free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืชในสินค้าพืช

สหภาพยุโรปปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืชในสินค้าพืช

Featured Image by Chris Ensminger on Unsplash

Commission Regulation  (EU)  2023/173  ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 6 รายการ ได้แก่ สาร 1-methyl-3-(trifluoromethyl)-1H-pyrazole-4-carboxamide (PAM) สาร cycloxydim สาร cyflumetofen สาร cyfluthrin สาร metobromuron และสาร penthiopyradในสินค้าพืช ใน EU Official Journal  L 25/1 ดังนี้

          คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 6 รายการ ได้แก่ สาร 1-methyl-3-(trifluoromethyl)-1H-pyrazole-4-carboxamide (PAM) สาร cycloxydim สาร cyflumetofen สาร cyfluthrin สาร metobromuron และสาร penthiopyrad ในสินค้าพืช ดังนี้

  1. สาร cyfluthrin ปรับลดระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้ – – แอปเปิ้ล ที่ระดับ 0,1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     แพร์ ที่ระดับ 0,1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     มันฝรั่ง ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     พริกหยวก/พริกหวาน ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     กะหล่ำหัว ที่ระดับ 0,08 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เครื่องเทศผลไม้ (fruit spices) ที่ระดับ 0,03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เครื่องเทศจากรากและเหง้า ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     สุกร (กล้ามเนื้อ ตับ และไต) ที่ระดับ 0,01 – 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     วัว (กล้ามเนื้อ ตับ และไต) ที่ระดับ 0,01 – 0,02  มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     แกะ (กล้ามเนื้อ ตับ และไต) ที่ระดับ 0,01 – 0,02  มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     แพะ (กล้ามเนื้อ ตับ และไต) ที่ระดับ 0,01 – 0,02  มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ม้า (กล้ามเนื้อ ตับ และไต) ที่ระดับ 0,01 – 0,02  มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     สัตว์ปีก (กล้ามเนื้อ ตับ และไต) ที่ระดับ 0,01 – 0,02  มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     นมม้า ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ไข่นก ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  • ปรับเพิ่มระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้

–    เกรฟฟรุ๊ต ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ส้ม ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม                                                                                               

  –     เลมอน ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ไลม์ ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ส้มแมนดาริน ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     มะเขือเทศ ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

–    มะเขือ ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เรฟซีด/คาโนลาซีด ที่ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เมล็ดฝ้าย ที่ระดับ 0,7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  • กำหนดให้คงค่า MRLs ในถั่วเหลือง ไขมันสัตว์ (สุกร วัว แกะ แพะ และม้า) นม (วัว แกะ และแพะ)
  • กำหนดให้ปรับใช้ค่าโดยปริยาย (default value) ในกะหล่ำดอก ที่ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งต่ำกว่าค่าที่ Codex กำหนด (CXLs)
  • คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในข้าวบาร์เลย์และข้าวสาลี ไม่ครบถ้วน ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ 2. สาร cycloxydim  
  • ปรับลดระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้ – แอปเปิ้ล ที่ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     แพร์ ที่ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     แอพริคอท ที่ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     พีช ที่ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     องุ่นรับประทาน/องุ่นทำไวน์ ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เซเลรี่รากเทอร์นิพ ที่ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ถั่วลันเตา (สด/มีฝัก) ที่ระดับ 30 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เฟนเนล ที่ระดับ 0,1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     อาร์ติโชก ที่ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เรฟซีด/คาโนลาซีด ที่ระดับ 7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     รากบีทน้ำตาล ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     สัตว์ปีก (กล้ามเนื้อ ไขมัน และไต) ที่ระดับ 0,03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  • ปรับเพิ่มระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้

–    สตรอว์เบอร์รี ที่ระดับ 4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     มันฝรั่ง ที่ระดับ 4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     มันเทศ ที่ระดับ 0,6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  • บีทรูท ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ฮอร์สเรดิช ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     พาร์ทนิบ ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     รากพาร์เลย์ ที่ระดับ 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     แรดิช ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ซัลซิไฟส์ ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม                                                                                              

  –     สวีด/รูทาบากาส ที่ระดับ 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เทอร์นิพ ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     กระเทียม ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     หอมแดง ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

–    บรอกโคลี ที่ระดับ 9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     กะหล่ำดอก ที่ระดับ 9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     กะหล่ำดาว ที่ระดับ 9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  • กะหล่ำหัว ที่ระดับ 9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     โคลลาบี ที่ระดับ 9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     รอคเก็ทโรมัน ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     มัสตาร์ทแดง ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     พืชใบเล็ก (รวมพืชพันธุ์กะหล่ำ)  ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เพิร์สเลน ที่ระดับ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ชาร์ด/ใบบีท ที่ระดับ 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     สมุนไพรและดอกไม้รับประทานได้ ที่ระดับ 0,8 – 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ถั่ว (ไม่มีฝัก) ที่ระดับ 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เลนทิล ที่ระดับ 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

–    ลูพิน ที่ระดับ 20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เมล็ดป๊อบปี้ ที่ระดับ 7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เมล็ดทานตะวัน ที่ระดับ 7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  • เมล็ดมัสตาร์ท ที่ระดับ 6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เมล็ดฝ้าย ที่ระดับ 7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     เมล็ดโบราจ ที่ระดับ 7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     วัว (กล้ามเนื้อ ไขมัน และไต) ที่ระดับ 0,1 – 0,8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     แกะ (กล้ามเนื้อ ไขมัน และไต) ที่ระดับ 0,1 – 0,9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     แพะ (กล้ามเนื้อ ไขมัน และไต) ที่ระดับ 0,1 – 0,9  มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ม้า (กล้ามเนื้อ ไขมัน และไต) ที่ระดับ 0,1 – 0,8  มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     นม (วัว แกะ แพะ และม้า) ที่ระดับ 0,06 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ไข่นก ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  • คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในต้นหอม สลัดคอร์น เอสคารอล เครสและผักงอกอื่นๆ แลนด์เครส ข้าวโพด และชาสมุนไพรจากราก ไม่ครบถ้วน ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ 3. สาร cyflumetofen
  • กำหนดให้คงค่า MRLs ในผลไม้กลุ่มส้ม ถั่วเปลือกแข็ง โพมฟรุ๊ต แอพริคอท พีช องุ่นรับประทาน/องุ่นทำไวน์ สตรอว์เบอร์รี อาซารอล/เมดลาร์เมดิเตอเรเนียน กากี/พลับญี่ปุ่น มะเขือเทศ มะเขือ แตงกวา และฮอพ
  • คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้คงระดับค่า  MRLs หรือตามที่ EFSA  กำหนด  และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในสุกร (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) วัว (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) แกะ (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) แพะ (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) ม้า (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) และนม (วัว แกะ แพะ และม้า) ไม่ครบถ้วน ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ 4. สาร metobromuron
  • กำหนดให้ปรับชนิดสารพิษตกค้างที่กำหนดให้ตรวจ  (residue  definition)  ค่ารวมของสาร metobromuron และสาร 4-bromophenylurea ของสาร metobromuron
  • คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้คงระดับค่า MRLs หรือตามที่ EFSA กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในสตรอว์เบอร์รี มันฝรั่ง แครอท พารส์นิพ คอร์นสลัด ผักโขม วอเตอร์เครส ใบเซเลรี่ พาร์เลย์ เสจ ไทม์ เบซิล/ดอกไม้บริโภคได้ ถั่ว (มีฝัก) ถั่ว (ไม่มีฝัก) หน่อไม้ฝรั่ง เฟนเนล ถั่ว ถั่วลันเตา เมล็ดทานตะวัน ถั่วเหลือง สุกร (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) วัว (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) แกะ (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) แพะ (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) ม้า (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) และนม (วัว แกะ แพะ และม้า)  ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ 5. สาร penthiopyrad
  • กำหนดให้แยกชนิดสารพิษตกค้างที่กำหนดให้ตรวจ  (residue  definition) ในสินค้าจากสัตว์ ของสาร penthiopyrad และสาร 1-methyl-3-(trifluoromethyl)-1H-pyrazole-4-carboxamide ออกจากกัน เพื่อให้สามารถตรวจหาเมตาบอไลต์ของสาร PAM จากการใช้สาร penthiopyrad สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ และให้ปรับใช้ค่าโดยปริยาย (default value) ที่ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตาม Regulation (EC) No 396/2005 มาตรา 18(1)(b) ในสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ (ทั้งนี้ ไม่ครอบคลุมสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากพืช)
  • กำหนดให้ปรับลดค่า MRLs ในสินค้า ดังนี้

  –     แอพริคอท ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     พีช ที่ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ข้าวโอ๊ต ที่ระดับ 0,2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  • กำหนดให้ปรับเพิ่มค่า MRLs ในสินค้า ดังนี้

  –     ข้าวไรย์ ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  –     ข้าวสาลี ที่ระดับ 0,15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  • คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้คงระดับค่า  MRLs  หรือตามที่ EFSA  กำหนด และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในต้นหอม สลัดคอร์น ผักกาด เครส และผักงอกอื่นๆ แลนด์เครส รอคเก็ทโรมัน มัสตาร์ทแดง พืชใบเล็ก (รวมพืชพันธุ์กะหล่ำ)  ผักโขม เพิร์สเลน ชาร์ด/ใบบีท เชอร์วิล ไชว์ คาร์ดูน เซเลรี่ เฟนเนล ต้นกระเทียม รูบาร์บ เมล็ดฝ้าย ข้าวบาร์เลย์ และข้าวฟ่าง คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ                                                                                                              
  • กำหนดให้ปรับใช้ค่า MRLs ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) หรือค่าโดยปริยาย (default value) ที่ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในสินค้าทุกชนิดที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์อารักพืชที่ไม่ได้รับอนุญาตในสหภาพยุโรป และไม่ได้มีการอนุโลมภายใต้ Import tolerances หรือการกำหนดค่า CXLs ของ Codex ตาม Regulation (EC) No 396/2005 มาตรา 18(1)(b)
  • กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับสารทั้ง 6 รายการ ในสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรปหรือสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2566 โดยให้สามารถใช้ค่า MRLs เดิม
  • กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน  EU  Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2566) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้
https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32023R0173&from=EN