free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับแก้ข้อกำหนดการทำงานของระบบการจัดการข้อมูลการตรวจสอบ (IMSOC) ของสัตว์และสินค้าอาหาร

สหภาพยุโรปปรับแก้ข้อกำหนดการทำงานของระบบการจัดการข้อมูลการตรวจสอบ (IMSOC) ของสัตว์และสินค้าอาหาร

Featured Image by Dimitris Vetsikas under Pixabay license

Commission Implementing Regulation (EU) 2021/547 ว่าด้วย การปรับแก้ Implementing Regulation (EU) 2019/1715ข้อกำหนดการทำงานของระบบการจัดการข้อมูลการตรวจสอบ (IMSOC) และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ใน EU Official Journal L 109/60 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. คณะกรรมาธิการยุโรปปรับแก้ Implementing Regulation (EU) 2019/1715 ว่าด้วย ข้อกำหนดการทำงานของระบบการจัดการข้อมูลการตรวจสอบ (IMSOC) และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องดังนี้
    1. Chapter 1 มาตรา 2 แก้ไขดังนี้
      • ยกเลิกข้อ (8)
      • ให้เปลี่ยนข้อ (9) ดังนี้
        • 9) RASFF network หมายถึง ระบบ Rapid alert ที่จัดทำเป็นเครือข่ายโดย Regulation (EC) No 178/2002 มาตรา 50 สำหรับการแจ้งเตือนตามมาตรานี้ ข้อ (15) ถึง (20)
      • ให้เปลี่ยนข้อ (11) ดังนี้
        • (11) Fraud network หมายถึง เครือข่ายที่ประกอบด้วยคณะกรรมาธิการยุโรป Europol และหน่วยงานผู้ประสานที่ได้รับการแต่งตั้งโดยประเทศสมาชิกฯ ตาม Regulation (EU) 2017/625 มาตรา 103(1) เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการแจ้งเตือนการฉ้อโกงตามข้อ (21)
      • ให้เปลี่ยนข้อ (12) ดังนี้
        • (12) Alert and cooperation network หมายถึง เครือข่ายที่ประกอบด้วย RASFF AAC และ Fraud networks
      • ให้เปลี่ยนข้อ (14) ดังนี้
        • (14) Non-compliance notification หมายถึง การแจ้งเตือนใน iRASFF ของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตาม Regulation (EU) 2017/625 มาตรา 1(2) ที่ไม่ได้แสดงถึงความเสี่ยงตาม Regulation (EC) No 178/2002 มาตรา 50 และ Regulation (EC) No 183/2005 มาตรา 29
      • ให้เปลี่ยนข้อ (20) ดังนี้
        • (20) Border rejection notification หมายถึง การแจ้งเตือนใน iRASFF ของการปฏิเสธชุด (batch) คอนเทนเนอร์ หรือคาร์โก้อาหาร วัสดุที่สัมผัสกับอาหาร หรืออาหารสัตว์ เนื่องจากมีความเสี่ยงตาม Regulation (EC) No 178/2002 มาตรา 50(3)(c) วรรคแรก และ Regulation (EC) No 183/2005 มาตรา 29
      • ให้เปลี่ยนข้อ (21) ดังนี้
        • (21) Fraud notification หมายถึง การแจ้งเตือนของการไม่ปฏิบัติตามใน iRASFF เกี่ยวกับการกระทำที่น่าสงสัยของบริษัทที่ประกอบธุรกิจหรือผู้ประกอบการ ในการหลอกลวงผู้ซื้อและได้รับประโยชน์ที่ไม่เหมาะสม จากการละเมิดข้อกำหนดตาม Regulation (EU) 2017/625 มาตรา 1(2)
      • ให้เปลี่ยนข้อ (22) ดังนี้
        • (22) Original notification หมายถึง การแจ้งเตือนของการไม่ปฏิบัติตาม การแจ้งเตือนภัย การแจ้งเตือนข้อมูล การแจ้งเตือนข่าวสาร การแจ้งเตือนการฉ้อโกง หรือการแจ้งเตือนการปฏิเสธการนำเข้า ณ ด่านตรวจสอบ
      • ให้ยกเลิกข้อ (33) และข้อ (34)
    2. Chapter 2 มาตรา 6(2) แก้ไขดังนี้
      • ให้เปลี่ยนข้อ (b) ดังนี้
      • EUROPHYT และ TRACES อนุญาตให้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการแจ้งเตือน EUROPHYT
      • ให้เปลี่ยนข้อ (c) ดังนี้
        • iRASFF และ TRACES อนุญาตให้แลกเปลี่ยนข้อมูลการบันทึกประวัติของผู้ประกอบการด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนดตาม Regulation (EU) 2017/625 มาตรา 1(2)
      • เพิ่มข้อต่อไปดังนี้
        • (d) ADIS และ TRACES อนุญาตให้แลกเปลี่ยนข้อมูลการแจ้งเตือนของสหภาพยุโรป
    3. Chapter 3 Section 1 แก้ไขดังนี้
      • ให้เปลี่ยนมาตรา 12 ดังนี้
        • มาตรา 12
          • หน่วยงานประสานงานที่รับผิดชอบในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบางประเภท
          • ประเทศสมาชิกฯ จะต้องระบุว่า หน่วยงานประสานงานใดที่ได้รับการแต่งตั้งตาม Regulation (EU) 2017/625 มาตรา 103(1) โดยมีหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการแจ้งเตือนการฉ้อโกง
      • ให้เปลี่ยนมาตรา 13 วรรค 2 ดังนี้
        • 2.ประเทศสมาชิกฯ อาจรวมจุดติดต่อของเครือข่ายการฉ้อโกงไว้ในจุดติดต่อเดียว
      • ให้เปลี่ยนมาตรา 21 ดังนี้
        • มาตรา 21
          • การแจ้งเตือนการฉ้อโกง
            1. จุดติดต่อของเครือข่ายการฉ้อโกงจะแลกเปลี่ยนการแจ้งเตือนการฉ้อโกง รวมถึงข้อมูลอย่างน้อยดังนี้
              • ข้อมูลทั้งหมดที่กำหนดในมาตรา 16(1)
              • คำอธิบายของการปฏิบัติที่น่าสงสัยว่าเป็นการฉ้อโกง
              • คำอธิบายของการปฏิบัติที่น่าสงสัยว่าเป็นการฉ้อโกง
              • ข้อมูลว่ามีการสอบสวนของตำรวจหรือกระบวนการทางกฎหมายอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติที่น่าสงสัยว่าเป็นการฉ้อโกง
              • ข้อมูลเกี่ยวกับคำสั่งใด ๆ จากตำรวจหรือหน่วยงานในกระบวนการทางกฎหมายทันทีที่มี และสามารถเปิดเผยได้
            2. จุดติดต่อของเครือข่ายการฉ้อโกงจะสื่อสารข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงต่อสุขภาพไปยังจุดติดต่อของเครือข่าย RASFF อย่างทันท่วงที
            3. จุดติดต่อของคณะกรรมาธิการยุโรปจะตรวจสอบการแจ้งเตือนการฉ้อโกงแต่ละครั้งหลังจากที่มีการแลกเปลี่ยนแล้ว
        • ให้เปลี่ยนมาตรา 23 วรรค 3 ดังนี้
          • 3.โดยไม่เป็นการตัดสิทธิ์ของคณะกรรมาธิการยุโรปตามมาตรา 8(2) เฉพาะจุดติดต่อที่แจ้งเตือน จุดติดต่อที่ได้รับแจ้งเตือน และจุดติดต่อที่ร้องขอของเครือข่ายการฉ้อโกงเท่านั้น ที่จะสามารถเข้าถึงการแจ้งเตือนการฉ้อโกงได้
        • ให้เปลี่ยนข้อ 24 วรรค 2 ดังนี้
          • 2.การยกเว้นการปฏิบัติตามวรรค 1 การตรวจสอบการไม่ปฏิบัติตาม การแจ้งเตือนการฉ้อโกงและการปฏิเสธการนำเข้าจะครอบคลุมข้อ (b) (c) และ (e) ของวรรคนั้น
        • ให้เปลี่ยนมาตรา 25(1)(a) ดังนี้
          • (ก) จุดติดต่อสำหรับการแจ้งให้ถอดถอนการแจ้งเตือนการไม่ปฏิบัติตาม การฉ้อโกง หรือการติดตามผล
        • ให้เปลี่ยนมาตรา 27 วรรค 2 ดังนี้
          • 2.ในกรณีที่การแจ้งเตือนการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือการฉ้อโกงเกี่ยวข้องกับสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศที่สามหรือส่งออกไปยังประเทศที่สามที่ไม่มีการใช้ iRASFF หรือ TRACES คณะกรรมาธิการยุโรปอาจแจ้งให้ประเทศที่สามนั้น ๆ ทราบ
        • ให้เปลี่ยนมาตรา 28(1)(c) ดังนี้
          • (c) จุดติดต่อของเครือข่ายการฉ้อโกงจะแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการแจ้งเตือนการฉ้อโกงทางอีเมล์
    4. ให้เปลี่ยน Chapter 3 Section 2 ดังนี้
      • Section 2
        • ADIS
          • มาตรา 29
            • เครือข่าย ADIS
              1. แต่ละสมาชิกของเครือข่าย ADIS จะต้องกำหนดจุดติดต่ออย่างน้อยหนึ่งจุดที่รับผิดชอบในการส่งข้อมูลใน ADIS และข้อมูลเกี่ยวกับการแจ้งเตือนของสหภาพยุโรป และการรายงานของสหภาพยุโรปตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2002 มาตรา 3, 4, 6, 7, 8, 11 และ 13
              2. แต่ละจุดติดต่อของเครือข่าย ADIS จะต้องดูแลรักษา/ทำให้เป็นปัจจุบันของรายการแจ้งเตือนและบัญชีรายชื่อเขตพื้นที่ที่กำหนดโดยประเทศสมาชิกฯ ใน ADIS ตาม Implementing Regulation (EU) 2020/2002 ภาคผนวก IV
          • มาตรา 29a
            • ระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
              • ข้อมูลส่วนบุคคลจากการแจ้งเตือนของสหภาพยุโรป และการรายงานของสหภาพยุโรปตามมาตรา 29(1) จะถูกเก็บไว้ใน ADIS ไม่เกิน 10 ปี
          • มาตรา 29b
            • การเตรียมการในกรณีฉุกเฉินสำหรับ ADIS
              1. ในกรณีที่ ADIS ไม่สามารถใช้งานได้ จุดติดต่อของเครือข่าย ADIS จะต้องส่งข้อมูลการแจ้งเตือนของสหภาพยุโรป และรายงานของสหภาพยุโรปตามมาตรา 29(1) ทางอีเมล์หรือด้วยวิธีการอื่น ๆ ที่ระบุไว้ในเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการยุโรป
              2. เมื่อ ADIS สามารถใช้งานได้อีกครั้ง จุดติดต่อของเครือข่าย ADIS จะต้องนำสถิติและข้อมูลที่ได้ส่งนอกระบบไว้นั้นมาเก็บไว้ในระบบ
    5. ให้แก้ไข Chapter 3 Section 3 ดังนี้
      • ให้เปลี่ยนมาตรา 30 ดังนี้
        • มาตรา 30
          • เครือข่าย EUROPHYT
            • แต่ละสมาชิกเครือข่าย EUROPHYT จะต้องกำหนดจุดติดต่ออย่างน้อยหนึ่งจุดที่รับผิดชอบในการส่งข้อมูลการแจ้งเตือนใน EUROPHYT
      • ให้ยกเลิกมาตรา 31 และมาตรา 33
    6. ให้แก้ไข Chapter 3 Section 4 ดังนี้
      • ให้เปลี่ยนมาตรา 35 ดังนี้
        • มาตรา 35
          • เครือข่าย TRACES
            • ไม่เป็นการตัดสิทธิ์ต่อมาตรา 4(2) แต่ละสมาชิกเครือข่าย TRACES จะต้องกำหนดจุดติดต่ออย่างน้อยหนึ่งจุดที่รับผิดชอบในการดำเนินงานตาม Regulation (EU) 2017/625 มาตรา 132(d) และมาตรา 133 และในกฎระเบียบอื่น ๆ ของสหภาพยุโรปที่อ้างถึง TRACES
      • ให้เปลี่ยนมาตรา 39 ดังนี้
        • มาตรา 39
          • การออกหนังสือรับรองอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสัตว์และสินค้าที่นำเข้ามายังสหภาพยุโรป และการลงนามอิเล็กทรอนิกส์
            1. หนังสือรับรองทางการอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสัตว์และสินค้าที่นำเข้ามายังสหภาพยุโรปจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังนี้
              • หนังสือรับรองฯ จะต้องออกโดยระบบใดระบบหนึ่ง ดังนี้
                1. TRACES
                2. ระบบของประเทศสมาชิกฯ
                3. ระบบของประเทศที่สามหรือองค์กรระหว่างประเทศที่สามารถทำการแลกเปลี่ยนสถิติกับ TRACES
                4. ระบบของประเทศที่สามหรือองค์กรระหว่างประเทศที่สามารถทำการแลกเปลี่ยนสถิติกับระบบของประเทศสมาชิกฯ
              • ลงนามอิเล็กทรอนิกส์โดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ
              • มีตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้าหรือตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักที่ออกหนังสือรับรองฯ หรือการลงนามอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้าหรือการลงนามอิเล็กทอรนิกส์โดยตัวแทนผู้มีอำนาจ
            2. ในกรณีที่หนังสือรับรองฯ อิเล็กทรอนิกส์ออกให้ตามข้อ (a)(iii) หรือ (iv) วรรค 1 กำหนดให้ไม่ต้องมีการลงนามอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ
            3. คณะกรรมาธิการยุโรปจะต้องได้รับการแจ้งล่วงหน้าสำหรับการออกหนังสือรับรองอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ (a)(iv) วรรค 1
            4. หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักจะยอมรับหนังสือรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ ในการนำเข้าพืช สินค้าจากพืช และวัตถุอื่น ๆ มายังสหภาพยุโรปตาม Regulation (EU) 2016/2031 Chapter VI Section 1 สำหรับหนังสือรับรองที่ออกตาม (a)(i) หรือ (iii) วรรค 1 ของมาตรา 39 เท่านั้น
      • มาตราต่อไปนี้ให้เพิ่มต่อจากมาตรา 39 ดังนี้
        • มาตรา 39a
          • การออกหนังสือรับรองและเอกสารทางการค้า (commercial documents) อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเคลื่อนย้ายสัตว์และสินค้าระหว่างประเทศสมาชิก และการลงนามอิเล็กทรอนิกส์
            • หนังสือรับรองอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเคลื่อนย้ายสัตว์ สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ และผลิตภัณฑ์เชื้อโรคระหว่างประเทศสมาชิกฯ และเอกสารทางการค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผลิตภัณฑ์พลอยได้จากสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่มาจากผลิตภัณฑ์พลอยได้จากสัตว์ ที่ไม่ใช่เพื่อการบริโภคและขนส่งไปยังอีกประเทศสมาชิกฯ หนึ่ง จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังนี้
              1. หนังสือรับรองฯ จะต้องออกในระบบ TRACES
              2. ลงนามอิเล็กทรอนิกส์โดยสัตวแพทย์ผู้มีอำนาจหรือเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ
              3. มีตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้าหรือตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักที่ออกหนังสือรับรองฯ
        • มาตรา 39b
          • การออกหนังสือรับรองอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการส่งออก และการส่งออกใหม่ (re-export) พืช สินค้าพืช และวัตถุอื่น ๆ และการลงนามอิเล็กทรอนิกส์
            • หนังสือรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการส่งออกหรือการส่งออกใหม่ (re-export) พืช สินค้าพืช และวัตถุอื่น ๆ จากเขตพื้นที่สหภาพยุโรปไปยังประเทศที่สาม จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังนี้
              1. TRACES โดยมีเงื่อนไขว่า หนังสือรับรองต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังนี้
                • ลงนามอิเล็กทรอนิกส์โดยเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับอนุญาต
                • ลงนามอิเล็กทรอนิกส์โดยเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับอนุญาต
              2. ระบบของประเทศสมาชิกฯ โดยมีเงื่อนไขว่า หนังสือรับรองต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังนี้
                • ลงนามอิเล็กทรอนิกส์โดยเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับอนุญาต
                • จัดส่งเข้าระบบ TRACES ณ เวลาที่มีการลงนามอิเล็กทรอนิกส์โดยเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับอนุญาต และการส่งนั้นจะถูกปิดผนึกโดยตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้าหรือตราประทับของหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักที่ออกหนังสือรับรองฯ
      • ให้แก้ไขมาตรา 41 ดังนี้
        • มาตรา 41
          • การใช้เอกสาร CHED ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
            • การใช้เอกสาร CHED ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยผู้ประกอบการหรือหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักจะต้องผ่านระบบใดระบบหนึ่งดังนี้
              1. TRACE โดยมีเงื่อนไขว่าเอกสาร CHED จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังนี้
                • ลงนามในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยผู้รับผิดชอบสินค้า
                • ลงนามในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยสัตวแพทย์ผู้มีอำนาจ เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพพืชผู้มีอำนาจ หรือเจ้าหน้าที่ให้การรับรอง ณ ด่านตรวจสอบ หรือจุดตรวจสอบ
                • มีตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้าหรือตราประทับอิเล็กของหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักซึ่งเป็นผู้ออกเอกสาร CHED
              2. ระบบของประเทศสมาชิกฯ โดยมีเงื่อนไขว่าเอกสาร CHED จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังนี้
                • ลงนามในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยผู้รับผิดชอบสินค้า
                • ลงนามในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยสัตวแพทย์ผู้มีอำนาจ เจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพพืชผู้มีอำนาจ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ให้การรับรอง ณ ด่านตรวจสอบ หรือจุดตรวจสอบ
                • จัดส่งเข้าระบบ TRACES หลังจากมีการพิจารณาต่อสินค้าด้านการตรวจสอบควบคุม โดยการจัดส่งจะต้องถูกปิดผนึกด้วยตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้าหรือตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักซึ่งเป็นออกเอกสาร CHED
      • ให้ยกเลิกมาตรา 42 วรรค 3
      • ให้แก้ไขมาตรา 45 ดังนี้
        • บัญชีรายชื่อข้อมูลอ้างอิง (Lists of reference data)
          1. แต่ละจุดติดต่อของเครือข่าย TRACES จะต้องดูแลรักษา/ทำให้เป็นปัจจุบันของบัญชีรายชื่อ ดังนี้
            • สถานประกอบการอาหารที่ประเทศสมาชิกฯ ให้การอนุญาตตาม Regulation (EC) No 852/2004 มาตรา 6(3)
            • สถานประกอบการ พืช และผู้ประกอบการจัดการผลิตภัณฑ์พลอยได้จากสัตว์หรือผลิตภัณฑ์ที่มาจากผลิตภัณฑ์พลอยได้จากสัตว์ที่ประเทศสมาชิกฯ ให้การอนุญาตและขึ้นทะเบียนตาม Regulation (EC) No 1069/2009 มาตรา 47
            • จุดควบคุมที่ประเทศสมาชิกฯ ให้การอนุญาตตาม Council Regulation (EC) No 1255/97 มาตรา 3
            • ผู้ขนส่งในระยะทางไกลที่ประเทศสมาชิกฯ ให้การอนุญาตตาม Council Regulation (EC) No 1/2005 มาตรา 11(1)
            • สถานประกอบการที่อยู่ในบัญชีรายชื่อสถานประกอบการที่ได้รับการอนุญาตตาม Regulation (EU) 2016/429 มาตรา 101 วรรค 1 วรรคย่อยที่ 1 ข้อ (b) ที่มีการเคลื่อนย้ายสัตว์บกและผลิตภัณฑ์เชื้อโรคไปยังอีกประเทศสมาชิกฯ หนึ่ง หรือรับสัตว์บกและผลิตภัณฑ์เชื้อโรคจากประเทศที่สาม
            • สถานประกอบการที่อยู่ในบัญชีรายชื่อสถานประกอบการสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงและสถานประกอบการอาหารสัตว์น้ำที่ควบคุมโรคที่ได้รับการอนุญาตตาม Regulation (EU) 2016/429 มาตรา 185(1)(b) และ (c) ที่มีการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงไปยังอีกประเทศสมาชิกฯ หนึ่ง หรือรับสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงจากประเทศที่สาม
            • สถานประกอบการและผู้ประกอบการที่อยู่ในบัญชีรายชื่อสถานประกอบการและผู้ประกอบการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตาม Regulation (EU) 2016/429 มาตรา 101 วรรค 1 วรรคย่อยที่ 1 ข้อ (a) ที่มีการเคลื่อนย้ายสัตว์บกและผลิตภัณฑ์เชื้อโรคไปยังอีกประเทศสมาชิกฯ หนึ่ง หรือรับสัตว์บกและผลิตภัณฑ์เชื้อโรคจากประเทศที่สาม
            • สถานประกอบการที่อยู่ในบัญชีรายชื่อสถานประกอบการสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตาม Regulation (EU) 2016/429 มาตรา 185(1)(a) ที่มีการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงไปยังอีกประเทศสมาชิกฯ หนึ่ง หรือรับสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงจากประเทศที่สาม
            • สถานประกอบการที่อยู่ในบัญชีรายชื่อสถานประกอบการสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตาม Regulation (EU) 2016/429 มาตรา 185(1)(a) ที่มีการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงไปยังอีกประเทศสมาชิกฯ หนึ่ง หรือรับสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงจากประเทศที่สาม
            • คนขับรถและผู้ดูแลยานพาหนะทางถนนที่ขนส่งม้าเลี้ยง หรือสัตว์เลี้ยง ได้แก่ วัว แกะ แพะ สุกร หรือสัตว์ปีก ที่ประเทศสมาชิกฯ ออกหนังสือรับรองความสามารถ (certificate of competence) ตาม Regulation (EC) No 1/2005 มาตรา 17(2)
            • การขนส่งทางถนนที่ใช้สำหรับการเดินทางไกลและพาหนะบรรทุกปศุสัตว์ ที่ประเทศสมาชิกฯ ออกหนังสือรับรองอนุญาตตาม Regulation (EC) No 1/2005 มาตรา 18(1) และ 19(1)
            • ผู้ประกอบการที่อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการธุรกิจที่นำเข้าพืช สินค้าพืช และวัตถุอื่น ๆ มายังสหภาพยุโรป ที่ต้องมีหนังสือรับรองสุขอนามัยพืชประกอบตาม Regulation (EU) 2016/2031 มาตรา65(1) วรรคย่อยที่ 1 ข้อ (a)
            • สถานกักกันและสถานที่กักกันตาม Regulation (EU) 2016/2031 มาตรา 60 เพื่อดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับพืช สินค้าพืช และวัตถุอื่น ๆ ที่นำเข้ามายังสหภาพยุโรป จากประเทศที่สาม
          2. จุดติดต่อที่ระบุในวรรค 1 จะต้องปรากฏอยู่ในข้อมูล TRACES เกี่ยวกับบัญชีแต่ละรายการที่อ้างถึงในวรรคนั้น โดยใช้ข้อกำหนดทางเทคนิคในการจัดทำรูปแบบของบัญชีดังกล่าวที่กำหนดโดยคณะกรรมาธิการยุโรป
          3. คณะกรรมาธิการยุโรปจะช่วยเหลือประเทศสมาชิกฯ ในการจัดทำบัญชีรายชื่อตามวรรค 1 ข้อ (a) ถึงข้อ (f) เพื่อเผยแพร่แก่สาธารณะผ่านบนเว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการยุโรปหรือผ่านทาง TRACES
  2. ให้ยกเลิก Decision 97/152/EC
  3. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 30 มีนาคม 2564) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2564 เป็นต้นไป ยกเว้นในมาตรา 1(5) ว่าด้วย เครือข่ายการระบาด EUROPHYT อนุโลมให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32021R0547&from=EN