- คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2022/1203 ว่าด้วย การแก้ไข Regulation (EU) 2016/1141 บัญชีรายชื่อและระงับการนำเข้าสายพันธุ์พืชและสัตว์จากต่างถิ่นที่สามารถแพร่กระจายได้ (invasive alien species) ใน EU Official Journal L 186/10 ดังนี้
- คณะกรรมาธิการยุโรปได้ปรับแก้บัญชีรายชื่อและระงับการนำเข้าสายพันธุ์พืชและสัตว์จากต่างถิ่นที่สามารถแพร่กระจายได้ (invasive alien species) ที่อยู่ภายใต้ความกังวลของสหภาพยุโรป ให้เป็นปัจจุบัน เนื่องจากสายพันธุ์เหล่านี้อาจแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว และนำมาซึ่งปัจจัยคุกคามต่อความหลาก หลายทางชีวภาพของยุโรป โดยในครั้งนี้ พิจารณาให้เพิ่มรายชื่อสายพันธุ์พืชและสัตว์ รวมทั้งสิ้น 18 รายการ ดังนี้
- ปลาดุกวัวสีดำ (Ameiurus melas (Rafinesque, 1820))
- กวางดาว (Axis axis (Erxleben, 1777))
- กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysonii (Horsfield, 1823))
- ปลาช่อนเหนือ (Channa argus (Cantor, 1842))
- กุ้งเครย์ฟิช (Faxonius rusticus (Girard, 1852))
- ปลากินยุง (Gambusia affinis (Baird & Girard, 1853))
- ปลากินยุง (Gambusia holbrooki Girard, 1859)
- ซิลคี้โอคส์ (Hakea sericea Schrad. & J.C.Wendl.)
- ไม้ล้มลุก (Koenigia polystachya (Wall. ex Meisn.) T.M.Schust. & Reveal)
- งู (สายพันธุ์ Lampropeltis getula (Linnaeus, 1766))
- หอยแมลงภู่ทอง (Limnoperna fortunei (Dunker, 1857))
- ปลาเพิร์ช (Morone americana (Gmelin, 1789))
- นกปรอดก้นแดง (Pycnonotus cafer (Linnaeus, 1766))
- สาหร่ายสีน้ำตาล (Rugulopteryx okamurae (E.Y.Dawson) I.K.Hwang, W.J.Lee & H.S.Kim, 2009)
- มดคันไฟ (Solenopsis geminata (Fabricius, 1804))
- มดคันไฟ (Solenopsis invicta Buren, 1972)
- มดคันไฟ (Solenopsis richteri Forel, 1909)
- มดไฟฟ้า (Wasmannia auropunctata (Roger, 1863))
- คณะกรรมาธิการยุโรปได้พิจารณาอนุโลมช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านให้แก่ (1) กบเล็บแอฟริกัน (Xenopus laevis (Daudin, 1802)) และ (2) ปลาคิลลี่ (Fundulus heteroclitus) ซึ่งเป็นสัตว์ที่ใช้ในงานวิจัย ให้บรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อฯ ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป (3) คณะกรรมาธิการยุโรปได้พิจารณาอนุโลมช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านให้แก่ (1) จอก (Pistia stratiotes L.) และ(2) เถาไม้เลื้อย (Celastrus orbiculatus Thunb.) ซึ่งเป็นพืชที่มีการลงทุนเพาะปลูกในระยะยาวในประเทศสมาชิก ให้บรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อฯ ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม 2567 และวันที่ 2 สิงหาคม 2570 ตามลำดับ
- กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้