free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของยาปราบศัตรูพืชในสินค้าพืชและสัตว์

สหภาพยุโรปปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของยาปราบศัตรูพืชในสินค้าพืชและสัตว์

Featured Image by Denniz Futalan under Pexels license

คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Regulation (EU) 2021/618 ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 4 รายการ ได้แก่ สาร diclofop สาร fluopyram สาร ipconazole และสาร terbuthylazine ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal L 131/55ดังนี้

  1. สาร diclofop
    1. ให้ปรับเปลี่ยนชนิดสารพิษตกค้างที่กำหนดให้ตรวจ (residue definition)
    2. เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในข้าวบาร์เลย์ และข้าวสาลี ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค จึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
  2. สาร fluopyram
    1. ปรับลดค่า MRLs ในสินค้าพืชดังนี้
      • มัลเบอร์รี (ดำและขาว) ระดับ 4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • อัลเดอร์เบอร์รี ระดับ 4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • รากมันสำปะหลัง ระดับ 0,06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • รากแอร์โรว์ ระดับ 0,06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • รากบีท ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • กระเทียม ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • หอมใหญ่ ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • หอมแดง ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • เชอร์วิล ระดับ 6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ต้นหอมฝรั่ง ระดับ 6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ใบขึ้นฉ่าย ระดับ 6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • พาร์สลีย์ ระดับ 6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • เสจ ระดับ 6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • โรสแมรรี ระดับ 6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ไธม์ ระดับ 6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ใบกระวาน/เบย์ลีฟ ระดับ 6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ทาร์รากอน ระดับ 6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • เลนทิล ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • บักวีต และธัญพืชเทียมอื่นๆ ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ชาจากรากสมุนไพร ระดับ 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    2. ปรับเพิ่มค่า MRLs หรือคงระดับค่า MRLs สำหรับสินค้าอื่น ๆ และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 ในสินค้าที่พบว่า มีความเสี่ยงในการปนเปื้อนของสารดังกล่าวในดิน อาทิ
      • รากมันสำปะหลัง ระดับ 0,06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • มันเทศ ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • มันแกว ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • รากแอร์โรว์ ระดับ 0,06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • รากอื่นๆ และรากผัก ยกเว้นรากบีท ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • รากชิโครี ระดับ 0,1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • บรอกโคลี ระดับ 0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • กระหล่ำดอก ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • กระหล่ำดาว ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • กระหล่ำหัว ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • เคล ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • กะหล่ำปม ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • สลัดน้ำ ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ชาจากรากสมุนไพร ระดับ 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • รากและเครื่องเทศที่เป็นเหง้า ระดับ 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • รากบีทน้ำตาล ระดับ 0,1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ข้าวโพดหวาน ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ข้าวโพด ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • บักวีต และธัญพืชเทียมอื่นๆ ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ข้าวฟ่าง (millet/proso millet) ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    3. เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในเลมอน ส้มแมนดาริน กล้วย ต้นหอม และหัวหอมเวลส์ มะเขือเทศ เมลอน เอสคาโรล/เอนไดว์ (escaroles/broad-leaved endives) แลนด์เครส มัสตาร์ดแดง ผักโขม ชาร์ด/ใบบีท อาร์ติโชค และกระเทียมต้นไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค จึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
    4. คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ
  3. สาร ipconazole
    • กำหนดให้คงค่าระดับ MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
  4. สาร terbuthylazine
    1. เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในข้าวโพดหวาน ลูพิน/ถั่วลูพิน เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฝ้าย วัว (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ ไต นม) และม้า (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ ไต นม) ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค จึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs ที่กำหนดโดย EFSA และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
    2. เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในข้าวโพดหวาน ลูพิน/ถั่วลูพิน เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฝ้าย วัว (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ ไต นม) และม้า (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ ไต นม) ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค จึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs ที่กำหนดโดย EFSA และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
    3. คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ
  5. ในกรณีที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์อารักขาพืชที่ไม่ได้รับอนุญาต ไม่ได้รับการอนุโลมภายใต้ข้อกำหนด Import Tolerances หรือไม่เป็นไปตาม Codex ให้ค่า MRLs ของสารนั้น ๆ ถูกกำหนดไว้ที่ระดับค่าต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์ได้ หรือที่ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตาม Regulation (EC) No 396/2005 มาตรา 18(1)(b)
  6. ในกรณีที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์อารักขาพืชที่ไม่ได้รับอนุญาต ไม่ได้รับการอนุโลมภายใต้ข้อกำหนด Import Tolerances หรือไม่เป็นไปตาม Codex ให้ค่า MRLs ของสารนั้น ๆ ถูกกำหนดไว้ที่ระดับค่าต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์ได้ หรือที่ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตาม Regulation (EC) No 396/2005 มาตรา 18(1)(b)
  7. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 16 เมษายน 2564) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้ https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32021R0618&from=EN