free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationรายงานผลการสุ่มตรวจสารปราบศัตรูพืชตกค้างในสินค้าอาหารของสหภาพยุโรป ประจำปี 2564

รายงานผลการสุ่มตรวจสารปราบศัตรูพืชตกค้างในสินค้าอาหารของสหภาพยุโรป ประจำปี 2564

Featured Image by Raul Gonzalez Escobar on Unsplash

ด้วย เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 หน่วยงานความปลอดภัยอาหารประจำสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority: EFSA) ได้เผยแพร่รายงานผลการสุ่มตรวจสารปราบศัตรูพืชตกค้างในสินค้าอาหาร ประจำปี 2564 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

  1. ประเทศสมาชิก EU-27 (รวมประเทศนอร์เวย์ และประเทศไอซ์แลนด์) ได้ทำการสุ่มตรวจตัวอย่างสินค้าอาหารภายใต้โครงการ EU-coordinated control programme (EU MACP) ซึ่งเป็นโครงการสุ่มตรวจสินค้าอาหารในภาพรวมของสหภาพยุโรป มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาครัฐ-ภาคเอกชนได้ตระหนักถึงปัญหาและแนวโน้มประเภทของสินค้าอาหารที่ควรพิจารณาให้อยู่ภายใต้มาตรการควบคุมในอนาคต โดยสรุปได้ ดังนี้ โครงการ EU MACP: ในปี 2564 ได้ทำการสุ่มตรวจตัวอย่างสินค้าอาหาร เป็นจำนวน 87,863 ตัวอย่าง โดยพบว่า สินค้าอาหารร้อยละ 96.1 พบปริมาณสารปราบศัตรูพืชตกค้างไม่เกินกว่าค่า MRLs ที่กำหนดไว้ และจากการสุ่มตรวจตัวอย่างชุดย่อย (subset) จำนวน 13,845 ตัวอย่าง พบว่า สินค้าอาหารร้อยละ 97.9 ไม่มีปริมาณสารปราบศัตรูพืชตกค้างเกินกว่าค่า MRLs ที่กำหนด
  2.  การสุ่มตรวจสอบฯ ในปี 2564: ครอบคลุมสินค้าอาหารที่มีความเสี่ยง 12 รายการ อาทิ มะเขือ กล้วย บลอกโคลี เห็ดเพาะ เกรฟฟรุ๊ต เมลอน พริกหวาน องุ่นรับประทาน น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ข้าวสาลี ไขมันวัว และไข่ไก่ โดยผลการสุ่มตรวจฯ สามารถแยกเป็น

      (1) สินค้าที่ปลอดจากสารปราบศัตรูพืช คิดเป็นร้อยละ 58.1 (สินค้าจำนวน 8,043 ตัวอย่าง)

      (2) สินค้าที่ตรวจพบสารปราบศัตรูพืชตกค้าง (1 ชนิดหรือมากกว่า 1 ชนิด) ในระดับต่ำหรือเท่ากับค่า MRLs ที่กำหนดไว้ คิดเป็นร้อยละ 39.8 (สินค้าจำนวน 5,507 ตัวอย่าง)

(3) สินค้าที่ตรวจพบสารปราบศัตรูพืชตกค้างในปริมาณที่สูงกว่าค่า MRLs ที่กำหนดไว้ คิดเป็นร้อยละ 2.1 (สินค้าจำนวน 295 ตัวอย่าง) และในภาพรวมพบว่า สินค้าที่ตรวจพบสารปราบศัตรูพืชเกินค่า MRLs เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 1.4  ในปี 2561 เป็นร้อยละ 2.1 ในปี 2564 ยกเว้นแต่สินค้ากลุ่มเกรฟฟรุ๊ต (grapefruits) ที่มีปริมาณการถูกตรวจพบปัญหาอยู่ในระดับคงที่ กล่าวคือ ที่ระดับร้อยละ 1.4 ทั้งในปี 2561 และในปี 2564 เนื่องจากคาดว่า คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกมาตรการให้สุ่มตรวจเข้มเพื่อตรวจหาสารปราบศัตรูพืชในสินค้ากลุ่มเกรฟฟรุ๊ตที่นำเข้าจากประเทศที่สามในช่วงปีดังกล่าว  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ ดังนี้  

https://www.efsa.europa.eu/en/news/pesticides-food-latest-data-published