free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับแก้ไขบัญชีรายชื่อสารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีอันตรายภายใต้อนุสัญญารอตเตอร์ดัม

สหภาพยุโรปปรับแก้ไขบัญชีรายชื่อสารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีอันตรายภายใต้อนุสัญญารอตเตอร์ดัม

Featured Image by Zoe Schaeffer on Unsplash

คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Council Decision (EU) 2022/1024 ว่าด้วย การปรับแก้ไขบัญชีรายชื่อสารเคมีและสารกําจัดศัตรูพืชอันตราย ในภาคผนวก III ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัม* (Rotterdam Convention) เกี่ยวกับกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าในการค้าระหว่างประเทศ ใน EU Official Journal L 172/9โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1) คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาแล้วเห็นควรให้ปรับแก้ไข ภาคผนวก III บัญชีรายชื่อสารปราบศัตรูพืช (pesticides) และสารเคมีอันตราย (hazardous chemicals) ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ โดยให้เพิ่มรายชื่อสารดังต่อไปนี้  

          1.1) สาร acetochlor

          1.2) สาร carbosulfan

          1.3) สาร chrysotile asbestos

          1.4) สาร decabromodiphenyl ether

          1.5) สาร fenthion

          1.6) สูตรผสมเหลวบางชนิดที่มีสาร paraquat dichloride สารperfluorooctanoic acid (PFOA) its salts และ PFOA-related compounds

    2) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022D1024&from=EN

*อนุสัญญารอตเตอร์ดัม (Rotterdam Convention) ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 ว่าด้วย กระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสําหรับสารเคมีและสารกําจัดศัตรูพืชอันตรายในการค้าระหว่างประเทศ (Prior Informed Consent Procedure for Certain Hazardous Chemicals and Pesticides in International Trade : PIC) ในการควบคุมการนําเข้าและการส่งออกสารเคมีอันตรายต้องห้ามหรือจํากัดการใช้อย่างเข้มงวด โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food Agriculture Organization of the United Nations: FAO) จากปัญหาการจําหน่ายสารเคมีอันตรายที่ถูกห้ามใช้ในประเทศผู้ผลิตหรือประเทศผู้ส่งออกที่ถูกส่งไปยังประเทศกําลังพัฒนาหรือประเทศด้อยพัฒนา จึงได้กำหนดหลักการเกี่ยวกับการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้า (Prior Informed Consent Procedure: PIC) เพื่อกําหนดให้ประเทศผู้ผลิตหรือประเทศผู้ส่งออกต้องแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าและสอบถามความสมัครใจของประเทศผู้นําเข้าก่อน หากประเทศผู้นําเข้าอนุญาตจึงจะสามารถส่งออกสารเคมีอันตรายดังกล่าวได้