คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Delegated Regulation (EU) 2020/1794 ว่าด้วยการปรับแก้ Regulation (EU) 2018/848 Part I ภาคผนวก II ว่าด้วย การใช้วัสดุขยายพันธุ์พืช (plant reproduction material) ที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยน (in-conversion) และที่ไม่ใช่อินทรีย์ (non-organic) ใน EU Official Journal L 402/23 โดยมีรายละเอียดดังนี้
- คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับข้อกำหนดใน Part I ภาคผนวก 2 (Annex II) ของ Regulation (EU) 2018/848 ดังนี้
- ให้เปลี่ยนข้อ 1.8.5.1 ถึง 1.8.5.5 ดังนี้
- “1.8.5.1. การยกเว้นการปฏิบัติตามข้อกำหนด 1.8.1 ในกรณีที่มีการรวบรวมข้อมูลในฐานข้อมูลตามมาตรา 26(1) หรือระบบตามมาตรา 26(2)(a) แสดงผลว่า วัสดุขยายพันธุ์พืชอินทรีย์ที่เกี่ยวข้องไม่ตรงตามความต้องการด้านเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ กำหนดให้ผู้ประกอบการสามารถใช้วัสดุขยายพันธุ์พืชที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนตามมาตรา 10(4) ข้อย่อยที่ 2(a) ได้ ในกรณีที่วัสดุขยายพันธุ์พืชอินทรีย์และที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนไม่มีคุณภาพหรือปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักสามารถอนุญาตให้ใช้วัสดุขยายพันธุ์พืชที่ไม่ใช่อินทรีย์ได้ตาม 1.8.5.3 ถึง 1.8.5.7
- การอนุญาตแต่ละครั้งจะต้องกระทำในสถานการณ์ต่อไปนี้เท่านั้น
- ในกรณีที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนสายพันธุ์ตามที่ผู้ประกอบการต้องการในฐานข้อมูลที่อ้างถึงตามมาตรา 26(1) หรือระบบที่อ้างถึงตามมาตรา 26(2)(a)
- ในกรณีที่ผู้จำหน่ายวัสดุขยายพันธุ์พืชไม่สามารถส่งมอบวัสดุขยายพันธุ์พืชอินทรีย์หรือที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนได้ทันต่อช่วงเวลาการหว่านหรือเพาะปลูก ซึ่งผู้ประกอบการได้มีการสั่งซื้อวัสดุขยายพันธุ์พืชในช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้ว เพื่อให้ผู้จำหน่ายสามารถเตรียมการและจัดหาวัสดุขยายพันธุ์พืชดังกล่าวได้ทันเวลา
- ในกรณีที่สายพันธุ์ที่ผู้ประกอบการต้องการไม่มีการขึ้นทะเบียนเป็นวัสดุขยายพันธุ์พืชอินทรีย์หรือที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนในฐานข้อมูลที่อ้างถึงตามมาตรา 26(1) หรือระบบที่อ้างถึงตามมาตรา 26(2)(a) และผู้ประกอบการสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า วัสดุขยายพันธุ์พืชอื่น ๆ ที่อยู่ในสายพันธุ์เดียวกัน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน ไม่มีความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสภาพทางพืชไร่และสภาพภูมิอากาศ (agronomic and pedo-climatic conditions)และคุณสมบัติทางเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการผลิตที่จะได้รับ ซึ่งส่งผลให้การอนุญาตการขึ้นทะเบียนวัสดุขยายพันธุ์พืชฯ มีความสำคัญต่อการผลิตของผู้ประกอบการดังกล่าว
- ในกรณีที่ใช้ในงานวิจัย (การทดลองภาคสนามขนาดเล็ก) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลาย หรือเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และได้รับการเห็นชอบจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศสมาชิกฯ ที่เกี่ยวข้อง ก่อนการขออนุญาต ผู้ประกอบการต้องศึกษาฐานข้อมูลที่อ้างถึงตามมาตรา 26(1) หรือระบบที่อ้างถึงตามมาตรา 26(2)(a) เพื่อตรวจสอบ/ยืนยันว่า วัสดุขยายพันธุ์พืชอินทรีย์หรือที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนที่เกี่ยวข้องมีอยู่หรือไม่ และคำร้องของตนมีความสมเหตุสมผลแล้วหรือไม่
- การอนุญาตแต่ละครั้งจะต้องกระทำในสถานการณ์ต่อไปนี้เท่านั้น
- ในกรณีที่เป็นไปตามมาตรา 6(i) ผู้ประกอบการสามารถใช้ทั้งวัสดุขยายพันธุ์พืชอินทรีย์หรือที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนที่อยู่ในพื้นที่ของตนได้ โดยไม่ต้องพิจารณาถึงเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณตามฐานข้อมูลที่อ้างถึงตามมาตรา 26(1) หรือระบบที่อ้างถึงตามมาตรา 26(2)(a)
- 1.8.5.2 การยกเว้นการปฏิบัติตาม 1.8.1 กำหนดให้ผู้ประกอบการในประเทศที่สามสามารถใช้วัสดุขยายพันธุ์พืชที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนตามมาตรา 10(4) ข้อย่อยที่ 2(a) ในกรณีที่วัสดุขยายพันธุ์พืชอินทรีย์ไม่มีคุณภาพหรือปริมาณไม่เพียงพอในประเทศที่สามที่ผู้ประกอบการตั้งอยู่โดยไม่เป็นการตัดสิทธิใด ๆ ต่อกฎระเบียบแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการในประเทศที่สามสามารถใช้ได้ทั้งวัสดุขยายพันธุ์พืชอินทรีย์หรือที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนที่อยู่ในพื้นที่ของตนได้
- หน่วยงานควบคุมภาครัฐต่าง ๆ (control authorities) หรือหน่วยงานควบคุมภาคเอกชน (control bodies) ที่ได้รับการรับรองตามมาตรา 46(1) สามารถอนุญาตให้ผู้ประกอบการในประเทศที่สามใช้วัสดุขยายพันธุ์พืชที่ไม่ใช่อินทรีย์ในพื้นที่การผลิตสินค้าอินทรีย์ได้ ในกรณีที่วัสดุขยายพันธุ์พืชอินทรีย์หรือที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยน ไม่มีคุณภาพหรือปริมาณที่เพียงพอในประเทศที่สามที่ผู้ประกอบการตั้งอยู่ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดในข้อ 1.8.5.3, 1.8.5.4 และ 1.8.5.5
- 1.8.5.3 วัสดุขยายพันธุ์พืชที่ไม่ใช่อินทรีย์จะต้องไม่ถูกบำบัดด้วยผลิตภัณฑ์ขารักขาพืชหลังการเก็บเกี่ยว นอกเหนือไปจากผลิตภัณฑ์ขารักขาพืชที่ได้รับอนุญาตให้ใช้กับวัสดุขยายพันธุ์พืชตามมาตรา 24(1) ของกฎระเบียบนี้ เว้นแต่การบำบัดทางเคมีที่ระบุใน Regulation (EU) 2016/2031 ของหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศสมาชิกฯ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับพันธุ์และวัสดุที่แตกต่างกันของพันธุ์ทั้งหมด (all varieties and heterogeneous material) ที่กำหนดในพื้นที่ที่จะใช้วัสดุขยายพันธุ์พืชนั้น ในกรณีที่วัสดุขยายพันธุ์พืชที่ไม่ใช่อินทรีย์ได้รับการบำบัดทางเคมีตามข้อ 1 พัสดุ (parcel) ที่ใช้ปลูกวัสดุขยายพันธุ์พืชนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ช่วงเวลาปรับเปลี่ยน (conversion period) ตาม 1.7.3 และ 1.7.4
- 1.8.5.4 การอนุญาตให้ใช้วัสดุขยายพันธุ์พืชที่ไม่ใช่อินทรีย์จะต้องได้รับก่อนการหว่านหรือการเพาะปลูกพืช
- 1.8.5.5 การอนุญาตให้ใช้วัสดุขยายพันธุ์พืชที่ไม่ใช่อินทรีย์จะต้องได้รับการอนุญาตเป็นรายบุคคลต่อหนึ่งฤดูกาลในแต่ละครั้ง และหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก หน่วยงานควบคุมภาครัฐต่าง ๆ (control authorities) หรือหน่วยงานควบคุมภาคเอกชน (control bodies) ที่เป็นผู้รับผิดชอบต่อการอนุญาตจะต้องบันทึกปริมาณวัสดุขยายพันธุ์พืชที่ได้มีการอนุญาต”
- “1.8.5.1. การยกเว้นการปฏิบัติตามข้อกำหนด 1.8.1 ในกรณีที่มีการรวบรวมข้อมูลในฐานข้อมูลตามมาตรา 26(1) หรือระบบตามมาตรา 26(2)(a) แสดงผลว่า วัสดุขยายพันธุ์พืชอินทรีย์ที่เกี่ยวข้องไม่ตรงตามความต้องการด้านเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ กำหนดให้ผู้ประกอบการสามารถใช้วัสดุขยายพันธุ์พืชที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนตามมาตรา 10(4) ข้อย่อยที่ 2(a) ได้ ในกรณีที่วัสดุขยายพันธุ์พืชอินทรีย์และที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนไม่มีคุณภาพหรือปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักสามารถอนุญาตให้ใช้วัสดุขยายพันธุ์พืชที่ไม่ใช่อินทรีย์ได้ตาม 1.8.5.3 ถึง 1.8.5.7
- ให้เพิ่มข้อ 1.8.5.6 และ 1.8.5.7 ดังนี้
- “1.8.5.6 หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศสมาชิกฯ จะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อ (official list) ชนิดพันธุ์ พันธุ์ย่อย หรือสายพันธุ์ ที่มีการกำหนดว่า วัสดุขยายพันธุ์พืชอินทรีย์หรือที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนมีอยู่มีปริมาณที่เพียงพอ และเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมในพื้นที่ของตน นอกจากนี้ กำหนดให้ห้ามทำการอนุญาตพันธุ์ พันธุ์ย่อย หรือสายพันธุ์ ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าวในพื้นที่ของประเทศสมาชิกฯ ที่เกี่ยวข้องตามข้อ 1.8.5.1 เว้นแต่มีเหตุจำเป็นตามหนึ่งในข้อกำหนดที่อ้างถึงตาม 1.8.5.1(d) หากปรากฎว่าปริมาณหรือคุณภาพของวัสดุขยายพันธุ์พืชอินทรีย์หรือที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนสำหรับชนิดพันธุ์ พันธุ์ย่อย หรือสายพันธุ์ ในบัญชีรายชื่อมีไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสม ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศสมาชิกฯ สามารถถอดถอนชื่อชนิดพันธุ์ พันธุ์ย่อย หรือสายพันธุ์ ออกจากบัญชีรายชื่อได้
- หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศสมาชิกฯ จะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อให้เป็นปัจจุบันเป็นประจำทุกปี และเผยแพร่บัญชีรายชื่อดังกล่าวต่อสาธารณะภายในวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี และสำหรับครั้งแรกภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศสมาชิกฯ จะต้องแจ้งลิ้งค์อินเตอร์เน็ตบัญชีรายชื่อที่เป็นปัจจุบันที่เผยแพร่ต่อสาธารณะให้คณะกรรมาธิการยุโรปและประเทศสมาชิกฯ อื่น ๆ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปจะประกาศลิ้งค์บัญชีรายชื่อของประเทศสมาชิกฯ บนเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องต่อไป
- 1.8.5.7 การยกเว้นการปฏิบัติตาม 1.8.5.5 หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศสมาชิกฯ สามารถให้การอนุญาตทั่วไป (general autorisation) แก่ผู้ประกอบการทุกรายที่เกี่ยวข้องสำหรับการใช้
- พันธุ์หรือพันธุ์ย่อยที่กำหนดที่ไม่มีการขึ้นทะเบียนสายพันธุ์ไว้ในฐานข้อมูลที่อ้างถึงตามมาตรา 26(1) หรือระบบที่อ้างถึงตามมาตรา 26(2)(a)
- สำหรับสายพันธุ์ที่กำหนดที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุใน 1.8.5.1(c)
- ในกรณีที่มีการใช้การอนุญาตทั่วไป ผู้ประกอบการจะต้องบันทึกปริมาณที่ใช้ และหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักที่ทำการอนุญาตจะต้องบันทึกปริมาณของวัสดุขยายพันธุ์พืชที่ไม่ใช่อินทรีย์ที่ได้รับการอนุญาต
- หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศสมาชิกฯ จะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อชนิดพันธุ์ พันธุ์ย่อย หรือสายพันธุ์ ที่มีการให้การอนุญาตทั่วไปให้เป็นปัจจุบันเป็นประจำทุกปี และเผยแพร่บัญชีรายชื่อดังกล่าวต่อสาธารณะ
- ภายในวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี และสำหรับครั้งแรกภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศสมาชิกฯ จะต้องแจ้งลิ้งค์อินเตอร์เน็ตบัญชีรายชื่อที่เป็นปัจจุบันที่เผยแพร่ต่อสาธารณะให้คณะกรรมาธิการยุโรปและประเทศสมาชิกฯ อื่น ๆ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปจะประกาศลิ้งค์บัญชีรายชื่อของประเทศสมาชิกฯ บนเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องต่อไป
- ให้เปลี่ยนข้อ 1.8.5.1 ถึง 1.8.5.5 ดังนี้
- กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบฯ สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้ https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32020R1794&from=EN