free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืชในสินค้าพืชและสัตว์

สหภาพยุโรปปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืชในสินค้าพืชและสัตว์

Featured Image under Pexels license
  1. Commission Regulation  (EU)  2024/1342  ว่าด้วย การปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 4 รายการ ได้แก่ สาร deltamethrin, สาร metalaxyl, สาร thiabendazole และสารtrifloxystrobin ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal  L series ดังนี้

      คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช ทั้ง 4 รายการ ในสินค้าพืชและสัตว์ ดังนี้

  1. สาร deltamethrin

1.1)   ให้คงค่า MRLs ในถั่วยืนต้น (tree nuts) เมลอน แตงโม แตงอื่นๆ ที่เปลือกบริโภคไม่ได้ ผักกาดขาว ข้าว ข้าวสาลี ควินซ์ เมดลาร์ โลควอท แอพริคอต เชอร์รี พีช ผลไม้ขนาดเล็กอื่นๆ และเบอร์รี รากบีท รากขึ้นฉ่ายฝรั่ง ฮอร์สเรดิช เยรูซาเล็มอาร์ติโชค รากพาร์สลีย์ แรดิช ซัลซิไฟ สวีต เทอร์นิพ ผักรากและหัวอื่นๆ ผักหัว มะเขือ ผักเคล โคห์ลราบี กระเทียมต้น มะกอกเพื่อผลิตน้ำมัน ชาสมุนไพรจากราก รากชิโครี แอปเปิ้ล มะกอกรับประทาน แครอท ฟักทอง กะหล่ำดอก พืชตระกูลถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืช (ยกเว้นข้าวและข้าวสาลี) รากและเหง้าเครื่องเทศ องุ่น สตรอว์เบอร์รี แตงที่มีเปลือกรับประทานได้ คอร์นสลัด เครส แลนด์เครส รอคเกต มัสตาร์ดแดง พืชใบเล็ก ใบองุ่น วอเตอร์เครส เชอร์วิล เห็ดเพาะ เลนทิล ถั่วลันเตา ลูพิน ชา ข้าวโพด และผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ รวมนมและไข่

1.2) ปรับลดระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้

    – พืชกลุ่มเบอร์รี (cane fruits) ที่ระดับ 0,08 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

    – สมุนไพรและดอกไม้บริโภคได้ (ยกเว้นเชอร์วิล) ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

    – ชาสมุนไพรจากดอกไม้ ที่ระดับ 9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

    – ชาสมุนไพรจากพืชใบและสมุนไพร ที่ระดับ 9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

    – พริกหวาน/พริกหยวก ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

    – กะหล่ำหัว ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

    – แพร์ ที่ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

    – ผักกาด ที่ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                   1.3)  กำหนดให้ปรับระดับค่า MRLs ให้อยู่ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) ในพืช ดังต่อไปนี้ พืชกลุ่มส้ม กีวี เอสคารอล ผักโขมและใบคล้ายคลึง อาร์ติโชค ถั่ว เมล็ดน้ำมัน เครื่องเทศผลไม้ เครื่องเทศจากดอกตูม เครื่องเทศเกสรดอกไม้ และมันฝรั่ง

                   1.4) ปรับเพิ่มระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้

                           – พลัม ที่ระดับ 0,1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                               – มะเขือเทศ ที่ระดับ 0,1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                               – กระเจี๊ยบเขียว ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                               – คารอบ ที่ระดับ 0,7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                              – มะม่วง ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                               – มะละกอ ที่ระดับ 0,1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                                                                                                    

    2) สาร metalaxyl 

                    2.1) ปรับเปลี่ยนชนิดสารพิษตกค้างที่กำหนดให้ตรวจ (residue definition) เพื่อเฝ้าระวังการปนเปื้อนในสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์

                    2.2) คงระดับค่า MRLs ในฮอพ สมุนไพรและดอกไม้บริโภคได้

                     2.3) ปรับลดระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้

                             – เมล็ดโกโก้ ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                            – มะนาวเขียว ที่ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                             – ส้มแมนดาริน ที่ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                            – หอมใหญ่ ที่ระดับ 0,03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                              – พริกหวาน/พริกหยวก ที่ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                            – เมลอน ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                              – แตงโม ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                            – อาร์ติโชก ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                              – สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ (ไตและเครื่องในสุกร แกะ และแพะ) ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                     2.4   ปรับเพิ่มระดับค่า MRLs ในสินค้าพืชและสัตว์ ดังนี้

                             – สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ (ตับ ไต และเครื่องในวัวและม้า) ที่ระดับ 0,06 – 0,4  มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                            – ผลปาล์มน้ำมัน ที่ระดับ 0,015 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                     2.5 กำหนดระดับค่า MRLs เท่ากับค่า CXLs ที่ Codex กำหนด ในพืช ดังนี้

                              – องุ่น ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                            – หอมใหญ่ ที่ระดับ 0,03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                              – มันฝรั่ง ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                              – พริกไทย ที่ระดับ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

    3) สาร thiabendazole

    3.1) ปรับเปลี่ยนชนิดสารพิษตกค้างที่กำหนดให้ตรวจ (residue definition) เพื่อเฝ้าระวังการปนเปื้อนในสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์

                    3.2) คงระดับค่า MRLs ใน ฮอพ แอปเปิ้ล และมันฝรั่ง

                     3.3) กำหนดระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้         

                              – อะโวคาโด ที่ระดับ 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                    3.4) ปรับลดระดับค่า MRLs ให้อยู่ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) ในมะละกอ ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

    4) สาร trifloxystrobin  

    4.1) ปรับเปลี่ยนชนิดสารพิษตกค้างที่กำหนดให้ตรวจ (residue definition)  เพื่อเฝ้าระวังการปนเปื้อนในสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์

                    4.2) กำหนดระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้

                             – สมุนไพรและดอกไม้บริโภคได้  ที่ระดับ 30 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                              – ถั่วที่มีฝัก  ที่ระดับ 0,8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                            – ข้าวโอ๊ต ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                              – พริกหยวก/พริกหวาน  ที่ระดับ 0,9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                              – ผักเคล  ที่ระดับ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                            – รากชิโครี ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                              – น้ำผึ้ง ที่ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                    4.3) คงระดับค่า MRLs ในแตงกวา และแตงเกอร์คิน

                     4.4) ปรับลดระดับค่า MRLs ให้อยู่ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) ในพืช ดังนี้

                             – เสาวรส ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                              – ผักกาดขาว ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                              – วิทลูฟ ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม         

               5) กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับสารทั้ง 4 รายการในสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรป หรือสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ก่อนวันที่ 11 ธันวาคม 2567 โดยให้สามารถใช้ค่า MRLs เดิม ยกเว้นสาร deltamethrin ในแพร์ มันฝรั่ง และผักกาด และสาร thiabendazole ในมะละกอ

    • กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน  EU  Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2567) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป (ตามระบุใน Corrigendum 2024/90314) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้
    https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=OJ:L_202401342
    https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=OJ:L_202490314

    2. Commission Regulation (EU) 2024/1355 ว่าด้วย การปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 6 รายการ ได้แก่ สาร benzovindiflupyr, สาร chlorantraniliprole, สาร emamectin, สารquinclorqc, สาร spiromesifen และสาร triflumuron ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal L series ดังนี้

          1) คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช ทั้ง 6 รายการ ในสินค้าพืชและสัตว์ ให้อยู่ที่ระดับเดียวกับค่า CXLs ของ Codex ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ยกเว้นในกรณีที่สินค้าพืชหรือสัตว์นั้นๆ ไม่ได้ปรากฏอยู่ในภาคผนวก I หรือในกรณีที่ค่า CXLs อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าระดับค่า MRLs ที่สหภาพยุโรปกำหนดสำหรับสารปราบศัตรูพืชนั้นๆ ในปัจจุบัน

          2) กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน  EU  Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2567) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้

    https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=OJ:L_202401355

                                                                                                            

    3. Commission Regulation  (EU)  2024/1439  ว่าด้วย การปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 3 รายการ ได้แก่ สาร fenazaquin สาร mepiquat และสาร propamocarb ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal  L series ดังนี้

          คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับค่าปริมาณตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช ทั้ง 4 รายการ ในสินค้าพืชและสัตว์ ดังนี้

    1) สาร fenazaquin

                  1.1) ปรับเพิ่มระดับค่า MRLs ในฮอพ ที่ระดับ 30 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

    2) สาร propamocarb

                  2.1) ปรับเพิ่มระดับค่า MRLs ในน้ำผึ้ง ที่ระดับ 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

          3) สาร mepiquat

                  3.1) ให้คงระดับค่า MRLs ชั่วคราว ในเห็ดเพาะ ที่ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

                   3.2) กำหนดระดับค่า MRLs ชั่วคราว ในเห็ดหอยนางรม ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

           4) สำหรับค่า MRLs ของสาร fenazaquin สาร mepiquat และสาร propamocarb ในสินค้าที่ไม่ได้ระบุข้างต้น ปรากฏตามภาคผนวก Commission Regulation  (EU)  2024/1439              

    กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน  EU  Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2567) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้ https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=OJ:L_202401439