free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืชในสินค้าพืชและสัตว์

สหภาพยุโรปปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืชในสินค้าพืชและสัตว์

Featured Image by Guillaume Périgois on Unplash

คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Regulation (EU) 2021/644 ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 5 รายการ ได้แก่ สาร fluxapyroxad สาร hymexazol สาร metamitron สาร penflufen และสาร spirotetramat ในสินค้าพืช ใน EU Official Journal L 133/9 ดังนี้

  1. สาร fluxapyroxad
    1. กำหนดให้ปรับเพิ่มค่า MRLs หรือคงระดับค่า MRLs และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
    2. เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในผัก โดยเฉพาะจำพวกรากและหัว (root and tuber vegetables) ผักที่มีหัว (bulb vegetables) ผักวงศ์ผักกาด (brassica vegetables) ผักใบคาร์ดูน (cardoons) ขึ้นฉ่าย เฟนเนล อาร์ทิโชก กระเทียมต้น รูบาร์บ ถั่วพัลส์ ธัญพืช ชาสมุนไพรจากใบไม้และสมุนไพร ชาสมุนไพรจากรากและพืชน้ำตาล (sugar plants) ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค จึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
    3. คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ
    4. อนุโลมปรับเพิ่มค่า MRLs ของสาร fluxapyroxad ให้แก่สหรัฐอเมริกา ตาม Import Tolerances ในผักจำพวกรากและหัว (other root and tuber vegetables) ยกเว้นบีทน้ำตาล ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    5. อนุโลมปรับเพิ่มค่า MRLs ของสาร fluxapyroxad ให้แก่บราซิล ตาม Import Tolerances ในเมล็ดกาแฟ ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
  2. สาร hymexazol ปรับลดระดับค่า MRLs ในรากบีทน้ำตาล ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
  3. สาร metamitron
    1. ปรับลดระดับค่า MRLs และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 ในพืช ดังนี้
      • แอปเปิ้ล ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • แพร์ ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • รากบีท ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • แครอท ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ฮอร์สแรดิช (horseradish) ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • พาร์สนิป (parsnips) ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • รากพาร์สลีย์ (parsley roots/Hamburg roots parsley) ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • เทอร์นิพ (turnips) ที่ระดับ 0,01มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • หอมใหญ่ ที่ระดับ 0,01มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • รากบีทน้ำตาล ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    2. เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในสตรอว์เบอร์รี ร็อคเก็ต พืชใบเล็ก (รวมถึงผักวงศ์ผักกาด) ผักโขมและพืชใบคล้ายคลึง ชาสมุนไพรจากใบไม้และสมุนไพร ชาสมุนไพรจากราก เมล็ดเครื่องเทศและเครื่องเทศจากผลไม้ ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค จึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
    3. คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ
  4. สาร penflufen
    • ให้คงระดับค่า MRLs ในมันฝรั่ง ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
  5. สาร spirotetramat
    1. ให้ปรับเปลี่ยนชนิดสารพิษตกค้างที่กำหนดให้ตรวจ (residue definition)
    2. ปรับลดระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้
      • ผลไม้ตระกูลส้ม (citrus fruits) ที่ระดับ 0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ผลไม้ตระกูลโพมฟรุ๊ต (pome fruits) ที่ระดับ 0,7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • สตรอว์เบอร์รี ที่ระดับ 0,3มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • มะกอก ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • กีวี ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • อโวคาโด ที่ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • กล้วย ที่ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ทับทิม ที่ระดับ 0,4มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • สับปะรด ที่ระดับ 0,15มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ผักจำพวกรากและหัว (root and tuber vegetables) ยกเว้นบีทน้ำตาล ที่ระดับ 0,07 มิลลิกรัม /กิโลกรัม
      • กระเทียม ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • หอมแดง ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • พืชวงศ์ Solanaceae และ Malvaceae ที่ระดับ 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • เอนไดว์ (witloofs/Belgian endives) ที่ระดับ 0,03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • น้ำมันในการผลิตน้ำมัน ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • รากชิคโครี ที่ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    3. สำหรับสินค้าอื่น ๆ ให้ปรับเพิ่มค่า MRLs หรือคงระดับค่า MRLs และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
    4. เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในกระหล่ำดาวและโคลลาบี ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค จึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005
    5. อนุโลมปรับเพิ่มค่า MRLs ในผลไม้และเบอร์รีขนาดเล็กอื่นๆ ที่ระดับ ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    6. คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ
  6. ในกรณีที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์อารักขาพืชที่ไม่ได้รับอนุญาต ไม่ได้รับการอนุโลมภายใต้ข้อกำหนด Import Tolerances หรือไม่เป็นไปตาม Codex ให้ค่า MRLs ของสารนั้น ๆ ถูกกำหนดไว้ที่ระดับค่าต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์ได้ หรือที่ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตาม Regulation (EC) No 396/2005 มาตรา 18(1)(b)
  7. กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับสารทั้ง 5 รายการ ในสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรปหรือสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ก่อนวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 โดยให้สามารถใช้ค่า MRLs เดิม
  8. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 20 เมษายน 2564) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้ https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32021R0644&from=EN