free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับแก้แบบฟอร์มหนังสือรับรองเพิ่มการให้หลักประกันในการละเว้นการใช้ยาต้านจุลชีพต้องห้ามในสัตว์และสินค้าจากสัตว์สำหรับการนำเข้า

สหภาพยุโรปปรับแก้แบบฟอร์มหนังสือรับรองเพิ่มการให้หลักประกันในการละเว้นการใช้ยาต้านจุลชีพต้องห้ามในสัตว์และสินค้าจากสัตว์สำหรับการนำเข้า

fresh raw chicken meat with rosemary toppings on white surface
Photo by Leeloo Thefirst on Pexels.com

คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2024/399 ว่าด้วย การปรับแก้แบบฟอร์มหนังสือรับรองในการนำเข้าสัตว์และสินค้าจากสัตว์ ใน EU Official Journal L series โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ปรับแก้แบบฟอร์มหนังสือรับรองฯ ครอบคลุมแบบฟอร์มในภาคผนวก III Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2235 และแบบฟอร์มในภาคผนวก II  Commission Implementing Regulation (EU) 2021/403  
  2. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศที่สามที่ประสงค์จะส่งออกสัตว์และสินค้าจากสัตว์ไปยังสหภาพยุโรป จะต้องให้หลักประกันเพิ่มเติมบนหนังสือรับรองฯ ประเด็นการละเว้นการใช้ยาต้านจุลชีพ (antimicrobial medicinal products) ประเภทเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต (for growth promotion and yield increase) และยาต้านจุลชีพบางประเภทสำหรับที่ใช้รักษาคน* โดยห้ามใช้ในสัตว์หรือสินค้าจากสัตว์ที่ส่งออกจากประเทศที่สามไปยังสหภาพยุโรป ภายใต้  Commission Delegated Regulation (EU) 2023/905

         2. 1 แบบฟอร์มในภาคผนวก III Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2235 สำหรับสินค้าจากสัตว์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

               2.1.1 แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขอนามัยสัตว์สำหรับการส่งออกเนื้อสดจากสัตว์เท้ากีบ (ungulates) เพื่อการบริโภคไปยังสหภาพยุโรป ดังนี้ ‘BOV’, ‘OVI’, ‘POR’, ‘EQU’, ‘RUF’, ‘SUF’, ‘RUM-MSM’, ‘SUI-MSM’ และ‘NZ-TRANSIT-SG’ ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2235 Chapter 1 – 12  ภาคผนวก III

               2.1.2 แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขอนามัยสัตว์สำหรับการส่งออกเนื้อสัตว์ปีก (poultry) นกกลุ่มที่บินไม่ได้ (ratites) นกป่า (wild game birds) ไข่ และผลิตภัณฑ์ไข่ เพื่อการบริโภคไปยังสหภาพยุโรป ดังนี้‘POU’, ‘RAT’, ‘E’ และ ‘EP’ ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2235 Chapter 13 – 20 ภาคผนวกIII

     2.1.3 แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขอนามัยสัตว์สำหรับการส่งออกเนื้อสดจากกระต่ายป่า (wild leporidae) สัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนม (wild land mammals) และกระต่ายเลี้ยงจากฟาร์ม เพื่อการบริโภค ยกเว้นเนื้อที่ถูกคัดแยกโดยเครื่องจักรไปยังสหภาพยุโรป ดังนี้ ‘RM’ ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2235  Chapter 23 ภาคผนวก III

                2.1.4 แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขอนามัยสัตว์สำหรับการส่งออกเนื้อปรุงแต่ง (meat preparations) เพื่อการบริโภคไปยังสหภาพยุโรป ดังนี้‘MP-PREP’ ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2235  Chapter 24 ภาคผนวก III

                2.1.5 แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขอนามัยสัตว์สำหรับการส่งออกสินค้าเนื้อ รวมถึงไขมันสัตว์ (rendered animal fats) เกราะหุ้มขาท่อนล่าง (greaves) สารสกัดจากเนื้อสัตว์ (meat extracts) กระเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ที่ผ่านกระบวนการ (treated stomachs, bladders and intestines) นอกเหนือจากไส้ (casings) เพื่อการบริโภคไปยังสหภาพยุโรป ดังนี้ ‘MPNT’ และ ‘MPST’ ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2235  Chapter 25 – 26  ภาคผนวก III

                2.1.6 แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขอนามัยสัตว์สำหรับการส่งออกไส้ (casings) เพื่อการบริโภคไปยังสหภาพยุโรป ดังนี้‘CAS’ ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2235  Chapter 27 ภาคผนวก III

                2.1.7 แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขอนามัยสัตว์สำหรับการส่งออกปลามีชีวิต ครัสเตเชียนมีชีวิต สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ดังกล่าว และสินค้าประมงบางประเภท เพื่อการบริโภคไปยังสหภาพยุโรป ดังนี้‘FISH-CRUST-HC’ ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2235  Chapter 28 ภาคผนวก III

               2.1.8 แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขอนามัยสัตว์สำหรับการส่งออกนมดิบ ผลิตภัณฑ์นม โคลอสตรัม ผลิตภัณฑ์จากโคลอสตรัม เพื่อการบริโภคไปยังสหภาพยุโรป ดังนี้‘MILK-RM’, ‘MILK-RMP/NT’, ‘DAIRY-PRODUCTS-PT’, ‘DAIRY-PRODUCTS-ST’, ‘COLOSTRUM’ และ ‘COLOSTRUM-BP’ ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2235 Chapter 33 – 38 ภาคผนวก III

                2.1.9 แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขอนามัยสัตว์สำหรับการส่งออกน้ำผึ้งและผลิตภัณฑ์จากผึ้ง เพื่อการบริโภค ไปยังสหภาพยุโรป ดังนี้‘HON’ ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2235 Chapter 45 ภาคผนวก III

                2.1.10 แบบฟอร์มหนังสือรับรองสุขอนามัยสัตว์สำหรับการส่งออกสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์อื่น ๆ (สัตว์เท้ากีบพื้นเมือง สัตว์ปีก กระต่าย หรือสินค้าประมง) เพื่อการบริโภคไปยังสหภาพยุโรป ดังนี้‘PAO’ ตาม Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2235 Chapter 49 ภาคผนวก III

              2.1.11 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับไทย ได้แก่ แบบฟอร์มการนำเข้าสินค้าเนื้อสัตว์ปีก ‘POU’, สินค้าสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยง ‘FISH-CRUST-HC’ และสินค้าน้ำผึ้ง ‘HON’

3. แบบฟอร์มในภาคผนวก II Commission Implementing Regulation (EU) 2021/403 สำหรับสัตว์มีชีวิต (อาทิ วัว,  แกะ, แพะ, สุกร, ม้า, อูฐ, กวาง และสัตว์ปีก เพื่อบริโภค)  ได้แก่ ‘BOV-X’, ‘BOV-Y’, ‘OV/CAP-X’, ‘OV/CAP-Y’, ‘SUI-X’, ‘SUI-Y’, ‘CAM-CER’, ‘EQUI-X’, ‘EQUI-Y’, ‘BPP’, ‘BPR’, ‘SP’, ‘SR’, ‘POU-LT20’

4. การอนุโลมช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน:

           4.1 การส่งออกสินค้าจากสัตว์ โดยมีหนังสือรับรองฯ ตามแบบฟอร์มเดิม Chapters 1, 2, 3, 4, 5, 7, 10, 11, 12, 13, 15, 19, 20, 23, 24, 25, 26, 27, 28, 33, 34, 35, 36, 37, 38, 45 และ 49 ของ ภาคผนวก III  Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2235  ที่ออกให้ก่อนวันที่ 3 กันยายน 2567 สามารถส่งไปยังสหภาพยุโรปได้จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2567

           4.2 การส่งออกสัตว์มีชีวิต โดยมีหนังสือรับรองฯ ตามแบบฟอร์มเดิม Chapters 1, 2, 4, 5, 7, 8, 12, 13, 14, 22, 23, 29, 30 และ 31 ของ ภาคผนวก II Commission Implementing Regulation (EU) 2021/403  ที่ออกให้ก่อนวันที่ 3 กันยายน 2567 สามารถส่งไปยังสหภาพยุโรปได้จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2567

5. กฎระเบียบดังกล่าวให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2567 เป็นต้นไป อย่างไรก็ดี  Commission Delegated Regulation (EU) 2023/905  ระบุว่า คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้ปรับใช้กฎระเบียบ Commission Delegated Regulation (EU) 2023/905  ภายหลังจาก 24 เดือนที่คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศปรับแก้แบบฟอร์มหนังสือรับรองฯ (official certificates) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น แบบฟอร์มใหม่ที่ระบุหลักประกันเพิ่มเติมบนหนังสือรับรองฯ ในการละเว้นการใช้ยาต้านจุลชีพ (antimicrobial medicinal products) ประเภทเพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต (for growth promotion and yield increase) และยาต้านจุลชีพบางประเภทสำหรับที่ใช้รักษาคน ให้ปรับใช้กับสินค้าจากสัตว์และสัตว์ที่มีชีวิตเพื่อการบริโภคที่ส่งเข้าไปยังสหภาพยุโรป ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2569 เป็นต้นไป

6. รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=OJ:L_202400399

                                                                                                                                                                             * บัญชีรายชื่อยาต้านจุลชีพสำหรับที่ใช้รักษาการติดเชื้อในคน ตามภาคผนวก Regulation (EU) 2022/1255 (Antimicrobials or groups of antimicrobials reserved for treatment of certain infections in humans):

  • Antibiotics: 17 รายการ ได้แก่ Carboxypenicillins, Ureidopenicillins, Ceftobiprole, Combinations of cephalosporins with beta-lactamase inhibitors, Siderophore cephalosporins, Carbapenems, Penems, Monobactams, Phosphonic acid derivates, Glycopeptides, Lipopeptides, Oxazolidinones, Fidaxomicin, Plazomicin, Glycylcyclines, Eravacycline, Omadacycline
  • Antivirals: 18 รายการ ได้แก่ Amantadine, Baloxavir marboxil, Celgosivir, Favipiravir, Galidesivir, Lactimidomycin, Laninamivir, Methisazone/metisazone, Molnupiravir, Nitazoxanide, Oseltamivir, Peramivir, Ribavirin, Rimantadine, Tizoxanide, Triazavirin, Umifenovir, Zanamivir
  • Antiprotozoals: 1 รายการ ได้แก่ Nitazoxanide