1. Commission Implementing Regulation (EU) 2022/565 ว่าด้วย การอนุญาตให้ preparation of 3-nitrooxypropanol เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ ใน EU Official Journal L 109/32 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้ preparation of 3-nitrooxypropanol เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ (feed additive) ภายใต้กลุ่ม zootechnical additives เพื่อช่วยลดการผลิตก๊าซมีเทน และอนุญาตให้ใช้กับโคนมและโคเพื่อสืบพันธุ์ (for reproduction) เป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่กฎระเบียบฯ มีผลบังคับใช้ ไปจนถึงวันที่ 28 เมษายน 2575 เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการใช้งาน ผู้ใช้งานจึงควรสวมใส่ชุดป้องกัน
2) คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้ใช้สารเสริมดังกล่าวขั้นต่ำสุดที่ปริมาณ 53 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12) และขั้นสูงสุดที่ปริมาณ 80 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)
3) กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 8 เมษายน 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้
https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R0565&from=EN
2. Commission Implementing Regulation (EU) 2022/593 ว่าด้วย การอนุญาตให้น้ำมันหอมระเหยจาก litsea berry เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ ใน EU Official Journal L 114/44 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้น้ำมันหอมระเหยจาก litsea berry เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ (feed additive) ภายใต้กลุ่มสารเสริมทางประสาทสัมผัส (sensory additives) โดยมีหน้าที่เป็นสารแต่งกลิ่น (flavouring compounds) และอนุญาตให้ใช้กับไก่เพื่อขุน ไข่ไก่ ไก่งวงเพื่อขุน สุกรเพื่อขุน ลูกสุกร แม่สุกรที่กำลังให้นม ลูกวัว โคนม โคเพื่อขุน แกะ/แพะ ม้า กระต่าย ปลาซัลมอน สุนัข แมว และปลาสวยงาม เป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่กฎระเบียบฯ มีผลบังคับใช้ ไปจนถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 2575 เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการใช้งาน ผู้ใช้งานจึงควรสวมใส่ชุดป้องกัน
2) คณะกรรมาธิการยุโรปได้กำหนดมาตรการเปลี่ยนผ่านดังนี้
(ก) น้ำมันหอมระเหยจาก litsea berry และสารผสมล่วงหน้า (premixture) ที่มีส่วนประกอบของสารดังกล่าวที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 2 พฤศจิกายน 2565 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า
(ข) อาหารสัตว์ผสม (compound feeds) และวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) ที่ใช้สำหรับสัตว์ที่ผลิตเพื่อเป็นอาหาร ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยจาก litsea berry ที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า
(ค) อาหารสัตว์ผสม (compound feeds) และวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) ที่ไม่ใช้สำหรับสัตว์ที่ผลิตเพื่อเป็นอาหาร ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยจาก litsea berry ที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 2 พฤษภาคม ๒๕67 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า
3) กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 12 เมษายน 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้
https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R0593&from=EN
3. Commission Implementing Regulation (EU) 2022/633 ว่าด้วย การอนุญาตให้ preparation of Lactiplantibacillus plantarum DSM 26571 เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ ใน EU Official Journal L 117/26 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้ preparation of Lactiplantibacillus plantarum DSM 26571 เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ (feed additive) ภายใต้กลุ่มสารเสริมทางเทคโนโลยี (technological additives) โดยมีหน้าที่เป็นสารเร่งปฏิกริยาในหญ้าหมัก (silage additives) และอนุญาตให้ใช้กับสัตว์ทุกชนิด เป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่กฎระเบียบฯ มีผลบังคับใช้ ไปจนถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2575 เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการใช้งาน ผู้ใช้งานจึงควรสวมใส่ชุดป้องกัน
2) กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 19 เมษายน 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้
https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R0633&from=EN
4. Commission Implementing Regulation (EU) 2022/652 ว่าด้วย การอนุญาตให้สารสกัดจากส้มขม (bitter orange extract) เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ ใน EU Official Journal L 119/74 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้สารสกัดจากส้มขม (bitter orange extract) เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ (feed additive) ภายใต้กลุ่มสารเสริมทางประสาทสัมผัส (sensory additives) โดยมีหน้าที่เป็นสารแต่งกลิ่น (flavouring compounds) และอนุญาตให้ใช้กับไก่เพื่อขุน ไข่ไก่ ไก่งวงเพื่อขุน ลูกสุกร สุกรเพื่อขุน แม่สุกร ลูกวัว โคเพื่อขุน แกะ/แพะ ม้า กระต่าย ปลาซัลมอน ปลาสวยงาม สุนัข และแมว เป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่กฎระเบียบฯ มีผลบังคับใช้ ไปจนถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2575 เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการใช้งาน ผู้ใช้งานจึงควรสวมใส่ชุดป้องกัน
2) คณะกรรมาธิการยุโรปได้กำหนดมาตรการเปลี่ยนผ่านดังนี้
(ก) สารสกัดจากส้มขม และสารผสมล่วงหน้า (premixture) ที่มีส่วนประกอบของสารดังกล่าวที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า
(ข) อาหารสัตว์ผสม (compound feeds) และวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) ที่ใช้สำหรับสัตว์ที่ผลิตเพื่อเป็นอาหาร ที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากส้มขม ที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า
(ค) อาหารสัตว์ผสม (compound feeds) และวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) ที่ไม่ใช้สำหรับสัตว์ที่ผลิตเพื่อเป็นอาหาร ที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากส้มขม ที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า
3) กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้
https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R0652&from=EN
5. Commission Implementing Regulation (EU) 2022/653 ว่าด้วย การอนุญาตให้ preparation of the leaves extract of Melissa officinalis L. (สารสกัดจากใบเลมอนบาล์ม) เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ ใน EU Official Journal L 119/79 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้ preparation of the leaves extract of Melissa officinalis L. (สารสกัดจากใบเลมอนบาล์ม) เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ (feed additive) ภายใต้กลุ่มสารเสริมทางประสาทสัมผัส (sensory additives) โดยมีหน้าที่เป็นสารแต่งกลิ่น (flavouring compounds) และอนุญาตให้ใช้กับสัตว์ทุกชนิด เป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่กฎระเบียบฯ มีผลบังคับใช้ ไปจนถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2575 เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการใช้งาน ผู้ใช้งานจึงควรสวมใส่ชุดป้องกัน
2) คณะกรรมาธิการยุโรปได้กำหนดมาตรการเปลี่ยนผ่านดังนี้
(ก) preparation of the leaves extract of Melissa officinalis L. (สารสกัดจากใบเลมอนบาล์ม) และสารผสมล่วงหน้า (premixture) ที่มีส่วนประกอบของสารดังกล่าวที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า
(ข) อาหารสัตว์ผสม (compound feeds) และวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) ที่ใช้สำหรับสัตว์ที่ผลิตเพื่อเป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของ preparation of the leaves extract of Melissa officinalis L. (สารสกัดจากใบเลมอนบาล์ม) ที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า
(ค) อาหารสัตว์ผสม (compound feeds) และวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) ที่ไม่ใช้สำหรับสัตว์ที่ผลิตเพื่อเป็นอาหาร ที่มีส่วนประกอบของ preparation of the leaves extract of Melissa officinalis L. (สารสกัดจากใบเลมอนบาล์ม) ที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า
3) กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้
https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R0653&from=EN
6. Commission Implementing Regulation (EU) 2022/654 ว่าด้วย การอนุญาตให้ butylated hydroxyanisole เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ ใน EU Official Journal L 119/84 โดยมีรายละเอียดดังนี้
เรื่องเดิม
Commission Implementing Regulation (EU) 2020/1399 อนุญาตให้ butylated hydroxyanisole เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ และสามารถใช้ได้กับสัตว์ทุกชนิด (ยกเว้นแมว) โดยไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด
ข้อเท็จจริง
- คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้ butylated hydroxyanisole เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ ภายใต้กลุ่มสารเสริมทางเทคโนโลยี (technological additives) โดยมีหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) และอนุญาตให้ใช้กับแมว เป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่กฎระเบียบฯ มีผลบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2575 เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการใช้งาน ผู้ใช้งานจึงควรสวมใส่ชุดป้องกัน
- คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้ใช้สารเสริมดังกล่าวขั้นสูงสุดที่ปริมาณ 150 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)
- คณะกรรมาธิการยุโรปอนุโลมช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านดังนี้
(1) butylated hydroxyanisole ที่ใช้เป็นสารเสริมสำหรับแมว รวมทั้งสารผสมล่วงหน้า (premixture) ที่มีส่วนผสมของ butylated hydroxyanisole ที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิมก่อนวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าดังกล่าวจะหมดไปจากคลังสินค้า
(2) อาหารสัตว์ผสม (compound feeds) และวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) ที่มีส่วนประกอบของ butylated hydroxyanisole โดยผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 ซึ่งได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิมก่อนวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าดังกล่าวจะหมดไปจากคลังสินค้า
4) กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 21 เมษายน 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R0654&from=EN