Commission Implementing Regulation (EU) 2021/468 ว่าด้วย การไม่อนุญาตให้ใช้พืชที่มีสาร hydroxyanthracene ในอาหาร ใน EU Official Journal L 96/6 โดยมีรายละเอียดดังนี้
- คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาแล้วเห็นว่า สาร hydroxyanthracene ที่สามารถพบได้ในพืชหลายชนิด และนำมาใช้ทำอาหารเสริม (food supplements) เพื่อช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย มีความเสี่ยงที่เป็นพิษต่อพันธุกรรม (genotoxic) และก่อให้เกิดมะเร็ง (carcinogenic) นอกจากนี้ ปัจจุบันหน่วยงานด้านความปลอดภัยอาหาร (EFSA) ยังไม่มีการกำหนดปริมาณที่บริโภคได้ต่อวัน (daily intake) ของสาร hydroxyanthracene คณะกรรมาธิการยุโรปจึงเห็นควรปรับแก้ Regulation (EC) No 1925/2006 ภาคผนวก III ดังนี้
- Part A ว่าด้วย รายชื่อสารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร (prohibited substances) โดยให้เพิ่มชื่อพืช ดังต่อไปนี้
- อโลอีโมดิน (aloe-emodin) และการเตรียม (preparations) ที่มีสารดังกล่าว
- อีโมดิน (emodin) และการเตรียม (preparations) ที่มีสารดังกล่าว
- การเตรียม (preparations) ที่มีใบของต้นว่านหางจระเข้ (Aloe) ที่มีสาร hydroxyanthracene
- แดนตรอน (danthron) และการเตรียม (preparations) ที่มีสารดังกล่าว
- Part C ว่าด้วย รายชื่อสารที่อยู่ภายใต้การพิจารณาตรวจสอบของสหภาพยุโรป (substances under community scrutiny) โดยให้เพิ่มชื่อพืช ดังต่อไปนี้
- การเตรียม (preparations) ที่มาจากราก (root) หรือเหง้า (rhizome) ของโกฐน้ำเต้า (Rheum palmatum L.), ตั้งอึ๊ง (Rheum officinale Baillon) และไฮบริด (hybrids) ที่มีสาร hydroxyanthracene
- การเตรียม (preparations) ที่มาจากใบหรือผลของมะขามแขก (Cassia senna L.) ที่มีสาร hydroxyanthracene
- การเตรียม (preparations) ที่มาจากเปลือกไม้ (bark) ของแฟรงกูล่า (Rhammus frangula L.) และคาสคารา ซากราดา (Rhamnus purshiana DC.) ที่มีสาร hydroxyanthracene
- Part A ว่าด้วย รายชื่อสารที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร (prohibited substances) โดยให้เพิ่มชื่อพืช ดังต่อไปนี้
- กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 19 มีนาคม 2564) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้
https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32021R0468&from=EN