free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับแก้ไขค่าปริมาณขีดจำกัดที่ยอมรับได้สูงสุด (MLs) ของสารปนเปื้อนอันตรายในอาหาร

สหภาพยุโรปปรับแก้ไขค่าปริมาณขีดจำกัดที่ยอมรับได้สูงสุด (MLs) ของสารปนเปื้อนอันตรายในอาหาร

Featured Image by Mehrad Vosoughi under Pexels license

คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Regulation (EU) 2023/915 ว่าด้วย การปรับแก้ Regulation (EC) No 1881/2006 ในการกำหนดค่าปริมาณขีดจำกัดที่ยอมรับได้สูงสุด (MLs) ของสารปนเปื้อนอันตรายบางประเภทในอาหาร ใน EU Official Journal L 119/103 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรแก้ไขค่าปริมาณขีดจำกัดที่ยอมรับได้สูงสุด (MLs) ของสารปนเปื้อนอันตรายในอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อผู้บริโภค หรือให้อยู่ที่ระดับต่ำสุดเท่าที่จะกระทำได้ (ALARA: as low as reasonably achievable) ตามตารางที่ปรากฏในภาคผนวก ของ Commission Regulation (EU) 2023/915 โดยครอบคลุมสารกลุ่มอันตราย ดังนี้ สารกลุ่มไมโคท็อกซิน (Mycotoxins) ได้แก่ สารอัลฟลาท็อกซิน (Aflatoxins), สารโอคราท็อกซิน เอ (Ochratoxin A) , พาทูลิน (Patulin), ดีออกซีนิวาลีนอล (Deoxynivalenol) , ซีราลีโนน (Zearalenone), ฟูโมนิซิน (Fumonisins), ซิตรินิน (Citrinin), เออร์กอท สเคลอโรเตีย (Ergot sclerotia) และเออร์กอท อัลคาลอยด์ (Ergot alkaloids) สารกลุ่มสารพิษจากพืช (plant toxins) ได้แก่ กรดอีรูริค (Eruric acid), โทรเพน อัลคาลอยด์ (Tropane alkaloids), กรดไฮโดรไซยานิค (Hydrocyanic acid), ไพโรลิซิดีน อัลคาลอยด์ (Pyrrolizidine alkaloids), โอเพียม อัลคาลอยด์ (Opium alkaloids) และเดลตา-9-เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Delta-9-tetrahydrocannabinol) สารกลุ่มโลหะหนัก ได้แก่ ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท สารหนู และดีบุกอนินทรีย์สารกลุ่มสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Halogenated persistent organic pollutants) ได้แก่ สารไดออกซิน (Dioxins and PCBs) และสารเพอร์ฟลูออโรอัลคิล (perfluoroalkyl)สารกลุ่ม PAHs (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons) ได้แก่ สาร MCPD และ Glycidyl fatty acid esters สารปนเปื้อนอื่นๆ ได้แก่ ไนเตรต เมลามีน และพอร์เชอเรต (Perchlorate)
  2. กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้สินค้าอาหารที่มีรายชื่อในภาคผนวกของ  Commission Implementing Regulation (EU) 2023/915 ภาคผนวก สามารถวางจำหน่ายได้ไปจนกว่าช่วงอายุการเก็บรักษา/วันที่ควรบริโภคได้ระบุไว้ โดยอนุโลมให้ใช้ค่าปริมาณขีดจำกัดที่ยอมรับได้สูงสุด (MLs) เดิม ตามลำดับสาร ดังต่อไปนี้  

        2.1 โทรเพน อัลคาลอยด์ (Tropane alkaloids): อาหารทารกและอาหารแปรรูปจากธัญพืชสำหรับทารกและเด็กเล็กที่มีส่วนผสมของข้าวโพดหรือผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดที่วางจำหน่ายในตลาดก่อนวันที่ 19 กันยายน 2564 สามารถวางจำหน่ายได้ไปจนกว่าช่วงอายุการเก็บรักษา/วันที่ควรบริโภคได้ระบุไว้ โดยใช้ค่า MLs เดิม

        2.2 เออร์กอท สเคลอโรเตีย (Ergot sclerotia) และเออร์กอท อัลคาลอยด์ (Ergot alkaloids): สินค้าอาหารที่วางจำหน่ายในตลาดก่อนวันที่ 1 มกราคม 2565 สามารถวางจำหน่ายได้ไปจนกว่าช่วงอายุการเก็บรักษา/วันที่ควรบริโภคได้ระบุไว้ โดยใช้ค่า MLs เดิม                                                                                                             

        2.3 สารปรอท (mercury): สินค้าอาหารที่วางจำหน่ายในตลาดก่อนวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายได้ไปจนกว่าช่วงอายุการเก็บรักษา/วันที่ควรบริโภคได้ระบุไว้ โดยใช้ค่า MLs เดิม

        2.4 โอเพียม อัลคาลอยด์ (Opium alkaloids): สินค้าอาหารที่วางจำหน่ายในตลาดก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายได้ไปจนกว่าช่วงอายุการเก็บรักษา/วันที่ควรบริโภคได้ระบุไว้ โดยใช้ค่า MLs เดิม

        2.5 โทรเพน อัลคาลอยด์ (Tropane alkaloids): สินค้าอาหารที่วางจำหน่ายในตลาดก่อนวันที่ 1 กันยายน 2565 สามารถวางจำหน่ายได้ไปจนกว่าช่วงอายุการเก็บรักษา/วันที่ควรบริโภคได้ระบุไว้ โดยใช้ค่า MLs เดิม

        2.6 สารโอคราท็อกซิน เอ (Ochratoxin A): สินค้าอาหารที่วางจำหน่ายในตลาดก่อนวันที่ 1 มกราคม 2566 สามารถวางจำหน่ายได้ไปจนกว่าช่วงอายุการเก็บรักษา/วันที่ควรบริโภคได้ระบุไว้ โดยใช้ค่า MLs เดิม

        2.7 กรดไฮโดรไซยานิค (Hydrocyanic acid):  สินค้าอาหารที่วางจำหน่ายในตลาดก่อนวันที่ 1 มกราคม 2566 สามารถวางจำหน่ายได้ไปจนกว่าช่วงอายุการเก็บรักษา/วันที่ควรบริโภคได้ระบุไว้ โดยใช้ค่า MLs เดิม

        2.8 Δ9-THC และ Δ9-THCA: สินค้าอาหารที่วางจำหน่ายในตลาดก่อนวันที่ 1 มกราคม 2566 สามารถวางจำหน่ายได้ไปจนกว่าช่วงอายุการเก็บรักษา/วันที่ควรบริโภคได้ระบุไว้ โดยใช้ค่า MLs เดิม

        2.9 ไดออกซินและ DL-PCBs:  สินค้าอาหารที่วางจำหน่ายในตลาดก่อนวันที่ 1 มกราคม 2566 สามารถวางจำหน่ายได้ไปจนกว่าช่วงอายุการเก็บรักษา/วันที่ควรบริโภคได้ระบุไว้ โดยใช้ค่า MLs เดิม

        2.10 สารเพอร์ฟลูออโรอัลคิล (perfluoroalkyl): สินค้าอาหารที่วางจำหน่ายในตลาดก่อนวันที่ 1 มกราคม 2566 สามารถวางจำหน่ายได้ไปจนกว่าช่วงอายุการเก็บรักษา/วันที่ควรบริโภคได้ระบุไว้ โดยใช้ค่าMLs เดิม

        2.11 สารหนู (arsenic): สินค้าอาหารที่วางจำหน่ายในตลาดก่อนวันที่ 26 มีนาคม 2566 สามารถวางจำหน่ายได้ไปจนกว่าช่วงอายุการเก็บรักษา/วันที่ควรบริโภคได้ระบุไว้ โดยใช้ค่า MLs เดิม

        2.12 สารไพโรลิซิดีน อัลคาลอยด์ (Pyrrolizidine alkaloids): สินค้าอาหารที่วางจำหน่ายในตลาดก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายได้ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 โดยใช้ค่า MLs เดิม

        2.13 กำหนดให้ภาระในการพิสูจน์วันที่สินค้าวางตลาดอย่างถูกต้องตามกฎหมายตกเป็นของผู้ประกอบธุรกิจอาหาร

    3. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2566) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32023R0915