ ได้แก่ สาร cyromazine สาร topramezone และสาร triflumizole ในสินค้าพืชและสัตว์ ดังนี้

  • สาร cyromazine

                   (1) การอนุญาตเดิมสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2562  

                   (2) ให้คงระดับค่า MRLs ในผลิตภัณฑ์จากแกะ (ยกเว้นนม)

                   (3) กำหนดให้ยกเลิกค่า MRLs ในสินค้าพืชและสัตว์อื่นๆ ในภาคผนวก II Commission Regulation (EC) No 396/2005 ตามมาตรา 14(1)(a) และมาตรา 17

  • สาร  topramezone
  •  ไม่ได้รับอนุญาตต่ออายุการใช้งาน  
  • กำหนดให้ปรับใช้ค่า MRLs ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) ในสินค้าทุกชนิด และให้บรรจุในภาคผนวก V ของ Regulation (EC) No 396/2005 ตามมาตรา 14(1)(a) และมาตรา 17
  • สาร triflumizole

(1) ไม่ได้รับอนุญาตต่ออายุการใช้งาน  การอนุญาตเดิมสิ้นสุดลงในวันที่ 30 มิถุนายน 2563  

(2) กำหนดให้ปรับใช้ค่า MRLs ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) ในสินค้าทุกชนิด และให้บรรจุในภาคผนวก V ของ Regulation (EC) No 396/2005 ตามมาตรา 14(1)(a) และมาตรา 17

  • กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้  20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ 23 มกราคม 2566) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้
https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32023R0147&from=EN

4. Commission Regulation  (EU)  2023/163  ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของ

สารปราบศัตรูพืช 2 รายการ ได้แก่ สาร DDT และสาร oxathiapiprolin ในสินค้าพืช ใน EU Official Journal  L 23/1 ดังนี้

เรื่องเดิม

      1) Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก II กำหนดค่า MRLs ของสาร oxathiapiprolin

                                                                                        

       2) Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก II และภาคผนวก III Part B กำหนดค่า MRLs ของสาร DDT

ข้อเท็จจริง

          คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 2 รายการ ได้แก่ สาร DDT และสาร oxathiapiprolin ในสินค้าพืช ดังนี้

  • สาร benalaxyl

ภายใต้การยื่นคำร้อง Import tolerance ของสหรัฐอเมริกา อนุโลมให้ปรับเพิ่มค่า MRLs ใน

บลูเบอร์รี ที่ระดับ 0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  • สาร DDT
  • ให้ปรับค่า MRLs ของสาร DDT ในสินค้าจากหมูป่า (wild boar) ให้เท่ากับสินค้าจากสุกร

(swine) ที่ระดับ 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  • กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้  20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ 25 มกราคม 2566) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้ https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32023R0163&from=EN