free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปอนุญาตสารเสริมในอาหารสัตว์

สหภาพยุโรปอนุญาตสารเสริมในอาหารสัตว์

Featured Image by Artem Beliaikin under Pexels license
  1. Commission Implementing Regulation (EU) 2020/1797 ว่าด้วย การอนุญาตให้ L-valine ที่ผลิตโดย Escherichia coli KCCM 80159 เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ ใน EU Official Journal L 402/36 โดยมีรายละเอียดดังนี้
    1. คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้ L-valine ที่ผลิตโดย Escherichia coli KCCM 80159 เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ (feed additive) ภายใต้กลุ่มสารเสริมทางโภชนาการ (nutritional additives) โดยมีหน้าที่เป็น ‘amino acids, their salt and analogues’ เป็นแหล่งกรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid L-valine) และมีประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพในกระเพาะรูเมนในสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยอนุญาตให้ใช้กับสัตว์ทุกชนิด เป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่กฎระเบียบฯ มีผลบังคับใช้ ไปจนถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2573 เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม
    2. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2563) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้ https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32020R1797&from=EN
  2. Commission Implementing Regulation (EU) 2020/1798 ว่าด้วย การอนุญาตให้ L-lysine monohydrochloride ที่ผลิตโดย Corynebacterium glutamicum DSM 32932 และ L-lysine sulphate ที่ผลิตโดย Corynebacterium glutamicum KFCC 11043 เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ ใน EU Official Journal L 402/39 โดยมีรายละเอียดดังนี้
    1. คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้ L-lysine monohydrochloride ที่ผลิตโดย Corynebacterium glutamicum DSM 32932 และ L-lysine sulphate ที่ผลิตโดยCorynebacterium glutamicum KFCC 11043 เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ (feed additive) ภายใต้กลุ่มสารเสริมทางโภชนาการ (nutritional additives) โดยมีหน้าที่เป็น ‘amino acids, their salt and analogues’ เป็นแหล่งกรดอะมิโน L-lysine ซึ่งมีประสิทธิภาพสำหรับสัตว์ทุกชนิด และมีประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพในกระเพาะรูเมนในสัตว์เคี้ยวเอื้องและไม่เคี้ยวเอื้อง โดยอนุญาตให้ใช้กับสัตว์ทุกชนิด เป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่กฎระเบียบฯ มีผลบังคับใช้ ไปจนถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2573 เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการใช้งาน ผู้ใช้งานจึงควรสวมใส่ชุดป้องกัน
    2. คณะกรรมาธิการยุโรปได้กำหนดปริมาณสูงสุดของการใช้สารเสริม L-lysine monohydrochloride และ L-lysine sulphate ตามภาคผนวกของกฎระเบียบดังกล่าว
    3. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2563) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้ https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32020R1798&from=EN