free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับแก้ข้อกำหนดในการผลิตเมล็ดงอกและชิคโครี และการผลิตสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงอินทรีย์

สหภาพยุโรปปรับแก้ข้อกำหนดในการผลิตเมล็ดงอกและชิคโครี และการผลิตสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงอินทรีย์

Featured Image by Christian Lue on Unsplash

คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Delegated Regulation (EU) 2021/716 ว่าด้วย การปรับแก้ Regulation (EU) 2018/848 ภาคผนวก II ว่าด้วย ข้อกำหนดการผลิตอินทรีย์ของเมล็ดงอก ชิคโครี อาหารสำหรับสินค้าสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง และการรักษาปรสิตในสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง ใน EU Official Journal L 151/5 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ปรับข้อกำหนดในภาคผนวก 2 (Annex II) ของ Regulation (EU) 2018/848 ดังนี้
    1. เปลี่ยน Part I ข้อ 1.3 (ว่าด้วย กฎการผลิตพืช) ดังนี้
      • “1.3 การยกเว้นการปฏิบัติตามข้อกำหนด 1.1 ให้การอนุญาตในกรณีดังนี้
        • การผลิตเมล็ดงอก (sprouted seeds) รวมถึงถั่วงอก (sprouts) หน่อ (shoots) และเครส (cress) ที่อาศัย/มีชีวิตด้วยแหล่งอาหาร (nutritional reserves) ที่มีอยู่ในเมล็ดพันธุ์ โดยการทำให้ชุ่มในน้ำสะอาด ซึ่งเป็นเมล็ดอินทรีย์ โดยการเพาะปลูกห้ามใช้วัสดุปลูก (growing medium) ยกเว้นการใช้วัสดุปลูกที่ไม่มีสารอาหาร (inert medium) เพื่อทำให้เมล็ดมีความชื้นเท่านั้น โดยวัสดุปลูกนั้นต้องได้รับการอนุญาตตามมาตรา 24
        • การผลิตชิคโครี (chicory heads) รวมถึงการจุ่มลงในน้ำสะอาด จะต้องมีวัตถุสืบพันธุ์พืช (plant productive material) เป็นอินทรีย์ โดยวัสดุการเพาะปลูก (growing medium) จะต้องได้รับการอนุญาตตามมาตรา 24 ”
    2. เปลี่ยน Part III (ว่าด้วย กฎการผลิตสาหร่ายและสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง) ดังนี้
      1. ข้อ 3.1.3.4 (ว่าด้วย กฎเฉพาะของอาหารสัตว์สำหรับสัตว์น้ำเพาะเลี้ยงบางประเภท) ให้เพิ่มข้อความดังนี้
        • “ในช่วงระยะการเจริญเติบโตและในช่วงระยะแรกเริ่ม ณ สถานเพาะเลี้ยง กำหนดให้สามารถใช้คอเลสเตอรอลอินทรีย์ (organic cholesterol) เพื่อเป็นอาหารเสริมของกุ้งทะเล (Penaeid shrimps) และกุ้งน้ำจืด (Macrobrachium spp.) เพื่อรักษาความต้องการอาหารเชิงปริมาณได้”
      2. เปลี่ยนข้อ 3.1.4.2 ข้อ (e) (ว่าด้วย การรักษาสัตว์ (veterinary treatment)) ดังนี้
        • “(e) การรักษาปรสิต นอกเหนือจากแผนการควบคุมภาคบังคับที่ดำเนินการโดยประเทศสมาชิกฯ จะถูกจำกัดดังนี้
          • (i) สำหรับปลาแซลมอน สามารถรักษาได้สูงสุด 2 ครั้ง/ปี หรือ 1 ครั้ง/ปี หากรอบการผลิตน้อยกว่า 18 เดือน
          • (ii) สำหรับทุกสายพันธุ์ที่ไม่ใช่ปลาแซลมอน ให้สามารถทำการรักษาได้ 2 ครั้ง/ปี หรือการรักษา 1 ครั้ง/ปี หากรอบการผลิตน้อยกว่า 12 เดือน
          • (iii) สำหรับทุกสายพันธุ์ ให้ทำการรักษาโดยรวมไม่เกิน 4 ครั้ง โดยไม่คำนึงถึงระยะเวลาของวงจรการผลิตของสายพันธุ์นั้น ๆ”
  2. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบฯ สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้ https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32021R0716&from=EN