free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับมาตรการตรวจสอบควบคุมชั่วคราว และการปรับใช้มาตรการฉุกเฉินกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่สาม

สหภาพยุโรปปรับมาตรการตรวจสอบควบคุมชั่วคราว และการปรับใช้มาตรการฉุกเฉินกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่สาม

  • คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2022/913 ว่าด้วย การปรับแก้ไข Commission Implementing Regulation (EU) 2019/1793 ในการเพิ่มการตรวจสอบควบคุมชั่วคราว และการปรับใช้มาตรการฉุกเฉินกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่สาม ภายใต้ Regulation (EU) 2017/625 และ Regulation (EC) No 178/2002 ใน EU Official Journal L 158/1 โดยมีรายละเอียดดังนี้

         1) การแก้ไข Implmenting Regulation (EU) 2019/1793

1. แก้ไขมาตรา 1 ว่าด้วย ขอบเขตของกฎระเบียบฯ เป็นการออกข้อกำหนดในการตรวจสอบและมาตรการฉุกเฉินสำหรับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่สาม  

ข้อ (3) ดังนี้

                   « 3. กฎระเบียบนี้ไม่ปรับใช้กับสินค้าประเภทต่อไปนี้ เว้นแต่น้ำหนักสุทธิของสินค้าสด (fresh products) เกินกว่า 5 กิโลกรัม หรือสินค้าอื่นๆ (other products) เกินกว่า 2 กิโลกรัม

2. สินค้าที่อยู่ในกระเป๋าเดินทางส่วนตัวของผู้โดยสาร และมีจุดประสงค์เพื่อการบริโภคหรือใช้ส่วนบุคคล

  • สินค้าที่ไม่ใช่เพื่อการค้าที่ส่งไปยังบุคคลธรรมดา โดยไม่มีจุดประสงค์เพื่อวางจำหน่ายในตลาด

    กฎระเบียบนี้ไม่ปรับใช้กับสินค้าประเภทต่อไปนี้ เว้นแต่น้ำหนักสุทธิของสินค้าสด (fresh products) เกินกว่า 50 กิโลกรัม หรือสินค้าอื่นๆ (other products) เกินกว่า 10 กิโลกรัม

3. สินค้าที่ส่งไปเป็นสินค้าตัวอย่าง ตัวอย่างสำหรับห้องปฎิบัติการ หรือใช้ในการแสดงสินค้า และไม่มีจุดประสงค์เพื่อวางจำหน่ายในตลาด

  • สินค้าเพื่อวัตถุประสงค์ทางการวิจัย
  • กฎระเบียบนี้ไม่ปรับใช้กับสินค้าอาหารและอาหารสัตว์ที่ระบุในวรรค 1 ข้อ (a) และข้อ (b) ที่อยู่บนพาหนะในการเดินทางระหว่างประเทศ โดยไม่ได้ถูกขนถ่ายลงและมีจุดประสงค์เพื่อการบริโภคของลูกเรือและผู้โดยสาร
  • ในกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับจุดประสงค์การใช้สินค้าที่ระบุในวรรค 3 วรรคย่อยที่ 1  ภาระการพิสูจน์ให้ขึ้นอยู่กับเจ้าของกระเป๋าสัมภาระส่วนบุคคลและผู้รับสินค้าตามลำดับ
  • หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักสามารถยกเว้นการตรวจสอบอัตลักษณ์ และกายภาพ รวมถึงการสุ่มตัวอย่าง   การตรวจวิเคราะห์โดยห้องปฏิบัติการ   ให้กับสินค้าอาหารและอาหารสัตว์ที่ไม่ได้มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ ที่เป็นสินค้าตัวอย่าง ตัวอย่างสำหรับห้องปฏิบัติการ สินค้าเพื่อใช้ในการแสดงสินค้า หรือเพื่อวัตถุประสงค์ทางการวิจัย ที่มีน้ำหนักเกินกว่าที่ระบุไว้ในวรรค 3 วรรคย่อยที่ 2. ที่ไม่มีจุดประสงค์เพื่อวางจำหน่ายในตลาด โดยมีเงื่อนไขว่า
  • สินค้ามีหนังสืออนุญาตการนำเข้าไปยังสหภาพยุโรป ที่ออกให้ล่วงหน้าโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศสมาชิกปลายทาง โดยต้องระบุ
  • วัตถุประสงค์เพื่อการนำเข้าไปยังสหภาพยุโรป
  • สถานที่จุดหมายปลายทาง
  • ให้หลักประกันว่า สินค้าจะไม่ถูกวางจำหน่ายในตลาดเป็นอาหารหรืออาหารสัตว์
  • ผู้ประกอบการสำแดงสินค้า ณ ด่านตรวจสอบขาเข้าไปยังสหภาพยุโรป
  • หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก  ณ   ด่านตรวจสอบขาเข้าของสหภาพยุโรปแจ้งให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศสมาชิกปลายทางทราบเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าดังกล่าวผ่านทางระบบ IMSOC

         2) ยกเลิกมาตรา 2 วรรค 2 ว่าด้วย การระบุถึงล๊อตสินค้าอาหารและอาหารสัตว์ที่ระบุในภาคผนวก II เกี่ยวกับความเสี่ยงการปนเปื้อนของสารไมโคทอกซิน และอัลฟลาทอกซิน สารปราบศัตรูพืช และสาร pentachlorophenol                      

         3) แก้ไขมาตรา 14 ว่าด้วย  ช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน

             อนุโลมให้สินค้าน้ำมันปาล์ม (palm oil) จากกานา สารเสริมอาหารผสมที่มีโลคัสบีนกัม (locust bean gum) หรือกัวร์กัม (guar gum)  จากอินเดีย และสารเสริมอาหารผสมที่มีโลคัสบีนกัม (locust bean gum) จากมาเลเซียและตุรกี ที่ส่งออกจากประเทศต้นกำเนิดหรือจากประเทศที่สามอื่นๆ ที่ไม่ใช่ประเทศต้นกำเนิด ที่ไม่มีหนังสือรับรองและผลการสุ่มตรวจวิเคราะห์ประกอบตามระบุในมาตรา 10 และมาตรา 11 ที่ส่งออกมาก่อนวันที่ Commission Implementing regulation (EU) 2022/913 มีผลบังคับใช้ (มีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2565) ให้สามารถส่งออกไปยังสหภาพยุโรปได้จนถึงวันที่ 3 กันยายน 2565

  4) การแก้ไขภาคผนวก

             4.1  แก้ไขภาคผนวก I, และ II ตามกฎระเบียบฉบับนี้ โดยสรุปดังนี้

                   (1) ภาคผนวก I (บัญชีตรวจสอบควบคุมชั่วคราว)

                          ก) ยกเลิกรหัสพิกัดศุลกากร (Combined Nomenclature : CN) 2008 19 13 40 และ 2008 19 93 40 ในถั่วผสมจากอาร์เจนตินา อียิปต์ กานา แกมเบีย อินเดีย และซูดาน จากที่ปัญหาการปนเปื้อนสารอัลฟลาทอกซินครอบคลุมเฉพาะถั่วลิสง (groundnuts)

                        ข) เพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ระดับร้อยละ 20 ในส้ม จากอียิปต์

                        ค) เพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารอัลฟลาทอกซินที่ระดับร้อยละ 30 ในเฮเซลนัต (hazelnuts) จากจอร์เจีย

                        ง) เพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ระดับร้อยละ 5 ในข้าว จากอินเดียและปากีสถาน

                        จ) ปรับลดความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารอัลฟลาทอกซินและโอคราท็อกซิน เอ ที่ระดับร้อยละ 5 ในข้าวทุกชนิด จากอินเดียและปากีสถาน                                                                                                    

                        ฉ) เพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ระดับร้อยละ 20 ในถั่วฝักยาวและฝรั่ง จากอินเดีย

                        ช) สำหรับไทย คือ กำหนดเพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ระดับร้อยละ 30 (จากเดิมร้อยละ 20) ในพริก (Capsicum) ที่ไม่ใช่พริกหวาน จากไทย (พริกสด พริกแช่เย็น และพริกแช่แข็ง)        

                       ซ) กำหนดให้ยกเลิกรหัสพิกัดศุลกากร (CN codes) ที่ไม่สอดคล้องกับสินค้าในภาคผนวก I ดังนี้

                                 – CN ex0807 19 00 70 เมลอนจากฮอนดูรัส

                                 – CN  ex0709 99 90 25 ใบบัวบก (gotu kola) จากศรีลังกา

                                 – CN 1211 90 86 10 ออริกาโนแห้งจากตุรกี

                     ฌ) เพิ่มการระบุ TARIC sub-division สำหรับรหัสพิกัดศุลกากร ดังนี้

                           – CN ex0709 99 90 มะรุม (drumsticks) จากอินเดีย

                           – CN ex1211 90 86 ใบบัวบก (gotu kola) จากศรีลังกา

                     (2) ภาคผนวก II (บัญชีเงื่อนไขพิเศษ)

                         ก) กำหนดให้น้ำมันปาล์ม (palm oil) จากกานา จากเดิมถูกบรรจุอยู่ในภาคผนวก I (บัญชีตรวจสอบควบคุมชั่วคราว) ให้ย้ายไปบรรจุอยู่ในภาคผนวก II (บัญชีเงื่อนไขพิเศษ) เนื่องจากผลการสุ่มตรวจพบปัญหาสีซูดานเรด มีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยกำหนดให้กานาต้องทำการสุ่มตรวจวิเคราะห์ก่อนการส่งออก เพื่อรับรองว่า น้ำมันปาล์มปลอดจากสีซูดานเรด เพื่อใช้ประกอบไปกับหนังสือรับรองการนำเข้า และเพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจที่ระดับร้อยละ 50  

                        ข) กำหนดให้จันทน์เทศ (nutmeg) จากอินเดีย จากเดิมถูกบรรจุอยู่ในภาคผนวก II (บัญชีเงื่อนไขพิเศษ) ให้ย้ายไปบรรจุอยู่ในภาคผนวก I (บัญชีตรวจสอบควบคุมชั่วคราว) เนื่องจากผลการสุ่มตรวจพบปัญหาสารอัลฟลาทอกซินมีปริมาณลดลง โดยกำหนดให้อินเดียไม่ต้องทำการสุ่มตรวจวิเคราะห์ก่อนการส่งออก เพื่อรับรองว่า จันทน์เทศปลอดจากสารอัลฟลาทอกซินเพื่อใช้ประกอบไปกับหนังสือรับรองการนำเข้า หากกำหนดความเข้มงวดในการสุ่มตรวจที่ระดับร้อยละ 30  

                        ค) เพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารอัลฟลาทอกซินที่ระดับร้อยละ 30  ในจันทน์เทศ จากอินโดนีเซีย

                        ง) เพิ่มความเข้มงวดในการสุ่มตรวจสารเอทิลีนออกไซด์ (ethylene oxide) ที่ระดับร้อยละ 20 ในสารเสริมอาหารผสม (mixture of food additives) ที่มีโลคัสบีนกัม (locust bean gum) หรือกัวร์กัม (guar gum)  จากอินเดีย และสารเสริมอาหารผสมที่มีโลคัสบีนกัม (locust bean gum) จากมาเลเซียและตุรกี

                        จ) ปรับลดการสุ่มตรวจสารเอทิลีนออกไซด์ (ethylene oxide) จากเดิมในเครื่องเทศ (spices) รหัสพิกัด CN 0910 เป็นเฉพาะการสุ่มตรวจในเครื่องเทศแห้ง (dried spices) ที่ระดับร้อยละ 20 จากอินเดีย                        

                             ฉ) ปรับแก้การระบุรหัส CN และ TARIC sub-division ของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็น ex 1902 30 10 ในการสุ่มตรวจสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ระดับร้อยละ 20 ในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจากเกาหลีใต้และเวียดนาม 

    2. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R0913&from=EN