free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปออกมาตรการป้องกันชั่วคราวการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยรากปมข้าวในสหภาพยุโรป

สหภาพยุโรปออกมาตรการป้องกันชั่วคราวการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยรากปมข้าวในสหภาพยุโรป

green seeds of rice in countryside on sunny day
Photo by Sorapong Chaipanya on Pexels.com

Commission Implementing Regulation (EU) 2022/1372 ว่าด้วย มาตรการป้องกันชั่วคราวการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยรากปมข้าวในสหภาพยุโรป ใน EU Official Journal L 206/16 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับใช้มาตรการป้องกันชั่วคราวการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยรากปมข้าว (Meloidogyne graminicola (Golden & Birchfield))  ในสหภาพยุโรปและการเข้ามายังสหภาพยุโรป เพื่อให้สอดคล้องกับความเสี่ยงที่เป็นปัจจุบันที่มีการตรวจพบศัตรูพืชดังกล่าวในประเทศอิตาลี ส่งผลทำลายผลผลิตข้าวถึงร้อยละ 50 ดังนี้ การห้ามนำเข้าและเคลื่อนย้ายไส้เดือนฝอยรากปมข้าวในสหภาพยุโรป (มาตรา 3)

ห้ามนำเข้า เคลื่อนย้าย กัก ขยายพันธุ์ หรือปลดปล่อยไส้เดือนฝอยรากปมข้าว (ศัตรูพืชที่ระบุ)

ในสหภาพยุโรป

การกำหนดการแบ่งเขตพื้นที่ควบคุม (demarcated areas) (มาตรา 4)

               (1) ในกรณีที่มีการยืนยันการปรากฎของศัตรูพืชที่ระบุในสหภาพยุโรป ประเทศสมาชิกฯ ที่เกี่ยวข้องจะต้องกำหนดพื้นที่ควบคุมอย่างทันท่วงที

               (2) ในกรณีที่มีการยืนยันการปรากฎของศัตรูพืชที่ระบุในพื้นที่กันชน ประเทศสมาชิกฯ ที่เกี่ยวข้องจะต้องทบทวนและปรับแก้การกำหนดพื้นที่ติดเชื้อและพื้นที่กันชนอย่างทันท่วงที

               (3) ประเทศสมาชิกที่เกี่ยวข้องต้องทำการแจ้งคณะกรรมาธิการยุโรปและประเทศสมาชิกอื่นๆ เกี่ยวกับจำนวนและที่ตั้งของพื้นที่ควบคุมของศัตรูพืชที่ระบุ ตามมาตรา 18 Regulation (EU) 2016/2031

  • ในกรณีจากการสำรวจประจำปี ตามระบุในมาตรา 8 แล้วไม่พบศัตรูพืชที่ระบุในพื้นที่ควบคุม (demarcated areas) เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ให้สามารถยกเลิกพื้นที่ควบคุมดังกล่าวได้ โดยในกรณีนี้ ประเทศสมาชิกที่เกี่ยวข้องต้องทำการแจ้งคณะกรรมาธิการยุโรปและประเทศสมาชิกอื่นๆ ทราบ ตาม มาตรา 19(4) Regulation (EU) 2016/2031
  • มาตรการกำจัด (eradication measures) (มาตรา 5)

               ประเทศสมาชิกที่เกี่ยวข้องต้องปรับใช้มาตรการในพื้นที่ควบคุม เพื่อกำจัดศัตรูพืชที่ระบุ ดังต่อไปนี้

  • พืชที่ระบุในพื้นที่ติดเชื้อต้องถูกเคลื่อนย้ายและทำลายในพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่เก็บเกี่ยว โดยพืชที่ระบุต้องถูกทำลาย ณ ที่เกิดเหตุ หรือ ณ สถานที่ใกล้เคียงที่กำหนดขึ้นเพื่อการดังกล่าวภายในพื้นที่ติดเชื้อในลักษณะเพื่อป้องกันการกระจายของศัตรูพืชที่ระบุ
  • ห้ามหว่านเมล็ดพันธุ์ที่ระบุและห้ามปลูกพืชอาศัยในพื้นที่ติดเชื้อ
  • พืชอาศัยที่เกิดขึ้นเอง (volunteer host plants) ต้องได้รับการกำจัดอย่างสม่ำเสมอ                                                                                 
  • พื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่ติดเชื้อที่มีน้ำท่วมนานติดต่อกันเกินกว่า 18 เดือน หากน้ำท่วมไม่ได้

ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ให้ปรับใช้วิธีพืชกับดัก (trap-crop method) หรือวิธีอื่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูพืชเข้าสู่วงจรชีวิต (life cycle) ได้

  • พืชที่ระบุที่ใช้ในวิธีพืชกับดักต้องถูกทำลายภายใน 5 สัปดาห์หลังจากที่ปลูก
  • วัตถุที่ระบุที่ใช้ในพื้นที่ติดเชื้อต้องได้รับการทำความสะอาดเพื่อชำระล้างดินและเศษพืชก่อน

การเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ใกล้เคียง โดยระหว่างการทำความสะอาด ให้หลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของสิ่งตกค้างออกจากพื้นที่ติดเชื้

มาตรการกักกัน (มาตรา 6)

                 (1) ในพื้นที่ควบคุมที่ระบุในภาคผนวก II หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักต้องปรับใช้มาตรการเพื่อวัตถุประสงค์กักกันศัตรูพืชที่ระบุในพื้นที่ดังกล่าว และป้องกันการแพร่ระบาดนอกพื้นที่ควบคุม ดังต่อไปนี้

                       (ก) สามารถหว่านเมล็ดพันธุ์ที่ระบุและปลูกพืชที่ระบุได้ หากได้ปฎิบัติตามมาตรการใดมาตรการหนึ่งตามมาตรการสุขอนามัยพืช ดังต่อไปนี้

                             – น้ำท่วมต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือนนับจากการเก็บเกี่ยวครั้งล่าสุด

                             – วิธีพืชกับดัก ซึ่งพืชที่ระบุจะถูกทำลายภายใน 5 สัปดาห์หลังจากที่ปลูก

                             – การปลูกพืชหมุนเวียนโดยพืชที่ไม่ใช่พืชอาศัย (non-host plants) หรือพืชอาศัยที่ปลูก สกุล Brassica L. สกุล Allium cepa L. สกุล Glycine max (L.) Merr. สกุล Hordeum vulgare L. สกุล Panicum miliaceum L. สกุล Sorghum bicolor (L.) Moench สกุล Triticum aestivum L. และสกุล Zea mays L. เพื่อใช้ผลิตหัว (bulbs) ผัก (vegetables) หรือเมล็ดพืช (grains) ให้แก่ผู้บริโภคคนสุดท้าย นอกเหนือจากการใช้เป็นพืชเพื่อการเพาะปลูก

                       (ข) พืชอาศัยที่เกิดขึ้นเอง (volunteer host plants) ต้องได้รับการกำจัดอย่างสม่ำเสมอ

  (ค) วัตถุที่ระบุที่ใช้ในพื้นที่ติดเชื้อต้องได้รับการทำความสะอาดเพื่อชำระล้างดินและเศษ

พืช ก่อนการเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ใกล้เคียง โดยระหว่างการทำความสะอาด ให้หลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของสิ่งตกค้างออกจากพื้นที่ติดเชื้อ

                 (2) หากจากผลการสำรวจพบว่า มีศัตรูพืชที่ระบุเพิ่มขึ้น หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักต้องปรับใช้มาตรการที่ระบุในมาตรา 5 ในพื้นที่ควบคุม (demarcated areas) ที่เกี่ยวข้อง

 การสร้างความตระหนักรู้ (มาตรา 7)

                 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ควบคุมที่มีการปรับใช้มาตรการกำจัดและมาตรการกักกัน ตามระบุในมาตรา 5 และมาตรา 6 ประเทศสมาชิกที่เกี่ยวข้องต้องสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามของศัตรูพืชระบุดังกล่าวให้ประชาชนได้ทราบ รวมถึงมาตรการที่ปรับใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายไปยังพื้นที่ที่อยู่นอกพื้นที่ควบคุม โดยให้ประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อตระหนักถึงการแบ่งเขตพื้นที่ควบคุม พื้นที่ติดเชื้อ และพื้นที่กันชน

 การสำรวจศัตรูพืชที่ระบุในอาณาเขตของประเทศสมาชิก (มาตรา 8)

  • ประเทศสมาชิกฯ ทำการสำรวจศัตรูพืชที่ระบุในพืชอาศัย (host plant) รายปี ในอาณาเขตของตน โดยให้ความสำคัญสูงสุดในการสำรวจพืชที่ระบุ (specified pest) ที่กระทำบนพื้นฐานความเสี่ยง
  • ประเทศสมาชิกฯ จะต้องรายงานผลการสำรวจให้แก่คณะกรรมาธิการยุโรปและประเทศสมาชิกอื่นๆ ทราบภายในวันที่ 30 เมษายนของทุกปี โดยการรายงานผลการสำรวจจากพื้นที่ที่อยู่นอกพื้นที่ควบคุมดังกล่าวจะต้องใช้แบฟอร์มที่กำหนดใน Annex I Commission Implementing Regulation (EU) 2020/1231                                                                                                                
  • ในพื้นที่ควบคุม ประเทศสมาชิกที่เกี่ยวข้องต้องติดตามพัฒนาการของการตรวจพบศัตรูพืชที่ระบุ ประเทศสมาชิกที่เกี่ยวข้องต้องรายงานผลการสำรวจฯ ให้แก่คณะกรรมาธิการยุโรปและประเทศสมาชิกอื่นๆ ทราบภายในวันที่ 30 เมษายนของทุกปี โดยใช้แบบฟอร์มที่กำหนดในภาคผนวก III
  • การสำรวจจะต้องประกอบด้วยการตรวจสอบด้วยสายตา (visual examination) ในพืชอาศัย การสุ่มตรวจพืชอาศัยที่มีอาการและพืชอาศัยที่ไม่มีอาการที่อยู่ใกล้กับพืชอาศัยที่มีอาการ และดิน การตรวจสอบระบบรากของพืชที่สุ่มตรวจว่ามีความผิดปกติของศัตรูพืชที่ระบุ
  • การสุ่มตรวจดิน จะต้องเก็บตัวอย่างดินจากพืชอาศัยที่มีอาการ โดยการเก็บตัวอย่างดินที่ความลึก 20-25 ซม. ในพื้นที่ภายใต้การเฝ้าระวัง ให้เก็บตัวอย่างดินเป็นตะแกรงสี่เหลี่ยม ครอบคลุมทั้งแปลง ระยะความยาวไม่เกิน 20 เมตร และความกว้าง 5 เมตร ขนาดตัวอย่าง 500 มิลลิลิตร ถึงพื้นผิวรวม 1 เฮกตาร์

การเคลื่อนย้ายพืชที่ระบุ ดิน เมล็ดพันธุ์ที่ระบุ และวัตถุที่ระบุ (มาตรา 9)

                      (1) ห้ามการเคลื่อนย้ายพืชที่ระบุออกจากพื้นที่ควบคุม

                       (2) ห้ามการเคลื่อนย้ายดินที่ใช้ปลูกพืชที่ระบุมาเป็นระยะเวลา 3 ปีก่อนหน้านี้ ภายในหรือนอกพื้นที่ควบคุม

                       (3) การเคลื่อนย้ายเมล็ดพันธุ์ที่ระบุภายในหรือนอกพื้นที่ควบคุมสามารถกระทำได้ หากเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวปลอดจากดินและเศษพืชเจือปน

                      (4) การเคลื่อนย้ายวัตถุที่ระบุนอกพื้นที่ควบคุมสามารถกระทำได้ หากวัตถุได้รับการทำความสะอาดและปลอดจากดิน

 การนำเข้าพืชที่ระบุ (specified plants) และเมล็ดพันธุ์ที่ระบุ (specified seeds)   ไปยังสหภาพยุโรป (มาตรา 10)

                 พืชที่ระบุและเมล็ดพันธุ์ที่ระบุที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศที่สาม สามารถนำเข้ามายังในสหภาพยุโรปได้ หากหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักหรือผู้ประกอบการมืออาชีพ (professional operators) อยู่ภายใต้การตรวจสอบควบคุมของหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขดังนี้

  • พืชที่ระบุได้รับการผลิตในสถานที่ที่ได้รับการรับรองว่าปลอดศัตรูพืช (pest-free place)หรือแหล่งผลิตที่ปลอดศัตรูพืช (pest-free site of production) ที่อยู่ภายใต้การตรวจสอบอย่างเป็นทางการ ณ สถานที่หรือแหล่งผลิต ในช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดเพื่อตรวจหาอาการติดเชื้อระหว่างช่วงการออกผลที่สมบูรณ์รอบสุดท้ายก่อนส่งออก และไม่พบศัตรูพืชที่ระบุ
  • การตรวจสอบอย่างเป็นทางการกระทำในช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดเพื่อตรวจหาอาการติดเชื้อระหว่างช่วงการออกผลที่สมบูรณ์รอบสุดท้ายก่อนส่งออกในพื้นที่ที่มีความกว้างอย่างน้อย 100 เมตร และบริเวณโดยรอบสถานที่หรือแหล่งผลิตที่ระบุในข้อ (1)
  • พืชที่ระบุใด ๆ ในพื้นที่โดยรอบสถานที่ปลอดศัตรูพืชหรือแหล่งผลิตที่ปลอดศัตรูพืชซึ่ง แสดงอาการติดเชื้อในระหว่างการตรวจสอบได้ถูกทำลายในทันที
  • พืชที่ระบุมีหนังสือรับรองสุขอนามัยพืชประกอบการนำเข้า รวมถึงระบุ “การประกาศเพิ่มเติม” (additional declaration) ตามมาตรา 71(2) Regulation (EU) 2016/2031 ตามหนึ่งในสามประกาศ ดังนี้
  •  NPPO ประเทศที่สามของพืชที่ระบุได้ยอมรับว่า ศัตรูพืชที่ระบุนั้นไม่ปรากฎอยู่ในประเทศ (country as being free from the specified pest) ตามมาตรฐานสากลด้านมาตรการสุขอนามัย

                                                                                                          

  • พืชที่ระบุมาจากพื้นที่ปลอดศัตรูพืช กำหนดขึ้นตามศัตรูพืชที่ระบุ โดย NPPO ของประเทศที่สามในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐานสากลด้านมาตรการสุขอนามัยพืชที่เกี่ยวข้อง โดยชื่อของพื้นที่ปลอดศัตรูพืชจะต้องระบุอยู่ในหนังสือรับรองสุขอนามัยพืช ภายใต้หัวข้อ « แหล่งที่มา (place of origin) »
  • พืชที่ระบุได้รับการผลิตในสถานที่ปลอดศัตรูพืช (pest-free place) หรือแหล่งผลิตที่ปลอดศัตรูพืช (pest-free site of production) กำหนดขึ้นตามศัตรูพืชที่ระบุ โดย NPPO ของประเทศที่สามที่เกี่ยวข้องตามมาตรฐานสากลด้านมาตรการสุขอนามัยพืชที่เกี่ยวข้อง (ข้อกำหนดในการกำหนดสถานที่ผลิตปลอดศัตรูพืชและแหล่งผลิตที่ปลอดศัตรูพืช ตาม ISPM No 10 (1999) Rome IPPC, FAO 2016) และได้รับการผลิตตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2022/1372
  • หนังสือรับรองสุขอนามัยพืชที่แนบไปกับเมล็ดพันธุ์ที่ระบุจากประเทศที่สาม ต้องรวมถึงการระบุ “การประกาศเพิ่มเติม” (additional declaration) ว่า เมล็ดพันธุ์ปลอดจากดินและสิ่งปนเปื้อน (debris)
  • การสุ่มตัวอย่างและการทดสอบพืชที่ระบุที่แสดงอาการของศัตรูพืชที่ระบุ (มาตรา 11)

                 พืชที่ระบุจากประเทศที่สามที่นำเข้าไปยังสหภาพยุโรปและแสดงอาการของศัตรูพืชที่ระบุจากการตรวจสอบด้วยสายตา จะต้องถูกสุ่มตัวอย่างและทดสอบเพื่อระบุการปรากฏตัวของศัตรูพืชนั้นๆ       

        2. ประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2568 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R1372&from=EN