คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2022/2503 ว่าด้วย การปรับแก้ Implementing Regulation (EU) 2019/627 เกี่ยวกับแนวทางการตรวจสอบอย่างเป็นทางการในหอยสองฝามีชีวิต สินค้าประมง หรือที่เกี่ยวกับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV-radiation) ใน EU Official Journal L 325/58 โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ปรับแก้ Regulation (EU) 2019/627 ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2022/2503 ตามภาคผนวก สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
- ปรับแก้ มาตรา 10 Regulation (EU) 2019/627 จากเดิมอ้างถึง มาตรา 29 Commission Implementing Regulation (EU) 2019/628 ให้เป็นการอ้างถึงมาตรา 31 Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2235 (ว่าด้วย แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขอนามัยสัตว์ในกรณีก่อนเชือด ณ โรงเลี้ยง) แทน
- ปรับแก้ มาตรา 45 Regulation (EU) 2019/627 เกี่ยวกับเนื้อสด (fresh meat) ที่ถูกพิจารณาว่า ไม่เหมาะสมแก่การบริโภค (unfit for human consumption) ข้อ (l) ใหม่ ดังนี้ « ได้ถูกฉายรังสีไอออไนซ์ (ionising radiation) หรือรังสีอัลตราไวโอเลต (UV-radiation) อย่างผิดกฎหมาย »
- ปรับแก้ มาตรา 51 Regulation (EU) 2019/627 เพื่อให้สอดคล้องกับ Regulation (EU) 2021/1756 เกี่ยวกับการให้อนุโลมเอไคโนเดิร์ม (ดาวทะเล เม่นทะเล และปลิงทะเล เป็นต้น) ที่ไม่ใช่สัตว์น้ำประเภทกรองอาหารจากมวลน้ำ (filter feeders) ไม่ต้องมาจากแหล่งผลิต/แหล่งพักสัตว์น้ำที่ได้รับการจัดประเภท (classification of production and relaying areas) นอกเหนือจากนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับ มาตรา18(7)(g) Regulation (EU) 2017/625 และ Commission Delegated Regulation (EU) 2022/2258 ปรับแก้มาตรา 11 Delegated Regulation (EU) 2019/624 ที่อนุโลมประเด็นเดียวกัน
- ปรับแก้ข้อผิดพลาด มาตรา 71 ข้อ (a) Regulation (EU) 2019/627 ใหม่ โดยให้อ้างถึง « Section VIII ภาคผนวก III Regulation (EC) No 853/2004 หรือ Regulation (EC) No 2073/2005 »
- ปรับแก้มาตรา 72 ข้อ (1) แบบฟอร์มหนังสือรับรองที่กำหนดใน Chapter B Part II ภาคผนวก III Implementing Regulation (EU) 2019/628 ให้เปลี่ยนใช้แบบฟอร์มหนังสือรับรองที่กำหนดใน Chapter 29 ภาคผนวก III Implementing Regulation (EU) 2020/2235 แทน
- ปรับแก้ภาคผนวก VI Chapter I (B) ว่าด้วย สิ่งบ่งชี้ความสด (freshness indicators) Regulation (EU) 2019/627 โดยให้เพิ่มวิธีการตรวจวิเคราะห์ (analytical methods) ของ EFSA ได้แก่ วิธี Hydroxyacyl-coenzyme A dehydrogenase (HADH), histology, ultraviolet-visible-near-infrared (UV-VIS/NIR) spectroscopy และ hyperspectral imaging เพื่อช่วยตรวจสอบหาความแตกต่างของปลาที่ผ่านการแช่เย็นด้วยเทคนิคซุปเปอร์ชิลลิ่ง (superchilled fish) หรือปลาที่เคยผ่านการแช่แข็ง (previously frozen fish) ที่วางจำหน่ายในตลาดในลักษณะว่าเป็น ปลาสด (fresh)
- กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 20 ธันวาคม 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้