คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Delegated Regulation (EU) 2023/905 ว่าด้วย ข้อกำหนดเสริมให้แก่ Regulation (EU) 2019/6 ว่าด้วย การห้ามใช้ยาต้านจุลชีพบางประเภทในสัตว์และสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ที่นำเข้าจากประเทศที่สามไปยังสหภาพยุโรป ใน EU Official Journal L 116/1 โดยมีรายละเอียดดังนี้
- วัตถุประสงค์: เพื่อห้ามการใช้ยาต้านจุลชีพ (antimicrobial medicinal products) ประเภทเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต (for growth promotion and yield increase) และยาต้านจุลชีพบางประเภทสำหรับที่ใช้รักษาคน โดยห้ามใช้ในสัตว์หรือสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ที่นำเข้าจากประเทศที่สามไปยังสหภาพยุโรป
- ขอบเขต: ครอบคลุมสัตว์มีชีวิตและสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ โดยอนุโลมไม่ปรับใช้ข้อกำหนดดังกล่าวกับสินค้าดังต่อไปนี้
- เจลาตินและวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตเจลาติน
- คอลลาเจนและวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตคอลลาเจน
- สินค้าที่ได้รับการทำให้บริสุทธิ์ขั้นสูง (highly refined products)
- สัตว์ป่าและสินค้าจากสัตว์ป่า
- แมลง กบ หอยทาก สัตว์เลื้อยคลาน รวมถึงสินค้าจากสัตว์ดังกล่าว
- สินค้าคอมโพสิต
- สัตว์หรือสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ที่ไม่ใช่สำหรับการบริโภคของมนุษย์ เว้นแต่จุดหมายปลายทางของสัตว์หรือสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์นั้นยังไม่ได้รับการตัดสิน ณ ด่านนำเข้า
- สัตว์หรือสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์สำหรับการบริโภคของมนุษย์เพื่อการขนส่งผ่านสหภาพยุโรปเท่านั้น โดยไม่มีการวางจำหน่ายในสหภาพยุโรป
- สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์สำหรับการบริโภคของมนุษย์เพื่อเป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์และทดสอบคุณภาพของสินค้า โดยไม่มีการวางจำหน่ายในสหภาพยุโรป
- ข้อกำหนด:
1. ห้ามใช้ยาต้านจุลชีพ (antimicrobial medicinal products) ประเภทเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต (for growth promotion and yield increase)
2. ห้ามใช้ยาต้านจุลชีพที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อยาต้านจุลชีพสำหรับที่ใช้รักษาการติดเชื้อในคน ตามภาคผนวก Regulation (EU) 2022/1255
- ประเทศไทยมีความเกี่ยวข้องภายใต้แผนการควบคุมยาสัตว์ตกค้างในสินค้าจากสัตว์ที่ส่งออกไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรป อาทิ เนื้อสัตว์ปีก สินค้าสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยง และน้ำผึ้ง โดยสหภาพยุโรปกำหนดให้มีการสุ่มตรวจสินค้ากลุ่มดังกล่าว ณ ด่านนำเข้า เพื่อตรวจหายาสัตว์ที่ห้ามหรือไม่อนุญาตให้ใช้ และการสุ่มตรวจเพื่อควบคุมค่าอนุโลมตกค้างสูงสุด (MLs) จากการตกค้าง (residues) ของยาสัตว์ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้
- ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะประกาศแบบฟอร์มหนังสือรับรองฯ ฉบับใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดข้างต้นในโอกาสแรก
- กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2566) และให้ปรับใช้ 24 เดือนภายหลังจากที่คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศข้อกำหนดเสริมเกี่ยวกับหนังสือรับรองฯ (official certificates) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้