free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสมะเขือเทศ (ToBRFV) ที่เข้าไปและแพร่ระบาดในสหภาพยุโรป

สหภาพยุโรปปรับมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสมะเขือเทศ (ToBRFV) ที่เข้าไปและแพร่ระบาดในสหภาพยุโรป

food summer garden agriculture
Photo by ROMAN ODINTSOV on Pexels.com

    คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2021/1809 ว่าด้วย การ

ปรับ Implementing Regulation (EU) 2020/1191 เกี่ยวกับมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสมะเขือเทศ (ToBRFV) ที่เข้าไปยังสหภาพยุโรป และแพร่ระบาดภายในสหภาพยุโรป ใน EU Official Journal L 365/41 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ให้ปรับแก้ Commission Implementing Regulation (EU) 2020/1191 ดังนี้
  • มาตรา 1 ข้อ (b), (c) และ (d) (ว่าด้วย คำนิยาม) กำหนดใหม่ ดังนี้

« (b) พืชที่ระบุ (specified plants) หมายถึง พืช นอกเหนือไปจากเมล็ดพืชเฉพาะและผลเฉพาะ

ของมะเขือเทศ (Solanum lycopersicum L.)  มะเขือเทศพันธุ์ลูกผสม (hybrids) และพริก (Capsicum spp.)  

      (c) เมล็ดพืชที่ระบุ (specified plants) หมายถึง เมล็ดพืชของมะเขือเทศ (Solanum

lycopersicum L.)  มะเขือเทศพันธุ์ลูกผสม (hybrids) และพริก (Capsicum spp.)  

      (d) ผลที่ระบุ (specified fruits) หมายถึง ผลของมะเขือเทศ (Solanum lycopersicum L.)  

มะเขือเทศพันธุ์ลูกผสม (hybrids) และพริก (Capsicum spp.)  »

  • มาตรา 4 กำหนดใหม่ ดังนี้

« มาตราเกี่ยวกับการยืนยันการตรวจพบศัตรูพืชที่ระบุ

  1. ในกรณีที่มีศัตรูพืชหรือสงสัยว่ามีศัตรูพืชที่ระบุ ซึ่งได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการในอาณาเขตของประเทศสมาชิก หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศสมาชิกที่เกี่ยวข้องต้องปรับใช้มาตรการที่เหมาะสมในการกำจัดศัตรูพืชที่ระบุดังกล่าว ตามมาตรา 17 Regulation (EU) 2016/2031

นอกจากนี้ หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักจะต้องดำเนินมาตรการตามที่กำหนดไว้ในวรรค 2 และ 3 ของมาตรานี้ เว้นแต่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรา 18(4) Regulation (EU) 2016/2031 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศัตรูพืชที่ระบุด้วยแล้ว

  • ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักกำหนดพื้นที่แบ่งเขต (demarcated area) ในทันที ดังต่อไปนี้

(ก) ในกรณีที่มีศัตรูพืชที่ระบุอยู่ในสถานที่ผลิตที่มีการป้องกันทางกายภาพ กำหนดให้พื้นที่แบ่งเขตครอบคลุมอย่างน้อยสถานที่ผลิตที่มีการตรวจพบศัตรูพืชที่ระบุ

(ข) ในกรณีที่มีศัตรูพืชที่ระบุในสถานที่ผลิต นอกเหนือจากที่อ้างถึงในข้อ (ก) พื้นที่แบ่ง

เขตจะประกอบด้วย

  • เขตติดเชื้อ (infested zone) รวมถึงอย่างน้อยสถานที่ผลิตที่มีการตรวจพบศัตรูพืชที่ระบุ
  • เขตกันชน (buffer zone) อย่างน้อย 30 เมตรรอบเขตติดเชื้อ
  • ในพื้นที่แบ่งเขต หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักหรือผู้ประกอบวิชาชีพภายใต้การดูแลอย่างเป็นทางการของหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักจะต้อง
  • สำหรับสถานที่ผลิตเพื่อการผลิตพืชเพื่อการเพาะปลูกที่ระบุหรือเพื่อการผลิตเมล็ดพืชที่ระบุ
  • กำจัดและทำลายล็อตพืชเพื่อการเพาะปลูกที่ติดเชื้อทั้งหมดทันที และเมล็ดพืชที่ระบุที่มาจากล็อตดังกล่าวด้วยหากมี การกำจัดและการทำลายจะต้องดำเนินการในลักษณะที่ไม่มีความเสี่ยงของการแพร่กระจายศัตรูพืชที่ระบุ
  • ปรับใช้มาตรการสุขอนามัยเฉพาะกับบุคลากร โครงสร้างสถานที่ผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ และวิธีการขนส่ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของศัตรูพืชที่ระบุไปยังพืชล็อตอื่น ๆ ที่มีอยู่ในสถานที่ผลิต และพืชผลต่อเนื่องของพืชที่ระบุหรือไปยังสถานที่ผลิตอื่นๆ
  • ทําลายหรือบํารุงรักษาสถานที่เพาะเลี้ยง (growing medium) อย่างน้อยเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลปลูก จนพบว่าไม่มีความเสี่ยงที่สามารถระบุได้ของการแพร่กระจายศัตรูพืชที่ระบุ
  • สำหรับสถานที่ผลิตเพื่อการผลิตผลที่ระบุ
  • กำจัดหรือทำลายพืชที่ระบุทั้งหมดในสถานที่ผลิต อย่างน้อยเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลปลูก การกำจัดจะต้องดำเนินการในลักษณะที่ไม่มีความเสี่ยงของการแพร่กระจายศัตรูพืชที่ระบุ
  •  ปรับใช้มาตรการสุขอนามัยเฉพาะกับบุคลากร โครงสร้างสถานที่ผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ วิธีการบรรจุและขนส่งของผล (fruits) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของศัตรูพืชที่ระบุไปยังพืชผลต่อเนื่องของพืชที่ระบุหรือไปยังสถานที่ผลิตอื่นๆ
  •  ทําลายหรือบํารุงรักษาสถานที่เพาะเลี้ยง (growing medium) อย่างน้อยเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลปลูก จนพบว่าไม่มีความเสี่ยงที่สามารถระบุได้ของการแพร่กระจายศัตรูพืชที่ระบุ
  • หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักสามารถยกเลิกพื้นที่แบ่งเขตและยุติมาตรการกำจัดที่เกี่ยวข้อง

ภายหลังจากการสุ่มตัวอย่างและการทดสอบพืชที่ระบุของการเพาะปลูกต่อจากนั้น โดยพบว่าพื้นที่ดังกล่าวปลอดจากศัตรูพืชที่ระบุเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือนหลังจากการปลูกพืชดังกล่าว »

  • มาตรา 7(1) วรรคย่อยแรก ข้อ (b) กำหนดใหม่ ดังนี้

 « (b) พืชหรือพืชต้นแม่ของพืชดังกล่าวได้ผ่านการสุ่มตัวอย่างและทดสอบศัตรูพืชที่ระบุโดย

หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักแล้ว หรือได้รับการสุ่มตัวอย่างและทดสอบโดยผู้ประกอบวิชาชีพภายใต้การดูแลอย่างเป็นทางการของหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักแล้ว  และพบว่าจากการทดสอบดังกล่าว ไม่มีศัตรูพืชที่ระบุ ในกรณีที่พืชต้นแม่ได้รับการทดสอบแล้ว การสุ่มตัวอย่างต้องกระทำภายในเวลาที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้ก่อนการเก็บเกี่ยวครั้งแรกของผลนั้น

ในกรณีที่สงสัยว่ามีศัตรูพืชที่ระบุ ให้ทำการสุ่มตัวอย่างและทดสอบโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ตามมาตรา 87(3) ข้อ (c) Regulation (EU) 2016/2031 »

  • มาตรา 9(1) ข้อ (a) (ii)  กำหนดใหม่ ดังนี้

« เมล็ดพืชที่ระบุที่เกี่ยวข้องหรือพืชต้นแม่ของเมล็ดพืชที่ระบุที่เกี่ยวข้อง ได้ผ่านการสุ่มตัวอย่างและ

ทดสอบศัตรูพืชที่ระบุตามภาคผนวก และพบว่าจากการทดสอบไม่มีศัตรูพืชที่ระบุ

  ในกรณีที่ทดสอบพืชต้นแม่แล้ว การสุ่มตัวอย่างต้องกระทำภายในเวลาที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้

ก่อนการเก็บเกี่ยวครั้งแรกของผลนั้น  »

                                                                                                                      

  • มาตรา 10 กำหนดใหม่ ดังนี้

« การตรวจสอบอย่างเป็นทางการ (official checks) ในการนำเข้าไปยังสหภาพยุโรป

   ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของเมล็ดพืชที่ระบุและพืชที่ระบุเพื่อการเพาะปลูก จะต้องถูกสุ่มตัว

อย่างและทดสอบโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก ณ ด่านตรวจสอบเมื่อสินค้าเดินทางมาถึงสหภาพยุโรปครั้งแรกหรือ ณ จุดควบคุมในสหภาพยุโรปที่ระบุ ใน Commission Delegated Regulation (EU) 2019/2123 ตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวกของกฎระเบียบฉบับนี้

    สำหรับเมล็ดพืชที่ระบุและพืชที่ระบุเพื่อการเพาะปลูกที่มาจากประเทศอิสราเอล ให้ถูกสุ่มตัวอย่างและทดสอบที่ร้อยละ 50 และสำหรับเมล็ดพืชที่ระบุที่มาจากประเทศจีน ให้ถูกสุ่มตัวอย่างและทดสอบที่ร้อยละ 100 »

  • มาตรา 12 (ว่าด้วย ระยะเวลาที่ปรับใช้) ให้เปลี่ยนจากจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 เป็นจนถึง  « วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 »
  • ภาคผนวก (Annex) กำหนดรูปแบบการสุ่มตัวอย่างของพืชที่ระบุ นอกจากพริก ซึ่งเป็นพันธุ์

ที่ทนทาน (resistant) ต่อศัตรูพืชที่ระบุ และวิธีการตรวจสอบเพื่อตรวจหาและระบุศัตรูพืชที่ระบุในพืชที่ระบุ นอกเหนือจากพริก ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ทนทานต่อศัตรูพืชที่ระบุและผลที่ระบุ

2. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2564) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32021R1809&from=EN