1. Commission Implementing Regulation (EU) 2023/2455 ว่าด้วย การไม่ต่ออายุให้ metiram เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช ใน EU Official Journal L series
คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาแล้วเห็นควรไม่ต่ออายุให้ metiram เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
- เนื่องจากหน่วยงานด้านความปลอดภัยอาหารประจำสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority: EFSA) ยังมีข้อกังวลต่อผลกระทบจากการใช้สาร metiram ในมิติต่างๆ อาทิ ความเสี่ยงของสาร metiram และ เมตาบอไลต์ของสาร metiram ที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา ต่อผู้ใช้/ผู้สัมผัสกับสาร มีปริมาณเกินกว่าค่าอ้างอิงทั้งหมด รวมถึงความเสี่ยงสูงต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ และความเสี่ยงสูงในพื้นที่ต่อสัตว์ขาปล้องที่ไม่ใช่เป้าหมาย ตลอดจนสาร metiram เข้าเกณฑ์การถูกจัดให้เป็นสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (endocrine disruptor) สำหรับมนุษย์
- คณะกรรมาธิการยุโรปจึงเห็นควรยกเลิกการใช้สาร metiram ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช และกำหนดให้ประเทศสมาชิกฯ ดำเนินการเพิกถอนการอนุญาตผลิตภัณฑ์อารักขาพืชที่มีส่วนผสมของสารดังกล่าว ภายในวันที่ 28 พฤษภาคม 2567 และสามารถยื่นขอขยายช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านได้ โดยไม่เกินวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 เว้นแต่จะมีการยื่นขอให้พิจารณาต่ออายุการใช้สารดังกล่าวอีกครั้ง
- กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้
2. Commission Implementing Regulation (EU) 2023/2456 ว่าด้วย การไม่ต่ออายุให้ clofentezine เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช ใน EU Official Journal L series
คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาแล้วเห็นควรไม่ต่ออายุให้ clofentezine เป็นสารออกฤทธิ์ (Active Substance) ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
- เนื่องจากหน่วยงานด้านความปลอดภัยอาหารประจำสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority: EFSA) ยังมีข้อกังวลต่อผลกระทบจากการใช้สาร clofentezine ในมิติต่างๆ อาทิ สาร clofentezine มีคุณสมบัติเป็นสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อมนุษย์ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.6.5 ภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 1107/2009 ตลอดจนค่าตกค้างของสาร clofentezine คาดว่าจะสูงกว่าค่าที่กำหนดในข้อ 3.6.5 ภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 1107/2009 นอกจากนี้ พบว่า มีความเสี่ยงระยะยาวสูงต่อนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในป่าสำหรับการใช้งานกับพืชที่ไม่ได้ปลูกในเรือนกระจกถาวร รวมถึงยังไม่สามารถสรุปการประเมินความเสี่ยงของผู้บริโภค และเสนอระดับสารตกค้างสูงสุดจากข้อมูลที่มีอยู่ได้ และการประเมินความเสี่ยงสำหรับสัตว์ขาปล้องที่ไม่ใช่เป้าหมายไม่สามารถสรุปได้กับพืชผลที่ไม่ได้ปลูกในโรงเรือนถาวร
2. คณะกรรมาธิการยุโรปจึงเห็นควรยกเลิกการใช้สาร clofentezine ในผลิตภัณฑ์อารักขาพืช และกำหนดให้ประเทศสมาชิกฯ ดำเนินการเพิกถอนการอนุญาตผลิตภัณฑ์อารักขาพืชที่มีส่วนผสมของสารดังกล่าว ภายในวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 และสามารถยื่นขอขยายช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านได้ โดยไม่เกินวันที่ 11 พฤศจิกายน ๒๕๖7 เว้นแต่จะมีการยื่นขอให้พิจารณาต่ออายุการใช้สารดังกล่าวอีกครั้ง
3. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้