คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2021/384 ว่าด้วยการปรับข้อกำหนดด้านความเหมาะสมของชื่อพันธุ์พืชเกษตรและพันธุ์พืชผัก โดยเป็นการปรับแก้ Commission Regulation (EC) No 637/2009 ใน EU Official Journal L 74/27 โดยมีรายละเอียดดังนี้
- วัตถุประสงค์ (มาตรา 1)
- กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการปรับใช้เกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน Regulation (EC) No 2100/94 มาตรา 63 เกี่ยวกับความเหมาะสมของชื่อ (denominations) พันธุ์พืชทางการเกษตรและพันธุ์พืชผัก เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวรรคแรกของมาตรา 9(6) Directive 2002/53/EC และของวรรคแรกของมาตรา 9(6) Directive 2002/55/EC
- ความเหมาะสมของชื่อพันธุ์ (มาตรา 2)
- ชื่อพันธุ์จะต้องมีความเหมาะสม (หากไม่มีอุปสรรคเกี่ยวกับการตั้งชื่อนั้น ๆ)
- มีอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการตั้งชื่อพันธุ์ ในกรณีดังนี้
- มีการคัดค้านจากบุคคลที่สามที่ได้รับสิทธิ (prior right) โดยไม่เห็นด้วยกับการใช้ชื่อพันธุ์ดังกล่าวในสหภาพยุโรปตามมาตรา 3(1)
- ชื่อพันธุ์มีความขัดแย้งกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ การกำหนดแหล่งกำเนิด หรืออาหารพิเศษดั้งเดิมที่ได้รับการรับรองตามมาตรา 3(2)
- ชื่อพันธุ์อาจทำให้ผู้ใช้เกิดปัญหาในเรื่องการรับรู้ (recognition) หรือการทำให้เกิดขึ้นใหม่ (reproduction) ตามมาตรา 4
- ชื่อพันธุ์มีความเหมือน (identical) หรือสร้างความสับสนต่อชื่อพันธุ์อื่น ๆ (1) ที่มีสายพันธุ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกันและได้มีการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช หรือ (2) ที่มีการทำการตลาดของวัสดุตามมาตรา 5
- ชื่อพันธุ์อาจทำให้เกิดความสับสน เนื่องจากความคล้ายคลึงกันจากการมองเห็นด้วยตา การออกเสียง หรือแนวความคิด (concept) ต่อชื่อพันธุ์ที่มีสายพันธุ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกันตามมาตรา 5
- ชื่อพันธุ์มีความเหมือนหรืออาจสร้างความสับสนกับชื่อที่ใช้กันทั่วไปสำหรับการจำหน่ายในตลาดหรือที่ต้องเก็บไว้เป็นอิสระภายใต้กฎระเบียบอื่น ๆ ตามมาตรา 6
- ชื่อพันธุ์มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือความสับสนตามมาตรา 7
- สิทธิ (prior right) ของบุคคลที่สาม (มาตรา 3)
- มีอุปสรรคที่เกิดจากการใช้สิทธิของบุคคลที่สาม (ซึ่งเป็นผู้ถือเครื่องหมายการค้า (trademark)) ต่อการตั้งชื่อพันธุ์ในสหภาพยุโรป และได้รับการรับรองโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจหลัก โดยอุปสรรคดังกล่าวเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าที่
- มีการจดทะเบียนในประเทศสมาชิกฯ อย่างน้อยหนึ่งประเทศ หรือในสหภาพยุโรป ก่อนการขึ้นทะเบียนชื่อพันธุ์
- ประกอบไปด้วยการเปรียบเทียบหรือการเปรียบเทียบขั้นสูงสุด
- มีการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่มีส่วนประกอบของสายพันธุ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกับพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
- ในกรณีของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ การกำหนดแหล่งกำเนิด หรืออาหารพิเศษดั้งเดิมที่ได้รับการรับรองสำหรับสินค้าเกษตรและอาหาร สุรา (spirit) ไวน์อะโรมาติก และผลิตภัณฑ์ไวน์เป็นสิทธิของบุคคลที่สาม ชื่อพันธุ์ในสหภาพยุโรปจะไม่สามารถกระทำได้ หากพบว่าการตั้งชื่อนั้น ๆ เป็นการละเมิดต่อ
- Regulation (EU) No 1151/2012 มาตรา 13 หรือ 24
- Regulation (EU) No 1308/2013 มาตรา 103
- Regulation (EU) No 251/2014 มาตรา 20
- Regulation (EU) 2019/787 มาตรา 21(2)
- อุปสรรคต่อความเหมาะสมของการตั้งชื่อ ที่เกิดจากการใช้สิทธิตามมาตรา ๓(1) จะสิ้นสุดลงต่อเมื่อได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ถือสิทธิ ในการใช้ชื่อพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง โดยการยินยอมดังกล่าวจะไม่ส่งผลให้สาธารณมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับแหล่งที่มาที่แท้จริงของสินค้า
- ในกรณีสิทธิ (prior right) ของผู้ยื่นคำร้อง ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งชื่อพันธุ์ที่เสนอทั้งหมดหรือบางส่วนให้ปรับใช้ Regulation (EC) No 2100/94 มาตรา 18(1) โดยอนุโลม
- มีอุปสรรคที่เกิดจากการใช้สิทธิของบุคคลที่สาม (ซึ่งเป็นผู้ถือเครื่องหมายการค้า (trademark)) ต่อการตั้งชื่อพันธุ์ในสหภาพยุโรป และได้รับการรับรองโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจหลัก โดยอุปสรรคดังกล่าวเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าที่
- ความยากเกี่ยวกับการรับรู้ (recognition) หรือการทำให้เกิดขึ้นใหม่ (reproduction) ของชื่อพันธุ์ (มาตรา 4)
- ประกอบไปด้วยการเพาะพันธุ์และคำศัพท์ทางเทคนิค เว้นแต่มีการใช้ร่วมกับคำศัพท์อื่น ๆ ที่ไม่ขัดขวางการรับรู้ของชื่อดังกล่าว
- ให้ถือว่าชื่อพันธุ์เป็นการทำให้ผู้ใช้เกิดปัญหาในเรื่องการรับรู้หรือการทำให้เกิดขึ้นใหม่ ตามกรณีดังนี้
- ประกอบไปด้วยการเปรียบเทียบหรือการเปรียบเทียบขั้นสูงสุด
- ประกอบไปด้วยชื่อทางพฤกษศาสตร์ของสายพันธุ์ในกลุ่มของพันธุ์พืชทางการเกษตรหรือพืชผัก
- ประกอบไปด้วยการเพาะพันธุ์และคำศัพท์ทางเทคนิค เว้นแต่มีการใช้ร่วมกับคำศัพท์อื่น ๆ ที่ไม่ขัดขวางการรับรู้ของชื่อดังกล่าว
- ประกอบไปด้วยการเพาะพันธุ์และคำศัพท์ทางเทคนิค เว้นแต่มีการใช้ร่วมกับคำศัพท์อื่น ๆ ที่ไม่ขัดขวางการรับรู้ของชื่อดังกล่าว
- ประกอบไปด้วยตัวอักษรเดี่ยว หรือตัวเลขเดี่ยว หรือมีแต่ตัวเลขเท่านั้น เว้นแต่จะแสดงถึงแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้สำหรับการกำหนดพันธุ์บางชนิด
- ประกอบไปด้วยคำหรือองค์ประกอบมากเกินไป เว้นแต่การเรียงถ้อยคำจะทำให้รับรู้ได้ง่าย
- ประกอบไปด้วยเครื่องหมายวรรคตอนหรือสัญลักษณ์อื่น ตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก (ยกเว้นตัวอักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และที่เหลือเป็นตัวพิมพ์เล็ก) เครื่องหมายบ่งชี้ เครื่องหมายยกกำลัง รูปภาพ หรือองค์ประกอบที่เป็นรูปร่าง (ยกเว้นเครื่องหมาย (‘), เครื่องหมาย (,), เครื่องหมาย (!), เครื่องหมาย (.) หรือเครื่องหมาย (-), เครื่องหมาย (/) หรือเครื่องหมาย ()
- ประกอบไปด้วยเครื่องหมายบ่งชี้ เครื่องหมายยกกำลัง หรือรูปภาพ โลโก้ หรือองค์ประกอบที่เป็นรูปร่าง
- การตั้งชื่อที่เหมือนกันหรือก่อให้เกิดความสับสนต่อชื่อพันธุ์อื่น (มาตรา 5)
- มีอุปสรรคในการกำหนดชื่อพันธุ์ที่เหมือนกันหรืออาจก่อให้เกิดความสับสนกับ
- ชื่อพันธุ์ โดยที่มีพันธุ์หนึ่งที่เป็นสายพันธุ์เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน และมีการขึ้นทะเบียน หรือ
- ชื่อพันธุ์ โดยที่วัสดุของพันธุ์หนึ่งมีการวางตลาดในประเทศสมาชิกหรือในประเทศภาคีภายใต้สัญญาของสหภาพนานาชาติเพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV) เว้นแต่พันธุ์อื่น ๆ จะไม่มีอยู่อีกต่อไป และชื่อพันธุ์ไม่ได้มีความสำคัญเป็นพิเศษ
- เพื่อให้สามารถระบุได้ว่ามีความสับสนสำหรับวัตถุประสงค์ของข้อ 1 หรือไม่ หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักจะต้องวิเคราะห์แต่ละมิติด้านรูปลักษณ์ การออกเสียง และแนวคิด รวมทั้งทำการประเมินโดยรวม โดยพิจารณาถึงชื่อสายพันธุ์เดียวกันหรือที่ใกล้เคียง ซึ่งพันธุ์ตามมาตรา ๕(1) อยู่ภายใต้สิทธิพันธุ์พืช หรือการยื่นคำร้อง หรือได้รับการยอมรับในการวางจำหน่ายในเขตแดนใดเขตแดนหนึ่งดังนี้
- สหภาพยุโรป
- เขตเศรษฐกิจยุโรป
- คู่ภาคีของสัญญา UPOV
- สมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)
- สำหรับวัตถุประสงค์ของมาตรา ๕ ให้ใช้คำจำกัดความดังนี้
- “สายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด” หมายถึงสายพันธุ์ที่ระบุไว้ในภาคผนวก
- “ทะเบียนพันธุ์พืช” หมายถึงรายการพันธุ์พืชเกษตรทั่วไปตามมาตรา 17 ของ Directive 2002/ 53/EC หรือ Directive 2002/55/EC มาตรา 17 หรือ OECD Variety List หรือทะเบียนพันธุ์พืชของสมาชิก UPOV
- “พันธุ์พืชไม่มีอยู่อีกต่อไป” หมายถึงวัสดุพันธุ์พืชไม่มีอยู่อีกต่อไป
- “ชื่อที่ไม่ได้รับความสำคัญเป็นพิเศษ” หมายถึงสถานการณ์ที่ชื่อของพันธุ์ที่ได้รับการลงทะเบียนของพันธุ์นั้น ๆ ได้สูญเสียความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากการหมดอายุเวลา 10 ปี หลังจากการลบออกจากทะเบียนนั้น ๆ เว้นแต่จะมีสถานการณ์พิเศษ
- มีอุปสรรคในการกำหนดชื่อพันธุ์ที่เหมือนกันหรืออาจก่อให้เกิดความสับสนกับ
- ชื่อที่ใช้กันทั่วไปสำหรับการตลาด (มาตรา 6)
- มีอุปสรรคในการกำหนดชื่อพันธุ์ ในกรณีที่ชื่อพันธุ์มีความเหมือนกันหรือสร้างความสับสนต่อการตั้งชื่อที่ใช้สำหรับการตลาดหรือที่ต้องเก็บไว้เป็นอิสระภายใต้กฎระเบียบอื่น ๆ
- การกำหนดชื่อที่ใช้สำหรับการตลาดหรือที่ต้องเก็บไว้เป็นอิสระภายใต้กฎระเบียบอื่น ๆ จะต้องเป็น
- สกุลเงิน
- เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักและมาตรการ
- สำนวนและคำศัพท์ที่ห้ามใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ นอกเหนือจากที่กำหนดโดยกฎระเบียบของสหภาพยุโรปหรือของประเทศสมาชิกฯ
- เนื้อหาที่ทำให้เข้าใจผิด (มาตรา 7)
- มีอุปสรรคในการกำหนดชื่อพันธุ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือสร้างความสับสนเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณค่าหรือเอกลักษณ์ของพันธุ์ หรือผู้ที่เป็นคนเพาะพันธุ์หรือบุคคลอื่นใดที่อยู่ในกระบวนการ
- ให้ถือว่าชื่อพันธุ์มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือสร้างความสับสน ตามกรณีดังนี้
- ให้ถือว่าชื่อพันธุ์มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือสร้างความสับสน ตามกรณีดังนี้
- บ่งบอกถึงความรู้สึกที่ผิด ๆ ว่า พันธุ์นั้นมีคุณลักษณะหรือคุณค่าเฉพาะ
- อ้างถึงคุณลักษณะหรือคุณค่าเฉพาะในลักษณะที่บ่งบอกถึงความรู้สึกที่ผิด ๆ ว่ามีเพียงพันธุ์นี้พันธุ์เดียวเท่านั้นที่มีคุณลักษณะหรือคุณค่าเฉพาะ ในขณะที่พันธุ์อื่น ๆ ในสายพันธุ์เดียวกัน ก็มีคุณลักษณะหรือคุณค่าเช่นเดียวกัน
- มีความคล้ายกับชื่อทางการค้าที่เป็นที่รู้จัก นอกเหนือจากเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนหรือชื่อพันธุ์
- แสดงให้เห็นว่า เป็นอีกพันธุ์หนึ่ง
- สื่อถึงความรู้สึกที่ผิด ๆ เกี่ยวกับตัวตนของผู้ยื่นคำร้อง ผู้รับผิดชอบในการดูแลรักษาพันธุ์หรือผู้เพาะพันธุ์
- ประกอบไปด้วยหรือมีองค์ประกอบ ดังนี้
- การเปรียบเทียบหรือการเปรียบเทียบขั้นสูงสุด ซึ่งอาจเป็นการหลอกลวงเกี่ยวกับคุณลักษณะของพันธุ์
- ชื่อทางพฤกษศาสตร์หรือชื่อสามัญของสายพันธุ์ ภายในกลุ่มของพันธุ์พืชทางการเกษตรหรือพืชผักของพันธุ์ดังกล่าว
- ชื่อของบุคคลธรรมดาหรือบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งแสดงความรู้สึกที่ผิด ๆ เกี่ยวกับตัวตนของผู้ยื่นคำร้อง ผู้รับผิดชอบในการดูแลรักษาพันธุ์หรือผู้เพาะพันธุ์
- รวมถึงชื่อทางภูมิศาสตร์ที่มีแนวโน้มที่จะหลอกลวงผู้ใช้เกี่ยวกับคุณลักษณะหรือคุณค่าสำหรับการเพาะปลูกและการใช้พันธุ์
- ภาคผนวกที่เกี่ยวข้อง (Annex)
- ภาคผนวก ว่าด้วย คำจำกัดความของพันธุ์ที่ใกล้เคียงตามมาตรา 5(3)
- ยกเลิก Regulation (EC) No 637/2009
- อนุโลมให้ใช้ Regulation (EC) No 637/2009 ต่อไป สำหรับคำร้องของการตั้งชื่อพันธุ์ที่ยื่นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2565 (มาตรา 8)
- กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป (มาตรา 9) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้ https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32021R0384&from=EN