- Commission Regulation (EU) 2024/2612 ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 7 รายการ ได้แก่ สาร chitosan สาร clopyralid สาร difenoconazole สารตกค้างจากการกลั่นไขมัน (fat distillation residues) สาร flonicamid โปรตีนไฮโดรไลเซต (hydrolysed proteins) และสาร lavandulyl senecioate ในสินค้าพืช ใน EU Official Journal L series ดังนี้
คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 7 รายการ ได้แก่ สาร chitosan สาร clopyralid สาร difenoconazole สารตกค้างจากการกลั่นไขมัน (fat distillation residues) สาร flonicamid โปรตีนไฮโดรไลเซต (hydrolysed proteins) และสาร lavandulyl senecioate ในสินค้าพืช ดังนี้
สาร clopyralid กำหนดให้ปรับเพิ่มระดับค่า MRLs ในน้ำผึ้งและผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
สาร difenoconazole กำหนดให้ปรับใช้ค่า MRLs ใหม่ในข้าวไรย์และข้าวสาลี ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
สาร flonicamid กำหนดให้ปรับเพิ่มระดับค่า MRLs ในสินค้าพืช ดังนี้
- มันฝรั่ง ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ผักกาดหอมและผักสลัด ที่ระดับ 0,6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ผักโขมและผักใบคล้ายคลึง ที่ระดับ 0,6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ถั่ว (ไม่มีฝัก) ที่ระดับ 0,7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- คาร์ดูน ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ขึ้นฉ่าย ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- เฟนเนลฟลอเรนซ์ ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- รูบาร์บ ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สาร chitosan ได้รับอนุญาตให้เป็นสาร basic substance โดย Commission Implementing Regulation (EU) 2022/456
สารตกค้างจากการกลั่นไขมัน (fat distillation residues) ได้รับอนุญาตให้เป็นสารออกฤทธิ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ (low-risk active substance) โดย Commission Implementing Regulation (EU) 2023/1755 ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดค่า MRLs และกำหนดให้บรรจุอยู่ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก IV
โปรตีนไฮโดรไลเซต (hydrolysed proteins) ได้รับอนุญาตให้เป็นสารออกฤทธิ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ (low-risk active substance) โดย Commission Implementing Regulation (EU) 2024/821 ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดค่า MRLs และกำหนดให้บรรจุอยู่ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก IV
สาร lavandulyl senecioate ได้รับอนุญาตให้เป็นสารออกฤทธิ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ (low-risk active substance) โดย Commission Implementing Regulation (EU) 2024/821 ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดค่า MRLs และกำหนดให้บรรจุอยู่ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก IV
กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2567) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้
2.Commission Regulation (EU) 2024/2619 ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 3 รายการ ได้แก่ สาร fosetyl สาร potassium phosphonates และสาร disodium phosphonate ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal L series ดังนี้
คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 3 รายการ ได้แก่ สาร fosetyl สาร potassium phosphonates และสาร disodium phosphonate ในสินค้าพืช ดังนี้
- กำหนดให้ปรับเปลี่ยนชนิดสารพิษตกค้างที่กำหนดให้ตรวจ (residue definition) ของสารทั้ง 3รายการใหม่เป็น « phosphonic acid and its salts, expressed as phosphonic acid »
- เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในส้ม เกรฟฟรุ๊ต แอปเปิ้ล แพร์ สับปะรด พืชวงศ์แตง (เปลือกบริโภคไม่ได้) ถั่วลันเตาแห้ง และมันฝรั่ง ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค จึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs โดยคณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ
- เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในอินทผลัม มะเดื่อฝรั่ง คัมควอต มะเฟือง จัมบูล/จัมโบลัน ลิ้นจี่ เสาวรส/มาราคูจา ลูกแพร์มีหนาม/ผลกระบองเพชร มะเฟือง/ไคนิโตส ลูกพลับอเมริกา/เวอร์จิเนียกากี มะละกอ เชอริโมยา ฝรั่ง สาเก ทุเรียน ทุเรียนเทศ/กัวนาบานา รากมันสำปะหลัง/ มันสำปะหลัง มันเทศ ท้าวยายม่อม อาร์ติโชกเยรูซาเล็ม พาร์สนิป รากผักชีฝรั่ง/รากผักชีฝรั่งฮัมบูร์ก แซลซิฟาย สวีด/รูทาบากา เทอร์นิพ กระเจี๊ยบเขียว/เลดี้ฟิงเกอร์ ใบองุ่นและพืชคล้ายคลึง ผักสลัดน้ำ ถั่วสด (ไม่มีฝัก) ถั่วเลนทิลสด คาร์ดูน ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ยี่หร่า หน่อไม้ หัวใจของต้นปาล์ม มอสและไลเคน สาหร่ายและสิ่งมีชีวิตโปรคาริโอต ถั่วเลนทิลแห้ง ถั่วลันเตาแห้ง ถั่วลูพินแห้ง เมล็ดพืชน้ำมัน เมล็ดปาล์มน้ำมัน ผลปาล์มน้ำมัน ใยนุ่น ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง/ข้าวฟ่างโปรโซ ข้าวโอ๊ต ข้าวฟ่างหวาน เมล็ดกาแฟ สมุนไพรชง (จากดอกไม้ และราก) เมล็ดโกโก้ แครอบ เครื่องเทศ (เปลือก ราก เหง้า ตาดอก เกสรตัวเมียของดอก และเมล็ดใน) รากหัวบีตรูตและอ้อย ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค จึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs โดยคณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 5 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ
สำหรับสินค้าพืชและสัตว์กลุ่มอื่นๆ กำหนดให้ปรับใช้ค่า MRLs ในระดับที่ต่ำที่สุด (lowest MRLs)
กำหนดให้ปรับเพิ่มค่า MRLs ในพืชวงศ์มะเขือ (Solanaceae) ที่ระดับ 70 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
กำหนดให้ปรับเพิ่มค่า MRLs ในผักกาดหอมและผักสลัด ที่ระดับ 150 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
สำหรับสินค้าสัตว์ กลุ่มเครื่องในที่บริโภคได้ (นอกเหนือจากตับและไต) กำหนดให้ปรับใช้ค่า MRLs ในระดับที่สูงที่สุด (highest MRLs)
กำหนดค่า MRLs ในสินค้าจากสัตว์บกที่เลี้ยงในฟาร์มอื่นๆ ให้เท่ากับค่า MRLs ในสินค้าจากวัว
กำหนดให้ปรับเพิ่มค่า MRLs ในสินค้าพืชและสัตว์ ดังนี้
– ผลไม้ตระกูลส้ม ที่ระดับ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– เชอร์รี ที่ระดับ 8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– พลัม ที่ระดับ 8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ชาร์ด/ใบบีท ที่ระดับ 70 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– สมุนไพรชงจากใบพืชและสมุนไพร ที่ระดับ 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– น้ำผึ้ง ที่ระดับ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– กระเทียมต้น ที่ระดับ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ต้นหอม ที่ระดับ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
กำหนดให้บรรจุค่า MRLs ของสาร fosetyl สาร potassium phosphonates และสาร disodium phosphonate ในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
สำหรับเอพริคอต พบว่า ข้อมูลในการปรับค่า MRLs ใหม่ยังไม่ครบถ้วน จึงกำหนดให้คงใช้ค่า MRLs เดิม ที่ระดับ 60 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับสารทั้ง 3 รายการ ในสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรปหรือสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรปก่อนวันที่ 29 เมษายน 2568 โดยให้สามารถใช้ค่า MRLs เดิม
กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2567) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน 2568 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้
3.Commission Regulation (EU) 2024/2633 ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 5 รายการ ได้แก่ สาร azoxystrobin สาร famoxadone สาร flutriafol สาร mandipropamid และสาร mefentrifluconazole ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal L series ดังนี้
คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 5 รายการ ได้แก่ สาร azoxystrobin สาร famoxadone สาร flutriafol สาร mandipropamid และสาร mefentrifluconazole ในสินค้าพืชและสัตว์ ตามค่า MRLs ที่ Codex กำหนด (CXLs) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2566 อาทิ ในกรณีของสาร mandipropamid ในซูกินี ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และในใบเรดิช ที่ระดับ 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ไม่ครอบคลุมผักกลุ่มย่อยของผักเคล)
อย่างไรก็ดี สำหรับสินค้าพืชและสัตว์ที่สหภาพยุโรปยังคงพบว่ามีความเสี่ยงต่อผู้บริโภคหากปรับใช้ค่า CXLs ของ Codex ก็จะยังให้ใช้ค่า MRLs ที่สหภาพยุโรปกำหนดต่อไป ดังนี้
สาร famoxadone ในหัวหอมใหญ่ พืชกลุ่มย่อยของผลไม้แคนเบอร์รี (caneberries) พืชกลุ่มย่อยของพืชบริโภคผล (fruiting vegetables) แตง แตงกวา และผักกลุ่มฝักทอง (squashes) พืชกลุ่มย่อยของพริก พริกหวาน และพริกพิเมนโต
สาร mandipropamid ในหัวหอมใหญ่ พืชกลุ่มย่อยของมะเขือ พืชกลุ่มย่อยของโสม โสมแห้ง และโสมแดง
สาร mefentrifluconazole ในเครื่องในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไข่ ไขมันสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ยกเว้นไขมันนม เนื้อจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นอกเหนือจากสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม นม ผลไม้กลุ่มโพมฟรุ๊ต เครื่องในสัตว์ปีกบริโภคได้ ไขมันสัตว์ปีก และเนื้อสัตว์ปีก
กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2567) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้
4.Commission Regulation (EU) 2024/2640 ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 4 รายการ ได้แก่ สาร 1,4-dimethylnaphthalene สาร difluoroacetic acid (DFA) สาร fluopyram และสาร flupyradifurone ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal L series ดังนี้
คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 4 รายการ ได้แก่ สาร 1,4-dimethylnaphthalene สาร difluoroacetic acid (DFA) สาร fluopyram และสาร flupyradifurone ในสินค้าพืชและสัตว์ ดังนี้
สาร 1,4-dimethylnaphthalene
กำหนดให้ปรับเพิ่มค่า MRLs ในสินค้าพืชและสัตว์ ดังนี้
– มันฝรั่ง ที่ระดับ 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ไขมันสุกร ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ไขมันแกะและแพะ ที่ระดับ 0,6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ตับแกะและแพะ ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– เครื่องในแกะและแพะ (นอกเหนือจากตับและไต) ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ไขมันม้า ที่ระดับ 0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ตับม้า ที่ระดับ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ไขมัน ตับ และเครื่องในบริโภคได้จากสัตว์ปีก ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– นม ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ไข่นก ที่ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
สาร fluopyram
กำหนดให้ปรับเพิ่มค่า MRLs ในเมล็ดฟักทอง ที่ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
สาร difluoroacetic acid (DFA)
- กำหนดให้คงค่า MRLs ในเกรฟฟรุ๊ต ส้ม แบล็คเบอร์รี ราสเบอร์รี ผลไม้ขนาดเล็กและเบอร์รีอื่นๆ สมุนไพรและดอกไม้บริโภคได้ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี และน้ำผึ้ง
- ปรับเพิ่มค่า MRLs ในพืชและสัตว์ ดังนี้
– มะนาวเลมอน ที่ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– มะนาวไลม์ ที่ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ส้มแมนดาริน ที่ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ผลไม้ตระกูลส้มอื่นๆ ที่ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ถั่วแมคาเดเมีย ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ผลไม้กลุ่มสโตนฟรุ๊ต ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ผลไม้กลุ่มเบอร์รีขนาดเล็ก ที่ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– อาโวคาโด ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– มะม่วง ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– มะละกอ ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ผักกลุ่มกระหล่ำใบ ที่ระดับ 0,7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– หน่อไม้ฝรั่ง ที่ระดับ 0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– เมล็ดงา ที่ระดับ 0,9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– เมล็ดดอกทานตะวัน ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ข้าวโพด ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ข้าวโอ๊ต ที่ระดับ 0,8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ข้าวไรย์ ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– รากบีตรูต ที่ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– รากชิโครี ที่ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ไขมันสุกร ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ตับสุกร ที่ระดับ 0,1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ไขมันแกะ ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ไขมันแพะ ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ไขมันสัตว์ปีก ที่ระดับ 0,04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
สาร flupyradifurone
- สำหรับเกรฟฟรุ๊ตและส้ม พบว่า ข้อมูลในการปรับค่า MRLs ใหม่ยังไม่ครบถ้วน จึงกำหนดให้คงใช้ค่า MRLs เดิม ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- กำหนดให้คงค่า MRLs ในมะนาวเลมอน มะนาวไลม์ ส้มแมนดาริน ถั่วแมคาเดเมีย บลูเบอร์รี เบอร์รีขนาดเล็ก (cane fruits) อะโวคาโด หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ข้าวสาลี รากบีตรูต รากชิโครี
- ปรับลดค่า MRLs ในผักเคล จากเดิม ที่ระดับ 5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เป็นที่ระดับ 4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- กำหนดค่า MRLs ในเมล็ดดอกทานตะวัน ที่ระดับ 0,7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เท่ากับที่สหรัฐอเมริกากำหนด
- ปรับเพิ่มค่า MRLs ในสินค้าพืชและสัตว์ ดังนี้
– ผลไม้กลุ่มส้มอื่นๆ ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ผลไม้กลุ่มสโตนฟรุ๊ต ที่ระดับ 0,4 – 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ผลไม้กลุ่มเบอร์รีขนาดเล็ก (ยกเว้นบลูเบอร์รี) ที่ระดับ 0,7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– มะม่วง ที่ระดับ 0,7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– มะละกอ ที่ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ผักกลุ่มกระหล่ำใบ ที่ระดับ 4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– สมุนไพรและดอกไม้รับประทานได้ ที่ระดับ 40 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– เมล็ดงา ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– เมล็ดดอกทานตะวัน ที่ระดับ 0,7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ข้าวฟ่าง ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ข้าวโอ๊ต ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ข้าวไรย์ ที่ระดับ 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ไตและเครื่องในอื่นๆ จากสุกร (ยกเว้นเนื้อสุกร) ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– น้ำผึ้ง ที่ระดับ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ไขมันสุกร ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ตับสุกร ที่ระดับ 0,1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ไขมันแกะ ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ไขมันแพะ ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
– ไขมันสัตว์ปีก ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- กำหนดค่า MRLs ในสมุนไพรชงจากพืช ที่ระดับ 0,1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับสารทั้ง 4 รายการ ในสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรปหรือสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรปก่อนวันที่ 30 เมษายน 2568 โดยให้สามารถใช้ค่า MRLs เดิม
- กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2567) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2568 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้
—————-
*basic substances are substances that are not predominantly used for plant protection purposes but are useful in plant protection.