free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปแก้ไขค่าตกค้างสูงสุด (MLs) ของสารตะกั่วในอาหาร

สหภาพยุโรปแก้ไขค่าตกค้างสูงสุด (MLs) ของสารตะกั่วในอาหาร

Featured Image by Scott Warman on Unsplash

คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2021/1317 ว่าด้วย การปรับแก้ Regulation (EC) No 1881/2006 ในการกำหนดค่าตกค้างสูงสุด (MLs) ของสารตะกั่ว (lead) ในอาหาร ใน EU Official Journal L 286/1 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรแก้ไขค่าตกค้างสูงสุด (MLs) ของสารตะกั่วในอาหารบางรายการ เนื่องจากสารดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อการพัฒนาระบบประสาท (developmental neurotoxicity) ในเด็กเล็ก และปัญหาหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular) และความเป็นพิษต่อไต (nephrotoxicity) ในผู้ใหญ่ ตลอดจนเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐาน Codex ที่ได้มีการปรับลดค่า MLs ของสารตะกั่ว โดยให้ครอบคลุมสินค้าอาหารกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มผู้บริโภค (ทารกและเด็กเล็ก) ที่ระบุใน Regulation (EC) No 1881/2006 ภาคผนวก ข้อ 3.1 (ตะกั่ว) ดังนี้
    1. นมดิบ (raw milk) นมที่ผ่านความร้อน และนมสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์จากนม (milk-based products) ที่ระดับ 0,020 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    2. นมสำหรับทารก นมสูตรต่อเนื่อง และนมเด็กเล็ก
      • ชนิดผง: ที่ระดับ 0,020 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ชนิดเหลว: ที่ระดับ 0,010 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    3. อาหารที่ทำมาจากธัญพืชแปรรูปและอาหารเด็กทารกสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก นอกเหนือจากที่ระบุในข้อ 3.1.5 ที่ระดับ 0,020 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    4. อาหารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะทางการแพทย์สำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก
      • ชนิดผง: ที่ระดับ 0,020 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ชนิดเหลว: ชนิดเหลว
    5. เครื่องดื่มสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็กที่ติดฉลากและวางจำหน่ายเช่นนั้น นอกเหนือไปจากที่ระบุในข้อ 3.1.2 และ 3.1.4
      • ชนิดที่วางจำหน่ายในลักษณะเหลวหรือที่ผสมตามข้อแนะนำของผู้ผลิต รวมถึงน้ำผลไม้: ที่ระดับ 0,020 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ชนิดที่ถูกเตรียมโดยการชงหรือการต้ม: ที่ระดับ 0,50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    6. เนื้อสัตว์ (ยกเว้นเครื่องใน) ของวัว แกะ สุกร และสัตว์ปีก ที่ระดับ 0,10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    7. เครื่องใน (วัว แกะ สุกร สัตว์ปีก ปลา ปลาหมึก ครัสเตเชียน หอยสองฝา ที่ระดับ 0,10 – 1,50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    8. ธัญพืชและถั่วพัลส์ ที่ระดับ 0,20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    9. รากและผักจำพวกหัว (tuber vegetables) (ยกเว้นซัลซิไฟส์ ขิงสด และขมิ้นสด) ผักจำพวกหัวที่เป็นกลีบ (bulb vegetables) ผักกาดมีดอก ผักกาดหัว โคห์ลราบี ผักตระกูลถั่ว (legume vegetables) และผักที่บริโภคลำต้น (stem vegetables) ที่ระดับ 0,10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    10. ผักกะหล่ำใบ ซัลซิไฟส์ เห็ดทั่วไป (common mushroom) เห็ดนางรม (Oyster mushroom) เห็ดหอมชิตาเกะ (Shiitake mushroom) และผักใบเขียว (ยกเว้นสมุนไพรสด) ที่ระดับ 0,30 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    11. เห็ดป่า ขมิ้นสด และขิงสด ที่ระดับ 0,80 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    12. ผักบริโภคผล (fruiting vegetables)
      • ข้าวโพดหวาน: ที่ระดับ 0,10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • นอกเหนือจากข้าวโพดหวาน: ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    13. ผลไม้ (ยกเว้นแครนเบอร์รี เคอร์แรนท์ เอลเดอร์เบอร์รี และผลจากต้นสตรอว์เบอร์รี ที่ระดับ 0,10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    14. แครนเบอร์รี เคอร์แรนท์ เอลเดอร์เบอร์รี และผลจากต้นสตรอว์เบอร์รี ที่ระดับ 0,20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    15. ไขมัน และน้ำมัน รวมถึงไขมันนม ที่ระดับ 0,10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    16. น้ำผลไม้ น้ำผลไม้เข้มข้น และเนกต้าผลไม้
      • ที่ทำจากเบอร์รีและผลไม้ขนาดเล็กอื่นๆ: ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ที่ทำจากผลไม้ นอกเหนือจากเบอร์รีและผลไม้ขนาดเล็กอื่นๆ: ระดับ 0,03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    17. ไวน์ (รวมถึงสปาร์คกลิ้งไวน์ ยกเว้นไวน์ลิเคียวร์ ไซเดอร์ เพอร์รี และไวน์ผลไม้)
      • สินค้าที่ผลิตจากผลไม้ที่เก็บเกี่ยวตั้งแต่ปี 2544 – ปี 2558 ที่ระดับ 0,20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • สินค้าที่ผลิตจากผลไม้ที่เก็บเกี่ยวตั้งแต่ปี 2559 – ปี 2564 ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • สินค้าที่ผลิตจากผลไม้ที่เก็บเกี่ยวตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป ที่ระดับ 0,10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    18. ไวน์ปรุงแต่งด้วยสมุนไพร (aromatised wine) เครื่องดื่มที่ทำจากไวน์ปรุงแต่งด้วยสมุนไพร และสินค้าค็อกเทลจากไวน์ปรุงแต่งด้วยสมุนไพร
      • สินค้าที่ผลิตจากผลไม้ที่เก็บเกี่ยวตั้งแต่ปี 2544 – ปี 2558 ที่ระดับ 0,20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • สินค้าที่ผลิตจากผลไม้ที่เก็บเกี่ยวตั้งแต่ปี 2559 – ปี 2564 ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • สินค้าที่ผลิตจากผลไม้ที่เก็บเกี่ยวตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป ที่ระดับ 0,10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    19. ไวน์ลิเคียวร์ทำจากองุ่น
      • สินค้าที่ผลิตจากผลไม้ที่เก็บเกี่ยวตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    20. อาหารเสริม (food supplements) ที่ระดับ 3,0 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    21. น้ำผึ้ง ที่ระดับ 0,10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    22. สมุนไพรแห้ง
      • สมุนไพรจากผลไม้ (fruit spices) ที่ระดับ 0,60 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • สมุนไพรจากรากและเหง้า (root and rhizome spices) ที่ระดับ 1,50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • สมุนไพรจากเปลือกไม้ (bark spices) ที่ระดับ 2,0 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • สมุนไพรจากหน่อ (bud spices) และสมุนไพรจากเกสรเพศเมีย (flower pistil spices) ที่ระดับ 1,0 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • สมุนไพรจากเมล็ด (seed spices) ที่ระดับ 0,90 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    23. เกลือ ยกเว้นเกลือหยาบ (unrefined salts) ดอกเกลือ (fleur de sel) และเกลือสีเทา (grey salt) ที่เก็บด้วยมือจากบ่อเกลือ ที่ระดับ 1,0 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    24. เกลือหยาบ (unrefined salts) ดังต่อไปนี้ ดอกเกลือ (fleur de sel) และเกลือสีเทา (grey salt) ที่เก็บด้วยมือจากบ่อเกลือ ที่ระดับ 2,0 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
  2. กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้สินค้าอาหารที่มีรายชื่อใน Commission Implementing Regulation (EU) 2021/1317 ภาคผนวก ที่วางจำหน่ายในตลาดก่อนวันที่ 30 สิงหาคม 2564 สามารถวางจำหน่ายได้ไป จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565
  3. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2564) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32021R1317&from=EN