free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของยาปราบศัตรูพืชในสินค้าพืชและสัตว์

สหภาพยุโรปปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของยาปราบศัตรูพืชในสินค้าพืชและสัตว์

Featured Image by Th G under Pixabay license

คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Regulation (EU) 2020/1566 ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 4 รายการ ได้แก่สาร bupirimate สาร carfentrazone-ethyl สาร ethririmol และสาร pyriofenone ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal L 358/30 ดังนี้

  1. สาร bupirimate แยกชนิดสารพิษตกค้างที่กำหนดให้ตรวจ (residue definition) ของสาร bupirimate และสาร ethirimol ออกจากกัน เพื่อให้ครอบคลุมการตรวจหาเมตาบอไลต์ของสาร ethirimol จากการใช้สาร bupirimate ในสินค้าพืชต่าง ๆ และกำหนดให้ปรับเปลี่ยนชนิดสารพิษตกค้างที่กำหนดให้ตรวจในสินค้าสัตว์เป็น desethyl ethirimol และปรับลดค่า MRLs ในสินค้าต่าง ๆ ดังนี้
    • สตรอว์เบอร์รี ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • แบล็กเบอร์รี ที่ระดับ 0,7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • ดิวเบอร์รี ที่ระดับ 0,7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • เคอร์แรนท์ (ดำ แดง และขาว) ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • กูสเบอร์รี (เขียว แดง และเหลือง) ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • มะเขือเทศ ที่ระดับ 0,8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • พริกหวาน/พริกหยวก ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • ซูกินี ที่ระดับ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • สำหรับสินค้าอื่น ๆ คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 นอกจากนี้ เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในองุ่น/องุ่นทำไวน์ มะเขือ และสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค คณะกรรมาธิการยุโรปจึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
    • ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ
  2. สาร ethirimol (อนุพันธ์ (degradation product) ของสาร bupirimate) กำหนดให้ปรับลดค่า MRLs ในสินค้าต่าง ๆ ดังนี้
    • แอปเปิ้ล ที่ระดับ 0,06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • แพร์ ที่ระดับ 0,06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • เอพริคอต ที่ระดับ 0,04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • พีช ที่ระดับ 0,04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • แบล็กเบอร์รี ที่ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • ดิวเบอร์รี ที่ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • มะเขือเทศ ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • พริกหวาน/พริกหยวก ที่ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • แตงกวา 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • แตงกวาเกอคิน 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • ซูกินี 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • สำหรับสินค้าอื่น ๆ คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 นอกจากนี้ เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในองุ่น/องุ่นทำไวน์ มะเขือ และสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค คณะกรรมาธิการยุโรปจึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
    • ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ
  3. สาร carfentrazone-ethyl ปรับเปลี่ยนชนิดสารพิษตกค้างที่กำหนดให้ตรวจ (residue definition) และกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
  4. สาร pyriofenone คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
    • เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในสุกร (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) วัว (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) แกะ (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) แพะ (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) ม้า (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) และนม (วัว แกะ แพะ และม้า) ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค คณะกรรมาธิการยุโรปจึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
    • ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ
  5. ในกรณีที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์อารักขาพืชที่ไม่ได้รับอนุญาต ไม่ได้รับการอนุโลมภายใต้ข้อกำหนด Import Tolerances หรือไม่เป็นไปตาม Codex ให้ค่า MRLs ของสารนั้น ๆ ถูกกำหนดไว้ที่ระดับค่าต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์ได้ หรือที่ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตาม Regulation (EC) No 396/2005 มาตรา 18(1)(b)
  6. กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับสารทั้ง 4 รายการ ในสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรปหรือสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ก่อนวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 โดยให้สามารถใช้ค่า MRLs เดิม
  7. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2563) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/?uri=CELEX:32020R1566