คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Regulation (EU) 2021/1110 ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 6 รายการ ได้แก่สาร ametoctradin สาร bixafen สาร fenazaquin สาร spinetoram สาร tefluthrin และสาร thiencarbazone-methyl ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal L 239/4 ดังนี้
- สาร ametoctradin กำหนดให้ปรับลดค่า MRLs ในพริกหวาน/พริกหยวก ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- สำหรับสินค้าอื่น ๆ คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 นอกจากนี้ เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในต้นหอม หอมจีน หอมต้นเดี่ยว ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวไรย์ ข้าวสาลี ฮอปส์ สุกร (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) วัว (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ ไต และนม) แกะ (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ ไต และนม) แพะ (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ ไต และนม) ม้า (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ ไต และนม) สัตว์ปีก (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) และไข่นก ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค คณะกรรมาธิการยุโรปจึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
- ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ
- สาร bixafen กำหนดให้ปรับลดค่า MRLs ในสินค้าต่าง ๆ ดังนี้
- ลินซีด ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- เมล็ดมัสตาร์ด ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ข้าวบาร์เลย์ ที่ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ข้าวโอ๊ต ที่ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- สำหรับสินค้ารากบีทน้ำตาล แครอท เทอร์นิพ รากเซเลอรี ฮอร์สแรดิช อาร์ทิโชก พาสนิพ รากพาร์สลีย์ แรดิช ซัลซิฟาย หัวผักกาดสวีเดน เทอร์นิพ ชาสมุนไพรจากราก รากบีทน้ำตาล และรากชิโครี คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
- สาร fenazaquin กำหนดให้ปรับลดค่า MRLs ในสินค้าต่าง ๆ ดังนี้
- แตงกวา ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- เมลอน ที่ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- แตงโม ที่ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- สำหรับสินค้าอื่น ๆ คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้ปรับเพิ่มหรือคงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด
- นอกจากนี้ เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในผลไม้ตระกูลส้ม โพมฟรุ๊ต สตรอว์เบอร์รี มะเขือเทศ และชา ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค คณะกรรมาธิการยุโรปจึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
- ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ
- สาร spinetoram กำหนดให้ปรับแก้ชนิดสารพิษตกค้างที่กำหนดให้ตรวจ (residue definition) ของสาร spinetoram และกำหนดให้ปรับลดค่า MRLs ในสินค้าต่าง ๆ ดังนี้
- ส้ม ที่ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- แมนดาริน ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- พลัม ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ลิ้นจี่ ที่ระดับ 0,015 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- มะม่วง ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- มันฝรั่ง ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- หอมใหญ่ ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- มะเขือเทศ ที่ระดับ 0,06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- พริกหวาน/พริกหยวก ที่ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- มะเขือ ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- แตงกวา ที่ระดับ 0,06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- แตงกวาขนาดเล็ก ที่ระดับ 0,06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ซุกินี ที่ระดับ 0,06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- เมลอน ที่ระดับ 0,03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ฟักทอง ที่ระดับ 0,03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- แตงโม ที่ระดับ 0,03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ข้าวโพดหวาน ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- บรอกโคลี ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ดอกกะหล่ำ ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- กะหล่ำดาว ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- กะหล่ำหัว ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ผักกาดหอม ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ผักโขม ที่ระดับ 0,9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- ถั่ว (มีฝัก) ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- กระเทียมต้น ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- รากบีทน้ำตาล ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- สำหรับสินค้าอื่น ๆ คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 นอกจากนี้ เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในนัทยืนต้น โพมฟรุ๊ต เอพริคอต องุ่นรับประทาน/องุ่นทำไวน์ แบล็กเบอร์รี ดิวเบอร์รี แครนเบอร์รี กูสเบอร์รี (เขียว แดง และเหลือง) โรสฮิป มัลเบอร์รี (ดำ และขาว) อาเซโรล/เมดลาร์ เมดิเตอร์เรเนียน เอลเดอร์เบอร์รี มะกอกรับประทาน ถั่วเหลือง เมล็ดฝ้าย มะกอกผลิตน้ำมัน ข้าวโพด ข้าว วัว (ไขมัน ตับ และไต) ม้า (ไขมัน ตับ และไต) สัตว์ปีก (ไขมัน และตับ) และไข่นก ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค คณะกรรมาธิการยุโรปจึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
- ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ
- สาร tefluthrin กำหนดให้ปรับลดค่า MRLs ในสินค้าต่างๆ ดังนี้
- วิทลูฟ/เอนไดว์เบลเยียม ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- รากชิโครี ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
- สำหรับสินค้าอื่น ๆ คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 นอกจากนี้ เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในหัวขึ้นฉ่ายฝรั่ง แรดิช หัวผักกาดสวีเดน เทอร์นิพ มะเขือเทศ มะเขือ เมลอน แตงโม ข้าวโพดหวาน คอร์นสลัด เครสและต้นอ่อนและหน่ออื่นๆ แลนด์เครส ร็อกเก็ตโรมัน/รูโคลา มัสตาร์ทแดง พืชใบอ่อน (รวมถึงพืชตระกูลกะหล่ำ) ขึ้นฉ่าย เฟนเนลฟลอเรนท์ รูบาร์บ เมล็ดดอกทานตะวัน เรพซีด/เมล็ดคาโนลา ถั่วเหลือง เมล็ดฝ้าย ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด ข้าวฟ่างมิลเล็ต ข้าวโอ๊ต ข้าวไรย์ ซอร์กัม ข้าวสาลี สัตว์ปีก (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ ไต และเครื่องในบริโภคได้) และไข่นก ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค คณะกรรมาธิการยุโรปจึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
- ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ
- สาร thiencarbazone-methyl กำหนดค่า MRLs ที่ระดับ LOD หรือที่ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามมาตรา 12(1) และให้บรรจุใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก II
- ในกรณีที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์อารักขาพืชที่ไม่ได้รับอนุญาต ไม่ได้รับการอนุโลมภายใต้ข้อกำหนด Import Tolerances หรือไม่เป็นไปตาม Codex ให้ค่า MRLs ของสารนั้น ๆ ถูกกำหนดไว้ที่ระดับค่าต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์ได้ หรือที่ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตาม Regulation (EC) No 396/2005 มาตรา 18(1)(b)
- กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับสารทั้ง 6 รายการ ในสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรปหรือสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ก่อนวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 โดยให้สามารถใช้ค่า MRLs เดิม
- กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2564) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้
https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32021R1110&from=EN