free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับแก้ข้อกำหนดด้านการตรวจสอบควบคุม ณ ด่านตรวจสอบต่อสินค้าส่งออก นำผ่าน และขนถ่าย

สหภาพยุโรปปรับแก้ข้อกำหนดด้านการตรวจสอบควบคุม ณ ด่านตรวจสอบต่อสินค้าส่งออก นำผ่าน และขนถ่าย

Featured Image by Tom Fisk under Pexels license

คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2190 ว่าด้วย การปรับแก้ Commission Delegated Regulation (EU) 2019/2124 ด้านการตรวจสอบควบคุมสินค้า ณ ด่านตรวจสอบต่อสินค้าส่งออก นำผ่าน และขนถ่าย ใน EU Official Journal L 434/3 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ให้แก้ไขมาตรา 2(7) (ว่าด้วย คำนิยาม) ดังนี้
    • (7) ด่านตรวจสอบขาเข้า (border control post of introduction) ในสหภาพยุโรป หมายถึง ด่านตรวจสอบที่สัตว์และสินค้ามีการสำแดงเพื่อการตรวจสอบควบคุม และผ่านเข้าสู่สหภาพยุโรปเพื่อจำหน่ายในตลาด หรือขนส่งผ่านดินแดน (ครอบคลุมไอร์แลนด์เหนือ) และอาจเป็นด่านตรวจสอบซึ่งเป็นด่านขาเข้าแรกในสหภาพยุโรป
  2. ให้ปรับแก้มาตรา 14 (ว่าด้วย การจัดเก็บสินค้าขนถ่ายสำหรับสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ ผลิตภัณฑ์เชื้อโรค ผลิตผลพลอยได้จากสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลิตผลดังกล่าว หญ้าแห้ง ฟาง และสินค้าคอมโพสิต) ดังนี้
    • มาตรา 14 ผู้ประกอบการที่รับผิดชอบต่อสินค้ารับรองว่า สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ ผลิตภัณฑ์เชื้อโรค ผลิตผลพลอยได้จากสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลิตผลดังกล่าว หญ้าแห้ง ฟาง และสินค้าคอมโพสิต มีการจัดเก็บในช่วงเวลาการขนถ่าย (transhipment period) ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้
      1. ในคอนเทนเนอร์ปิดผนึกที่อยู่ในเขตศุลกากรหรือเขต free zone area ณ ท่าเรือหรือท่าอากาศยานเดียวกัน หรือ
      2. สถานที่จัดเก็บภายใต้การควบคุมของด่านตรวจสอบเดียวกันตามเงื่อนไขที่กำหนดใน Commission Implementing Regulation (EU) 2019/1014 มาตรา 3(11) และมาตรา (12)
  3. ให้ปรับแก้มาตรา 29 ข้อ (c) (ว่าด้วย เงื่อนไขการขนส่งสินค้าจากสถานที่จัดเก็บสินค้าไปยัง NATO หรือฐานทัพทหารของสหรัฐฯ และเรือที่จะเดินทางออกจากสหภาพยุโรป) ดังนี้
    • (c) ผู้ประกอบการที่รับผิดชอบต่อสินค้ารับรองว่า ได้แนบหนังสือรับรองตามแบบฟอร์มที่กำหนดใน Regulation (EU) 2019/2124 ภาคผนวก ไปกับสินค้าสำหรับการขนส่งไปจุดหมายปลายทางหรือด่านตรวจสอบที่สินค้าจะส่งออกจากสหภาพยุโรป
  4. ให้ปรับแก้มาตรา 31 (ว่าด้วย การควบคุมการจัดส่งสินค้าไปยังเรือที่จะเดินทางออกจากสหภาพยุโรป) ดังนี้
    • (a)(ข้อ 2) ผู้ประกอบการที่รับผิดชอบต่อสินค้าตามมาตรา ๓๑(1) สามารถขนสินค้าลง ณ ท่าเรือปลายทาง ก่อนที่จะขนขึ้นเรือที่จะเดินทางออกจากสหภาพยุโรป โดยกระบวนการดังกล่าวจะต้องได้รับการอนุญาตและควบคุมโดยหน่วยงานศุลกากร และเป็นไปตามเงื่อนไขการขนส่งสินค้าตามการแจ้ง (notification) ที่อ้างถึงใน (a)(ข้อ 1)
    • (b)(ข้อ 4) ผู้แทนตามที่มาตรา 31(3) หรือผู้ประกอบการที่รับผิดชอบต่อการขนส่งสินค้าไปยังเรือที่จะเดินทางออกจากสหภาพยุโรป จะต้องจัดส่งหนังสือรับรองที่มีการลงนามตามมาตรา 31(3)(a) ภายในระยะเวลา 15 วัน จากวันที่ได้รับอนุญาตให้นำผ่านสินค้า (transit) ไปยังหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ณ ด่านตรวจสอบ ซึ่งเป็นด่านขาเข้าแรก หรือสถานที่จัดเก็บสินค้า
  5. ให้ปรับแก้มาตรา 32 (ว่าด้วย ภาระหน้าที่ของผู้ประกอบการในการสำแดงสินค้าส่งออกเพื่อการตรวจสอบควบคุม) ดังนี้
    1. ผู้ประกอบการที่รับผิดชอบต่อสินค้าส่งออก (ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ ผลิตภัณฑ์เชื้อโรค ผลิตผลพลอยได้จากสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลิตผลดังกล่าว หญ้าแห้ง ฟาง และสินค้าคอมโพสิต) ไปยังประเทศที่สาม จะต้องสำแดงสินค้าต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ณ ด่านตรวจสอบ ที่ระบุในเอกสาร CHED ณ สถานที่ที่กำหนดโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก เพื่อการตรวจสอบควบคุม
    2. ผู้ประกอบการที่รับผิดชอบต่อสินค้าตามมาตรา 32(1) ที่ส่งออกไปยัง NATO หรือฐานทัพทหารของสหรัฐฯ ที่ตั้งอยู่ในประเทศที่สาม จะต้องสำแดงสินค้าต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ณ ด่านตรวจสอบ ที่ระบุในหนังสือรับรองตามแบบฟอร์มที่กำหนดใน Implementing Regulation (EU) 2019/2128 ภาคผนวก เพื่อการตรวจสอบควบคุม
  6. ให้ปรับแก้มาตรา 33 (ว่าด้วย การตรวจสอบควบคุมสินค้าส่งออก ณ ด่านตรวจสอบ) ดังนี้
    1. หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ณ ด่านตรวจสอบ ที่ตรวจสอบอัตลักษณ์สินค้า (ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ ผลิตภัณฑ์เชื้อโรค ผลิตผลพลอยได้จากสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลิตผลดังกล่าว หญ้าแห้ง ฟาง และสินค้าคอมโพสิต) เพื่อรับรองความถูกต้องตามระบุในเอกสาร CHED หรือหนังสือรับรองประกอบการส่งออกสินค้าตาม Implementing Regulation (EU) 2019/2128 ภาคผนวก รวมทั้งตรวจสอบสภาพตัวปิดผนึกบนพาหนะหรือตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งตาม Implementing Regulation (EU) 2019/2128 มาตรา 19(d) มาตรา 28(d) หรือมาตรา 29(e)
    2. หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ณ ด่านตรวจสอบ ที่สินค้าตามมาตรา 33(1) จะมีการส่งออก ต้องบันทึกผลการตรวจสอบใน Part III ของเอกสาร CHED หรือ Part III ของหนังสือรับรองตามแบบฟอร์มที่กำหนดใน Implementing Regulation (EU) 2019/2128 ภาคผนวก
    3. หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ณ ด่านตรวจสอบ ที่รับผิดชอบต่อการตรวจสอบตามมาตรา 33(1) ต้องแจ้งยืนยันการเดินทางมาถึงของสินค้าและความถูกต้องของสินค้าในการปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับนี้ ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ณ ด่านตรวจสอบ ซึ่งเป็นด่านขาเข้าแรก หรือสถานที่จัดเก็บสินค้า ภายในระยะเวลา 15 วัน จากวันที่ได้รับอนุญาตให้ขนผ่านสินค้า (transit) โดยวิธีดังนี้
      • (a) บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องลงในระบบ IMSOC
      • (b) ลงนามในหนังสือรับรองตามแบบฟอร์มที่กำหนดใน Implementing Regulation (EU) 2019 /2128 ภาคผนวก และส่งคืนหนังสือรับรองต้นฉบับหรือสำเนาให้แก่หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ณ สถานที่จัดเก็บสินค้า
  7. ปรับแก้มาตรา 35 (ว่าด้วย การนำผ่านสินค้าไปยัง NATO หรือฐานทัพทหารของสหรัฐฯ ที่ตั้งอยู่ในสหภาพยุโรป) ดังนี้
    1. (2) หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักในการตรวจสอบ ณ NATO หรือฐานทัพทหารของสหรัฐฯ ณ ปลายทาง ต้องตรวจอัตลักษณ์ เพื่อยืนยันความถูกต้องตามระบุในเอกสาร CHED หรือหนังสือรับรองประกอบสินค้าตาม Implementing Regulation (EU) 2019/2128 ภาคผนวก รวมทั้งตรวจสอบสภาพตัวปิดผนึกบนพาหนะหรือตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งตาม Implementing Regulation (EU) 2019/2128 มาตรา 19(d) และมาตรา 29(e)
    2. (3) หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักในการตรวจสอบ ณ NATO หรือฐานทัพทหารของสหรัฐฯ ณ ปลายทาง ต้องแจ้งยืนยันการเดินทางมาถึงของสินค้าและความถูกต้องของสินค้าในการปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับนี้ ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ณ ด่านตรวจสอบ ซึ่งเป็นด่านขาเข้าแรก หรือสถานที่จัดเก็บสินค้า ภายในระยะเวลา 15 วัน จากวันที่ได้รับอนุญาตให้จัดส่งสินค้า (transit) โดยวิธีดังนี้
      • (a) บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องลงในระบบ IMSOC
      • (b) ลงนามในหนังสือรับรองตามแบบฟอร์มที่กำหนดใน Implementing Regulation (EU) 2019 /2128 ภาคผนวก และส่งคืนหนังสือรับรองต้นฉบับหรือสำเนาให้แก่หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ณ สถานที่จัดเก็บสินค้า
  8. ให้ปรับแก้มาตรา 36(3) (ว่าด้วย การถูกปฏิเสธการนำผ่านจากประเทศที่สามหลังจากได้มีการนำผ่านสหภาพยุโรปแล้ว) ดังนี้
    1. (3) ผู้ประกอบการที่รับผิดชอบต่อสินค้าตามมาตรา ๓๖(1) จะต้องขนส่งสินค้าไปยังจุดหมายใดจุดหมายหนึ่งดังนี้
      • (a) ด่านตรวจสอบที่ให้การอนุญาตนำผ่านสินค้า (transit) หรือ
      • (b) สถานที่จัดเก็บสินค้าที่ใช้เก็บสินค้าก่อนถูกปฏิเสธจากประเทศที่สาม
  9. ให้ปรับแก้มาตรา 37 (ว่าด้วย การนำผ่านสัตว์ สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ ผลิตภัณฑ์เชื้อโรค ผลิตผลพลอยได้จากสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลิตผลดังกล่าว หญ้าแห้ง ฟาง และสินค้าคอมโพสิต) ดังนี้
    • (เพิ่มข้อ 4a) สินค้าตามมาตรา 37(1) ที่ไม่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดด้านสุขภาพสัตว์ในการนำเข้ามายังสหภาพยุโรปตาม Regulation (EU) 2017/625 มาตรา 1(2)(d) และ (e) และเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในสหภาพยุโรป ผ่านสหราชอาณาจักร (ยกเว้นไอร์แลนด์เหนือ) กำหนดให้ผู้ประกอบการตามมาตรา 37 (2) สามารถแจ้งการมาถึงของสินค้าเป็นการล่วงหน้า (prior notification of arrival) ให้แก่หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ณ ด่านตรวจสอบ ที่สินค้านำเข้ามายังสหภาพยุโรปอีกครั้ง (re-introduction) ผ่านระบบอื่น ๆ นอกเหนือจากระบบ IMSOC โดยมีเงื่อนไขว่าระบบนั้น ๆ จะต้อง
      • (a) กำหนดโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก
      • (b) สามารถให้ผู้ประกอบการนำส่งข้อมูลได้ ดังนี้
        • (i) ข้อมูลอัตลักษณ์สินค้าที่นำผ่าน (transit)
        • (ii) ระบุวิธีการขนส่ง
        • (iii) เวลาที่สินค้าจะเดินทางมาถึง
        • (iv) แหล่งที่มาและจุดหมายปลายทางของสินค้า และ
      • (c) ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ณ ด่านตรวจสอบ ที่สินค้าถูกนำเข้ามายังสหภาพยุโรปอีกครั้ง (re-introduction) สามารถ
        • (i) ประเมินข้อมูลที่ได้รับจากผู้ประกอบการ
        • (ii) แจ้งผู้ประกอบการหากในกรณีที่สินค้าต้องได้รับการตรวจสอบเพิ่มเติมตามมาตรา 37(4)
    • (5) ผู้ประกอบการที่รับผิดชอบสัตว์ที่ถูกเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในสหภาพยุโรป ผ่านเขตแดนของประเทศที่สาม จะต้องสำแดงสัตว์ดังกล่าวเพื่อการตรวจสอบ ณ จุดขาออก (exit point) ของสหภาพยุโรป
  10. ประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32020R2190&from=EN