free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของยาปราบศัตรูพืชในสินค้าพืชเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐาน Codex (CXLs)

สหภาพยุโรปปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของยาปราบศัตรูพืชในสินค้าพืชเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐาน Codex (CXLs)

Featured Image by Raul Gonzalez Escobar on Unsplash

คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Regulation (EU) 2022/1324 ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 13 รายการ ได้แก่ สาร benzovindiflupyr สาร boscalid สาร fenazaquin สาร fluazifop-P สาร flupyradifurone สาร fluxapyroxad สาร fosetyl-Al สาร isofetamid สาร metaflumizone สาร pyraclostrobin สาร spirotetramat สาร thiabendazole และสาร tolclofos-methylในสินค้าพืช ใน EU Official Journal L 200/68 ดังนี้

  1. เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 คณะกรรมาธิการโครงการมาตรฐานอาหาร FAO/WHO (Codex Alimentarius Commission – CAC) ได้ปรับแก้ปริมาณค่าสารตกค้างสูงสุดของ Codex (CXLs) ในสารปราบศัตรูพืช 39 รายการ ได้แก่ สาร acetochlor สาร afidopyropen สาร benzovindiflupyr สาร bifenthrin สาร boscalid สาร buprofezin สาร carbendazim สาร chlorantraniliprole สาร cyclaniliprole สาร cypermethrins (รวมสาร alpha-และ zeta-cypermethrin) สาร dicamba สาร fenazaquin สาร flonicamid สาร fluazifop-P สาร fluensulfone สาร flupyradifurone สาร fluxapyroxad สาร fosetyl-Al สาร glyphosate สาร isofetamid สาร kresoxim-methyl สาร mandestrobin สาร mesotrione สาร metaflumizone สาร metconazole สาร methoprene สาร pendimethalin สาร penthiopyrad สาร picoxystrobin สาร propiconazole สาร pydiflumetofen สาร pyraclostrobin สาร pyriofenone สาร pyriproxyfen สาร spirotetramat สาร tebuconazole สาร thiabendazole สาร tolclofos-methyl และสาร tolfenpyrad

2. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสหภาพยุโรป สารดังกล่าวข้างต้นได้ถูกกำหนดค่า MRLs ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก II ภาคผนวก III และภาคผนวก V ยกเว้นสาร afidopyropen สาร fluensulfone สาร pydiflumetofen และสาร tolfenpyrad ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดค่า MRLs และไม่ได้บรรจุอยู่ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก IV จึงถูกกำหนดค่า MRLs ที่ระดับค่าโดยปริยาย (default value) หรือที่ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามมาตรา 18(1)(b)

3. อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการยุโรปได้นำเสนอรายงานผลการตกค้างของสารปราบศัตรูพืชจากค่า CXL ที่ Codex กำหนด ดังนี้ สาร acetochlor (ทุกสินค้า) สาร afidopyropen (ทุกสินค้า) สาร bifenthrin (ทุกสินค้า) สาร boscalid (กลุ่มย่อย โพมฟรุ๊ต) สาร buprofezin (ทุกสินค้า) สาร carbendazim (ทุกสินค้า) สาร cyclaniliprole (ทุกสินค้า) สาร cypermethrin (รวมสาร alpha และ zeta-cypermethrin) (ทุกสินค้า) สาร dicamba (ทุกสินค้า)   สาร flonicamid (ทุกสินค้า) สาร fluazifop-P (เอลเดอร์เบอร์รี และสตรอว์เบอร์รี) สาร fluensulfone (ทุกสินค้า) สาร fosetyl-Al (เมล็ดกาแฟ) สาร glyphosate (ทุกสินค้า) สาร mandestrobin (เรฟซีด) สาร metaflumizone (องุ่น) สาร metconazole (ทุกสินค้า) สาร methoprene (ทุกสินค้า) สาร penthiopyrad (ทุกสินค้า) สาร picoxystrobin (ทุกสินค้า) สาร propiconazole (ทุกสินค้า) สาร pydiflumetofen (ทุกสินค้า) สาร tebuconazole (ทุกสินค้า) สาร tolclofos-methyl (มันฝรั่ง) และสาร tolfenpyrad (ทุกสินค้า)

4. นอกเหนือจากนี้ หน่วยงานความปลอดภัยอาหารประจำสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) พบว่า มีความเสี่ยงสูงของการได้รับสาร thiabendazole ในมันเทศ ดังนั้น สหภาพยุโรปจึงจะไม่ปรับใช้ค่า CXL เป็นค่า MRL ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005

5. สำหรับในกรณีของสารที่คณะกรรมาธิการยุโรปไม่ได้นำเสนอผลการตกค้างต่อที่ประชุม Codex และ EFSA ไม่ได้ระบุว่า มีการตรวจพบความเสี่ยงสูงในการได้รับสารนั้นๆ ผ่านการบริโภค อาทิ สาร benzovindiflupyr สาร boscalid สาร fenazaquin สาร fluazifop-P สาร flupyradifurone สาร fluxapyroxad สาร fosetyl-Al สาร isofetamid  สาร  metaflumizone   สาร   pyraclostrobin   สาร  spirotetramat   สาร  thiabendazole  สาร  tolclofos-methyl คณะกรรมาธิการยุโรปได้ลงความเห็นว่า ค่า CXLs ดังกล่าว ไม่ส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภคในสหภาพยุโรป ดังนั้น จึงเห็นควรให้กำหนดค่า MRLs ตามค่า CXLs ของ Codex และให้บรรจุอยู่ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ยกเว้นสารที่ไม่ได้บรรจุอยู่ในภาคผนวกหรือถูกกำหนดไว้ที่ระดับต่ำกว่าค่า MRLs อาทิ สาร chlorantraniliprole สาร kresoxim-methyl สาร mesotrione สาร pendimethalin สาร pyriofenone สาร pyriproxyfen และสาร tebuconazole

     6. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R1324&from=EN