free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปแก้ไขค่าตกค้างสูงสุด (MLs) ของสารแคดเมี่ยมในอาหาร

สหภาพยุโรปแก้ไขค่าตกค้างสูงสุด (MLs) ของสารแคดเมี่ยมในอาหาร

Featured Image by Daria Shevtsova under Pexels license

คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2021/1323 ว่าด้วย การปรับแก้ Regulation (EC) No 1881/2006 ในการกำหนดค่าตกค้างสูงสุด (MLs) ของสารแคดเมี่ยม (cadmium) ในอาหาร ใน EU Official Journal L 288/13 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรแก้ไขค่าตกค้างสูงสุด (MLs) ของสารแคดเมี่ยมในอาหารบางรายการ เนื่องจากสารดังกล่าวเป็นพิษต่อไต (toxic) และเซลล์ท่อใกล้เคียง (proximal tubular cells) หากสะสมอาจก่อให้ไตทำงานบกพร่อง (renal dysfunction) ซึ่ง EFSA (European Food Safety Authority) ได้กำหนดค่าปนเปื้อนสูงสุดที่ร่างกายได้รับต่อสัปดาห์โดยไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ (Tolerable Weekly Intake : TWI) ที่ระดับ 2,5 ไมโครกรัม/กิโลกรัม อย่างไรก็ดี ยังคงพบว่าผู้บริโภคในสหภาพยุโรปมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารแคดเมี่ยมเกินกว่าค่า TWI ที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคมังสวิรัติ เด็ก คนสูบบุหรี่ (smokers) และบุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความปนเปื้อนสูง อาจได้รับค่า TWI ที่เกินกว่ากำหนดไว้ได้ถึง 2 เท่า จึงเห็นควรปรับลดค่า MLs ของสารแคดเมี่ยม โดยให้ครอบคลุมสินค้าอาหารกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้บริโภค (ทารกและเด็กเล็ก) ที่ระบุใน Regulation (EC) No 1881/2006 ภาคผนวก ข้อ 3.2 (แคดเมี่ยม) ดังนี้
    1. ผลไม้และนัทยืนต้น (tree nuts) หมวด 3.2.1 ที่ระดับ 0,020 – 0,30 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    2. รากและผักจำพวกหัว (tuber vegetables) หมวด 3.2.2 ที่ระดับ 0,020 – 0,20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    3. ผักจำพวกหัวที่เป็นกลีบ (bulb vegetables) หมวด 3.2.3 ที่ระดับ 0,030 – 0,050 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    4. ผักบริโภคผล (fruiting vegetables) หมวด 3.2.4 ที่ระดับ 0,020 – 0,030 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    5. ผักตระกูลกะหล่ำ (Brassica vegetables) หมวด 3.2.5 ที่ระดับ 0,040 – 0,10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    6. ผักใบและสมุนไพร หมวด 3.2.6 ที่ระดับ 0,10 – 0,20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    7. ผักตระกูลถั่ว (legume vegetables) หมวด 3.2.7 ที่ระดับ 0,020 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    8. ผักที่บริโภคลำต้น (stem vegetables) หมวด 3.2.8 ที่ระดับ 0,030 – 0,10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    9. เห็ด หมวด 3.2.9 ที่ระดับ 0,050 – 0,50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    10. ถั่วพัลส์และโปรตีนจากถั่วพัลส์ หมวด 3.2.10 ที่ระดับ 0,040 – 0,10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    11. เมล็ดพืชน้ำมัน หมวด 3.2.11 ที่ระดับ 0,10 – 1,20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    12. ธัญพืช หมวด 3.2.12 ที่ระดับ 0,050 – 0,20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    13. โกโก้เฉพาะและผลิตภัณฑ์ชอคโกแลต หมวด 3.2.13 ที่ระดับ 0,10 – 0,80 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    14. ผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ – สัตว์บก หมวด 3.2.14 ที่ระดับ 0,050 – 1,0 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    15. ผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ – ปลา ผลิตภัณฑ์ปลา และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลและน้ำจืด อื่นๆ หมวด 3.2.15 ที่ระดับ 0,050 – 1,0 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    16. นมสำหรับทารก นมสูตรต่อเนื่อง และอาหารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะทางการแพทย์สำหรับทารก และเด็กเล็ก และนมสำหรับเด็กเล็ก หมวด 3.2.16 ที่ระดับ 0,005 – 0,020 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    17. นมสำหรับเด็กเล็ก หมวด 3.2.17 ที่ระดับ 0,010 – 0,020 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    18. อาหารจากธัญพืชแปรรูปและอาหารทารกสำหรับทารกและเด็กเล็ก หมวด 3.2.18 ที่ระดับ 0,040 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    19. เครื่องดื่มสำหรับทารกและเด็กเล็กที่ติดฉลากและวางจำหน่ายเช่นนั้น หมวด 3.2.19 นอกเหนือไปจากที่ระบุในหมวด 3.2.16 และ 3.2.17 ที่ระดับ 0,020 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    20. อาหารเสริม หมวด 3.2.20 ที่ระดับ 1,0 – 3,0 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    21. เกลือ หมวด 3.2.21 ที่ระดับ 0,50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
  2. กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้สินค้าอาหารที่มีรายชื่อใน Commission Implementing Regulation (EU) 2021/1323 ภาคผนวก ที่วางจำหน่ายในตลาดก่อนวันที่ 31 สิงหาคม 2564 สามารถวางจำหน่ายได้ไป จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565
  3. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 11 สิงหาคม 2564) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32021R1323&from=EN