คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2021/279 ว่าด้วย ข้อกำหนดในการบังคับใช้ Regulation (EU) 2018/848 ว่าด้วย กฎระเบียบอินทรีย์ (ฉบับใหม่) ด้านการควบคุมและมาตรการอื่น ๆ เพื่อรับรองการตรวจสอบย้อนกลับ การผลิต และการติดฉลากสินค้าเกษตรอินทรีย์ ใน EU Official Journal L 62/6 โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติโดยผู้ประกอบการในกรณีที่มีข้อสงสัยต่อการไม่ปฏิบัติตามจากการตรวจพบสินค้าหรือสารที่ไม่ได้รับอนุญาต (มาตรา 1)
- ในการตรวจสอบว่าข้อสงสัยนั้นเป็นไปตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 28(2)(b) หรือไม่ ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
- (ก) ในกรณีที่มีข้อสงสัยต่อการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสินค้าอินทรีย์หรือสินค้าที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยน (incoming organic or in-conversion product) ผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบ ดังนี้
- (i) ความสอดคล้องของข้อมูลบนฉลากสินค้าอินทรีย์หรือสินค้าที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยน กับข้อมูลบนเอกสารที่แนบมากับสินค้า
- (ii) ความสอดคล้องของข้อมูลในหนังสือรับรองที่ส่งมอบโดยผู้ผลิต (supplier) กับสินค้าที่ซื้อ
- (ข) ในกรณีที่มีข้อสงสัยว่าสาเหตุของการตรวจพบสินค้าและสารที่ไม่ได้รับอนุญาตอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบการ กำหนดให้ผู้ประกอบการนั้น ๆ ทำการต้องตรวจสอบสาเหตุที่เป็นไปได้ของการที่มีสินค้าหรือสารที่ไม่ได้รับอนุญาต
- (ก) ในกรณีที่มีข้อสงสัยต่อการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสินค้าอินทรีย์หรือสินค้าที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยน (incoming organic or in-conversion product) ผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบ ดังนี้
- เมื่อผู้ประกอบการได้แจ้งต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก หรือหน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชน ตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 28(2)(d) เกี่ยวกับข้อสงสัยที่ได้รับการพิสูจน์ หรือเมื่อไม่สามารถขจัดความสงสัยได้ ผู้ประกอบการจะต้องส่งมอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ดังนี้
- (ก) ข้อมูลและเอกสารเกี่ยวกับผู้ผลิต (ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน หนังสือรับรองของผู้ผลิต หนังสือรับรองการตรวจสอบสินค้าอินทรีย์ (COI))
- (ข) การตรวจสอบย้อนกลับของสินค้าโดยการระบุล็อตสินค้า ปริมาณสต็อก และปริมาณของสินค้าที่จำหน่ายไปแล้ว
- (ค) ผลการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง
- (ง) เอกสารการสุ่มตัวอย่างที่ระบุเวลา สถานที่ และวิธีที่ใช้ในการสุ่มตัวอย่าง
- (จ) ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับข้อสงสัยที่เคยมีการตรวจพบสินค้าหรือสารที่ไม่ได้รับอนุญาตในลักษณะเดียวกัน
- (ฉ) เอกสารอื่นใดเพื่อให้ความกระจ่างต่อข้อสงสัยดังกล่าว
- ในการตรวจสอบว่าข้อสงสัยนั้นเป็นไปตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 28(2)(b) หรือไม่ ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
- วิธีการสอบสวน (มาตรา 2)
- โดยไม่เป็นการตัดสิทธิต่อ Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 38(2) เมื่อมีการดำเนินการสอบสวน ตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 29(1)(a) หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก หรือหน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชนจะต้องพิจารณาอย่างน้อยในมิติต่าง ๆ ดังนี้
- (ก) ชื่อ เลขที่ล็อตสินค้า ความเป็นเจ้าของ และที่ตั้งของสินค้าอินทรีย์ หรือสินค้าที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยน
- (ข) ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องยังมีการวางจำหน่ายในตลาด ในลักษณะเป็นสินค้าอินทรีย์หรือสินค้าที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยน หรือใช้ในการผลิตสินค้าอินทรีย์ หรือไม่
- (ค) ประเภท ชื่อ ปริมาณ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของสินค้าหรือสารที่ไม่ได้รับอนุญาต
- (ง) สินค้าหรือสารที่ไม่ได้รับอนุญาตเกิดขึ้นในขั้นตอนใดของการผลิต การเตรียมการ การจัดเก็บ หรือการแจกจ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตพืช (plant production) ไม่ว่าจะเป็นการเก็บตัวอย่างก่อนหรือหลังการเก็บเกี่ยว
- (จ) ผู้ประกอบการรายอื่นในห่วงโซ่การผลิตได้รับผลกระทบหรือไม่
- (ฉ) ผลการสอบสวนครั้งก่อนในสินค้าอินทรีย์หรือสินค้าที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยน และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง
- การสอบสวนจะต้องดำเนินการโดยใช้วิธีและเทคนิคที่เหมาะสม รวมถึงที่อ้างถึงใน Regulation (EU) 2017/625 มาตรา 14 และมาตรา 137 (3)
- การสอบสวนจะต้องมีผลสรุปต่อประเด็นต่าง ๆ อย่างน้อยดังนี้
- (ก) ความถูกต้องของสินค้าอินทรีย์หรือสินค้าที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยน
- (ข) แหล่งที่มาและสาเหตุของการมีสินค้าหรือสารที่ไม่ได้รับอนุญาต
- (ค) องค์ประกอบตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 29(2)(a) (b) และ (c)
- หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก หรือหน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชน จะต้องจัดทำรายงาน (final report) สำหรับการสอบสวนในแต่ละครั้ง โดยรายงานดังกล่าวจะต้องประกอบไปด้วยข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้
- (ก) บันทึกขององค์ประกอบเฉพาะที่ระบุในมาตรา 2
- (ข) บันทึกข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก หน่วยงานควบคุมภาครัฐและเอกชน และคณะกรรมาธิการยุโรปที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนนี้
- โดยไม่เป็นการตัดสิทธิต่อ Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 38(2) เมื่อมีการดำเนินการสอบสวน ตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 29(1)(a) หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก หรือหน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชนจะต้องพิจารณาอย่างน้อยในมิติต่าง ๆ ดังนี้
- เงื่อนไขสำหรับการใช้ข้อบ่งชี้ (indication) บางรายการ (มาตรา 3)
- ข้อบ่งชี้สำหรับสินค้าที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนที่มีแหล่งกำเนิดจากพืชตาม Regulation (EU) 2018/ 848 มาตรา 30(3) จะต้องปรากฏใน
- (ก) สี ขนาด และรูปแบบของตัวอักษรที่ไม่โดดเด่นไปกว่าคำอธิบายการจำหน่ายสินค้า ในขณะที่ข้อบ่งชี้ทั้งหมดจะต้องมีขนาดตัวอักษรเดียวกัน
- (ข) ความชัดเจน (same visual field) ของหมายเลขรหัสของหน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชน ตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 32(1)(a)
- การระบุหมายเลขรหัสของหน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชนตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 32(1)(a) จะต้องปรากฏในลักษณะเดียวกับโลโก้การผลิตอินทรีย์ของสหภาพยุโรป (ในกรณีที่ใช้กับฉลาก)
- การระบุสถานที่การเพาะปลูกวัตถุดิบ (ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสินค้า) ตาม Regulation (EU) 2018/ 848 มาตรา 32(2) จะต้องปรากฏอยู่ด้านล่างของหมายเลขรหัสที่อ้างถึงในมาตรา 3(2)
- ข้อบ่งชี้สำหรับสินค้าที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนที่มีแหล่งกำเนิดจากพืชตาม Regulation (EU) 2018/ 848 มาตรา 30(3) จะต้องปรากฏใน
- องค์ประกอบและขนาดของกลุ่มผู้ประกอบการ (มาตรา 4)
- สมาชิกของกลุ่มผู้ประกอบการจะต้องลงทะเบียนกับกลุ่มผู้ประกอบการเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นสำหรับสินค้าที่กำหนด รวมถึงในกรณีที่ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้น ๆ
- ขนาดของกลุ่มผู้ประกอบจะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 2,000 ราย
- เอกสารและข้อมูลที่จัดเก็บของกลุ่มผู้ประกอบการ (มาตรา 5)
- กลุ่มผู้ประกอบการจะต้องเก็บรักษาเอกสารและข้อมูล เพื่อวัตถุประสงค์ของระบบการควบคุมภายใน (ICS) ดังนี้
- (ก) รายชื่อสมาชิกของกลุ่มผู้ประกอบการตามการลงทะเบียนของสมาชิกแต่ละคน ที่ประกอบไปด้วยข้อมูลดังนี้
- (i) ชื่อและรหัสประจำตัว (หมายเลขรหัส)
- (ii) รายละเอียดการติดต่อ
- (iii) วันที่ลงทะเบียน
- (iv) จำนวนที่ดินทั้งหมดภายใต้การจัดการของสมาชิก และไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งภายใต้หน่วยการผลิตอินทรีย์ หรือที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยน หรือไม่ใช่อินทรีย์ก็ตาม
- (v) ข้อมูลของแต่ละหน่วยการผลิตและ/หรือกิจกรรม : ขนาด ที่ตั้ง แผนที่ สินค้า วันที่เริ่มต้นของระยะเวลาการปรับเปลี่ยน และประมาณการผลผลิต
- (vi) วันที่มีการตรวจสอบภายในครั้งล่าสุด พร้อมทั้งชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบ ICS
- (vii) วันที่ของการตรวจสอบควบคุมครั้งล่าสุด ที่กระทำโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก หรือหน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชน และมีการที่ระบุชื่อผู้ตรวจ
- (viii) วันที่และรายการ
- (ข) ข้อตกลงการเป็นสมาชิกที่ลงนามระหว่างสมาชิกและกลุ่มผู้ประกอบการ ในฐานะบุคคลตามกฎ หมาย ซึ่งครอบคลุมรายละเอียดสิทธิและความรับผิดชอบของสมาชิก
- (ค) รายงานการตรวจสอบภายในที่ลงนามโดยผู้ตรวจสอบ ICS และสมาชิกของกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับการตรวจสอบ และรวมถึงอย่างน้อยองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
- (i) ชื่อของสมาชิก และที่ตั้งของหน่วยการผลิต/สถานที่ รวมทั้งการจัดซื้อและศูนย์รวบรวมตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 36 (1)(a) ภายใต้การตรวจสอบที่เกิดขึ้น
- (ii) วันที่ เวลาเริ่มต้น และเวลาสิ้นสุดของการตรวจสอบภายใน
- (iii) ผลการตรวจสอบ
- (iv) ขอบเขตการตรวจสอบ/พารามิเตอร์
- (v) วันที่ออกรายงาน
- (vi) ชื่อของผู้ทำการตรวจสอบภายใน
- (ง) การบันทึกการฝึกอบรมของผู้ตรวจสอบ ICS จะต้องประกอบไปด้วย
- (i) วันที่ของการฝึกอบรม
- (ii) เนื้อหาของการฝึกอบรม
- (iii) ชื่อผู้ฝึกสอน
- (iv) การลงนามลายมือชื่อของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- (v) การประเมินความรู้ที่ได้มาตามความเหมาะสม
- (จ) การบันทึกการฝึกอบรมของสมาชิกกลุ่มผู้ประกอบการ
- (ฉ) การบันทึกข้อมูลมาตรการที่ปรับใช้ในกรณีที่ผู้จัดการ ICS ไม่ปฏิบัติตาม ซึ่งจะรวมถึง
- (i) สมาชิกที่อยู่ภายใต้มาตรการในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตาม รวมถึงผู้ที่ถูกระงับ ถอน หรือถูกกำหนดให้ปฏิบัติตามระยะเวลาการปรับเปลี่ยนใหม่
- (ii) เอกสารแสดงการไม่ปฏิบัติตาม
- (iii) เอกสารการติดตามมาตรการ
- (ช) การบันทึกการตรวจสอบย้อนกลับ รวมถึงข้อมูลด้านปริมาณ ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องดังนี้
- (i) การซื้อและการกระจายปัจจัยการผลิตจากฟาร์ม รวมทั้งวัสดุขยายพันธุ์พืชโดยกลุ่ม
- (ii) การผลิต รวมถึงการเก็บเกี่ยว
- (iii) การจัดเก็บ
- (iv) การจัดเตรียม
- (v) การจัดส่งสินค้าจากสมาชิกแต่ละรายไปยังระบบตลาดร่วม
- (vi) การวางจำหน่ายสินค้าในตลาดโดยกลุ่มผู้ประกอบการ
- (ซ) ข้อตกลงและสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการและผู้รับเหมาช่วงต่อ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของกิจกรรมที่รับเหมาช่วงต่อ
- (ฌ) การแต่งตั้งผู้จัดการ ICS
- (ญ) การแต่งตั้งผู้ตรวจสอบ ICS และรายชื่อผู้ตรวจสอบ ICS
- (ก) รายชื่อสมาชิกของกลุ่มผู้ประกอบการตามการลงทะเบียนของสมาชิกแต่ละคน ที่ประกอบไปด้วยข้อมูลดังนี้
- รายชื่อสมาชิกที่อ้างถึงในข้อ (a) ของย่อหน้าแรกจะต้องได้รับการทำให้เป็นปัจจุบันโดยผู้จัดการ ICS หลังจากการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบใด ๆ ที่ระบุไว้ในข้อ (a)(i) ถึง (viii) ซึ่งจะต้องระบุว่า มีสมาชิกได้ถูกระงับหรือถูกถอดถอน เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด (หากมี)
- กลุ่มผู้ประกอบการจะต้องเก็บรักษาเอกสารและข้อมูล เพื่อวัตถุประสงค์ของระบบการควบคุมภายใน (ICS) ดังนี้
- การแจ้งเตือนจากผู้จัดการ ICS (มาตรา 6)
- ผู้จัดการ ICS จะต้องแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก หรือหน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องทันทีเกี่ยวกับข้อมูลดังนี้
- (ก) ข้อสงสัยใด ๆ ที่เกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่สำคัญและร้ายแรง
- (ข) การระงับหรือการถอดถอนใด ๆ ของสมาชิก หรือหน่วยการผลิต/สถานที่ รวมทั้งศูนย์การจัดซื้อ และศูนย์รวบรวมจากกลุ่ม
- (ค) ข้อห้ามใด ๆ ในการวางจำหน่ายสินค้าในลักษณะอินทรีย์หรือที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนในตลาด รวมถึงชื่อของสมาชิกที่เกี่ยวข้อง ปริมาณ และหมายเลขล็อตสินค้า
- ผู้จัดการ ICS จะต้องแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก หรือหน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องทันทีเกี่ยวกับข้อมูลดังนี้
- ร้อยละขั้นต่ำในการตรวจสอบควบคุมและการสุ่มตัวอย่าง (มาตรา 7)
- ข้อกำหนดด้านร้อยละขั้นต่ำต่อไปนี้ จะนำไปปรับใช้กับการตรวจสอบควบคุมตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 38(4) ที่จะดำเนินการโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก หรือหน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องตามความเสี่ยงของการไม่ปฏิบัติตาม (risk of non-compliance)
- (ก) ดำเนินการตรวจสอบควบคุมผู้ประกอบการหรือกลุ่มผู้ประกอบการ ที่ขั้นต่ำร้อยละ ๑๐/ปี จะต้องไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วง
- (ข) ดำเนินการตรวจสอบควบคุมเพิ่มเติม ที่ขั้นต่ำร้อยละ 10/ปี ตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 38(3)
- (ค) ดำเนินการตรวจสอบควบคุม ที่ขั้นต่ำร้อยละ 5 ของจำนวนผู้ประกอบการ ยกเว้นผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 34(2) และ 35(8) จะต้องได้รับการสุ่มตัวอย่างตาม Regulation (EU ) 2017/625 มาตรา 14(h) ทุกปี
- (ง) ดำเนินการตรวจสอบควบคุม ที่ขั้นต่ำร้อยละ 2 ของสมาชิกในแต่ละกลุ่มผู้ประกอบการ จะต้องได้รับการสุ่มตัวอย่างตาม Regulation (EU) 2017/625 มาตรา 14(h) ทุกปี
- (จ) ดำเนินการตรวจสอบควบคุมซ้ำ (re-inspect) ที่ขั้นต่ำร้อยละ 5 ของผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของกลุ่มผู้ประกอบการ (แต่ไม่น้อยกว่า 10 ราย) ทุกปี ในกรณีที่กลุ่มผู้ประกอบการมีสมาชิก 10 ราย หรือน้อย สมาชิกทั้งหมดจะต้องได้รับการตรวจสอบควบคุม รวมทั้งการตรวจสอบตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 38(3)
- ข้อกำหนดด้านร้อยละขั้นต่ำต่อไปนี้ จะนำไปปรับใช้กับการตรวจสอบควบคุมตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 38(4) ที่จะดำเนินการโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก หรือหน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้องตามความเสี่ยงของการไม่ปฏิบัติตาม (risk of non-compliance)
- มาตรการในกรณีที่มีการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด (มาตรา 8)
- หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักอาจใช้แนวทางการจัดการตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2021/279 ภาคผนวก I เพื่อพัฒนาคู่มือมาตรการระดับชาติตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 41(4) โดยคู่มือมาตรการระดับชาตินั้นจะต้องครอบคลุมอย่างน้อย
- (ก) รายการของการไม่ปฏิบัติตาม (list of non-compliances)อ้างอิงตาม Regulation (EU) 2018/ 848 หรือของกฎระเบียบเสริมหรืออันดับรองตามกฎระเบียบดังกล่าว
- (ข) การจัดประเภทของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เล็กน้อย สำคัญและร้ายแรง โดยจะต้องพิจารณาอย่างน้อยในมิติต่าง ๆ ดังนี้
- (i) การปรับใช้มาตรการป้องกันตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 28(1) และการตรวจสอบควบคุมโดยตนเอง (own controls) ตาม Regulation (EU) 2017/625 มาตรา 9 (1)(d)
- (ii) ผลกระทบต่อความถูกต้องของสถานะอินทรีย์หรืออยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนของสินค้า
- (iii) ความสามารถของระบบการตรวจสอบย้อนกลับในการค้นหาสินค้าที่ได้รับผลกระทบในห่วงโซ่อุปทาน
- (iv) การแจ้งตอบไปยังการร้องขอจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก หรือหน่วยงานควบคุมภาครัฐ หรือเอกชนก่อนหน้านี้
- (ค) มาตรการที่สอดคล้องกับการไม่ปฏิบัติตามในประเภทต่าง ๆ
- หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักอาจใช้แนวทางการจัดการตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2021/279 ภาคผนวก I เพื่อพัฒนาคู่มือมาตรการระดับชาติตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 41(4) โดยคู่มือมาตรการระดับชาตินั้นจะต้องครอบคลุมอย่างน้อย
- การแลกเปลี่ยนข้อมูล (มาตรา 9)
- สำหรับวัตถุประสงค์ของ Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 43(1) หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักจะต้องใช้ระบบข้อมูลฟาร์มอินทรีย์ (Organic Farming Information System : OFIS) และแบบฟอร์มที่กำหนดใน Commission Implementing Regulation (EU) 2021/279 ภาคผนวก II ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคณะกรรมาธิการยุโรปและประเทศสมาชิกอื่น ๆ ตามข้อกำหนดดังนี้
- (ก) ประเทศสมาชิกฯ (ผู้แจ้ง) จะต้องแจ้งต่อคณะกรรมาธิการยุโรปและประเทศสมาชิกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ผู้ได้รับแจ้ง) อย่างน้อยต่อสถานการณ์ดังนี้
- (i) ในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือมีการไม่ปฏิบัติตาม ที่ส่งผลกระทบต่อความถูกต้อง (integrity) ของสินค้าอินทรีย์หรือที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนแปลงที่มาจากประเทศสมาชิกฯ อื่น ๆ
- (ii) ในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือมีการไม่ปฏิบัติตาม ที่ส่งผลกระทบต่อความถูกต้อง (integrity) ของสินค้าอินทรีย์หรือที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนแปลงที่นำเข้าจากประเทศที่สามตาม Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 45(1) หรือมาตรา 57
- (iii) ในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือมีการไม่ปฏิบัติตาม ที่ส่งผลกระทบต่อความถูกต้อง (integrity) ของสินค้าอินทรีย์หรือที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนแปลงที่มาจากประเทศสมาชิกฯ ที่แจ้งเตือน เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อประเทศสมาชิกฯ ที่ได้รับแจ้ง หนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งประเทศ
- (ข) ในสถานการณ์ที่อ้างถึงในข้อ (a)(i) และ (ii) ประเทศสมาชิกฯ ที่ได้รับแจ้ง จะต้องแจ้งตอบกลับภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับการแจ้ง โดยจะต้องแจ้งให้รับทราบถึงการดำเนินการและมาตรการที่ปรับใช้รวมถึงผลการสอบสวนและให้ข้อมูลอื่น ๆ ที่มี และ/หรือที่กำหนดโดยประเทศสมาชิกฯ ที่ทำการแจ้ง
- (ค) ประเทศสมาชิกฯ ที่แจ้ง อาจขอข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเป็นจากประเทศสมาชิกฯ ที่ได้รับแจ้งได้
- (ง) ประเทศสมาชิกฯ ที่แจ้ง จะจัดทำรายการและข้อมูลความคืบหน้าที่จำเป็นในระบบ OFIS อย่างทันท่วงที รวมถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับผลการสอบสวนของตน
- (จ) ในสถานการณ์ที่อ้างถึงในข้อ (a)(ii) และเมื่อคณะกรรมาธิการยุโรปได้รับแจ้งจากประเทศสมาชิกฯ คณะกรรมาธิการยุโรปจะแจ้งหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก หรือหน่วยงานควบคุมภาครัฐ หรือเอกชน ของประเทศที่สามให้ทราบ
- (ก) ประเทศสมาชิกฯ (ผู้แจ้ง) จะต้องแจ้งต่อคณะกรรมาธิการยุโรปและประเทศสมาชิกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ผู้ได้รับแจ้ง) อย่างน้อยต่อสถานการณ์ดังนี้
- นอกเหนือไปจากข้อมูลที่อ้างถึงใน Regulation (EU) 2017/625 มาตรา 32(b) หน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชน ต้องแจ้งให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักที่ตนได้รับมอบหมายให้ทำการตรวจสอบควบคุมตามมาตรา 4(3) มาตรา 28(1) หรือมาตรา 31 ของกฎระเบียบดังกล่าว ที่เกี่ยวกับข้อสงสัยหรือการไม่ปฏิบัติตาม ซึ่งมีผลต่อความถูกต้องของสินค้าอินทรีย์หรือที่อยู่ในช่วงปรับเปลี่ยน รวมทั้งต้องให้ข้อมูลอื่น ๆ ที่ร้องขอโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักนั้น ๆ
- สำหรับวัตถุประสงค์ของ Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 43(3) ผู้ประกอบการหรือกลุ่มผู้ประกอบการ และ/หรือผู้รับเหมาช่วงต่อได้รับการควบคุมโดยหน่วยงานตรวจรับรองภาครัฐหรือเอกชนที่แตกต่างกัน หน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชนดังกล่าวจะต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านการปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของตน
- สำหรับวัตถุประสงค์ของ Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 43(3) ผู้ประกอบการหรือกลุ่มผู้ประกอบการ และ/หรือผู้รับเหมาช่วงต่อ ที่มีการเปลี่ยนหน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชน จะต้องแจ้งการเปลี่ยนหน่วยงานควบคุมฯ ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักรับทราบอย่างทันท่วงที
- หน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชนรายใหม่จะร้องขอไฟล์ควบคุมของผู้ประกอบการหรือกลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชนรายเดิม โดยหน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชนรายเดิมจะส่งมอบไฟล์ควบคุมของผู้ประกอบการหรือกลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องอย่างทันท่วงที รวมถึงบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรตาม Regulation (EU) 2018 / 848 มาตรา 38(6) เกี่ยวกับสถานะการรับรอง รายการข้อมูลการไม่ปฏิบัติตาม และมาตรการที่เกี่ยวข้องที่ดำเนินการโดยหน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชนรายเดิม
- หน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชนรายใหม่จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า การไม่ปฏิบัติตามที่ระบุไว้ในบันทึกของหน่วยงานควบคุมภาครัฐหรือเอกชนรายเดิม ได้รับหรือจะได้รับการแก้ไขโดยผู้ประกอบการ
- สำหรับวัตถุประสงค์ของ Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 43(3) ผู้ประกอบการหรือกลุ่มผู้ประกอบการจะต้องได้รับการตรวจสอบย้อนกลับและการตรวจสอบความสมดุลของสินค้า (mass balance check) หน่วยงานควบคุมภาครัฐและเอกชนจะแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การตรวจสอบมีความสมบูรณ์
- หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักจะต้องปรับใช้มาตรการที่เหมาะสมและจัดทำขั้นตอน เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก หน่วยงานควบคุมภาครัฐและ/หรือเอกชน ตลอดจนระหว่างหน่วยงานควบคุมภาครัฐและ/หรือเอกชน
- สำหรับวัตถุประสงค์ของ Regulation (EU) 2018/848 มาตรา 43(1) หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักจะต้องใช้ระบบข้อมูลฟาร์มอินทรีย์ (Organic Farming Information System : OFIS) และแบบฟอร์มที่กำหนดใน Commission Implementing Regulation (EU) 2021/279 ภาคผนวก II ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคณะกรรมาธิการยุโรปและประเทศสมาชิกอื่น ๆ ตามข้อกำหนดดังนี้
- ข้อกำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน (มาตรา 10)
- กลุ่มผู้ประกอบการในประเทศที่สามที่ปฏิบัติตาม Regulations (EC) No 834/2007 (EC) No 889/2008 และ (EC) No 1235/2008 ก่อนวันที่กฎระเบียบฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงทางการบริหาร กฎหมาย และทางโครงสร้าง ตามข้อกำหนดด้านขนาดสูงสุดของกลุ่มผู้ประกอบการตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2021/279 มาตรา 4(๒) โดยอนุโลมให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวภายในวันที่ 1 มกราคม 2568
- คู่มือแห่งชาติ (national catalogue) ของมาตรการที่พัฒนาตามมาตรา 8 ให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป
- ภาคผนวก
- ภาคผนวก I : แนวทางการจัดการเพื่อพัฒนาและปรับใช้คู่มือมาตรการระดับชาติตามมาตรา 8
- ภาคผนวก II : แบบฟอร์มระบบข้อมูลฟาร์มอินทรีย์ตามมาตรา 9
- ประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้
https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32021R0279&from=EN