free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปยืนยันคงสถานะให้ไทยเป็นประเทศที่ปลอดเชื้อแบคทีเรีย Xylella fastidiosa ประจำปี 2567

สหภาพยุโรปยืนยันคงสถานะให้ไทยเป็นประเทศที่ปลอดเชื้อแบคทีเรีย Xylella fastidiosa ประจำปี 2567

photo of red hibiscus flower
Photo by Rakib Hasan on Pexels.com

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 สหภาพยุโรปได้ยืนยันคงสถานะให้ไทยอยู่ในบัญชีรายชื่อประเทศที่สามที่ปลอดเชื้อแบคทีเรีย Xylella fastidiosa (ประจำปี 2567) บนเว็บไซต์ของ DG SANTE ได้ต่อไป สืบเนื่องจากที่กรมวิชาการเกษตรได้จัดส่งข้อมูลการแจ้งสถานะ (declaration) ของไทยเพื่อยืนยันการเป็นประเทศที่ปลอดเชื้อแบคทีเรีย Xylella fastidiosa* เป็นที่เรียบร้อยก่อนหน้านี้ ส่งผลให้ไทยสามารถส่งออกพืชที่มีสถานะเป็นพืชอาศัย (host plant) ของเชื้อแบคทีเรีย Xylella fastidiosa (Wells et al.) มายังสหภาพยุโรปได้ อาทิ มะเดื่อฝรั่ง (Ficus carica L.) ต้นยูฟอร์เบีย (Euphorbia) และต้นชบา (Hibiscus)  ซึ่งไทยถือเป็น 1 ใน 20 ประเทศทั่วโลก (ออสเตรเลีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา หมู่เกาะคะแนรี อียิปต์ ญี่ปุ่น เคนยา มอนเตเนโกร โมร็อกโก นิวซีแลนด์ มาซิโดเนียเหนือ นอร์เวย์ สาธารณรัฐมอลโดวา เซอร์เบีย แอฟริกาใต้ แทนซาเนีย ไทย ตูนิเซีย ตุรกี ยูกันดา และสหราชอาณาจักร) ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่ปลอดเชื้อแบคทีเรีย Xylella fastidiosa อันจะส่งผลดีต่อการส่งออกพืชไม้ดอกไม้ประดับดังกล่าว ในขณะที่ประเทศคู่แข่งอื่นๆ (อาทิ เกาหลี เวียดนาม และจีน) สามารถส่งออกได้อย่างจำกัด เฉพาะพืชที่มาจากแหล่งผลิตที่อยู่ภายใต้การควบคุมเท่านั้น

* Commission Implementing Regulation (EU) 2020/1201  ว่าด้วย การนำเข้าพืชอาศัย (host plants) ของ Xylella fastidiosa ที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศที่สาม กำหนดให้ NPPO ของประเทศที่สามต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงคณะกรรมาธิการยุโรปว่า ศัตรูพืชที่ระบุนั้นไม่ปรากฎอยู่ในประเทศ โดยจากการสำรวจและการสุ่มตัวอย่างที่สามารถระบุการติดเชื้อของพืชได้ในระดับร้อยละ 1 ภายใต้ระดับความเชื่อมั่นที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ตามหลักเกณฑ์ของ EFSA

https://food.ec.europa.eu/plants/plant-health-and-biosecurity/trade-plants-plant-products-non-eu-countries/declarations-non-eu_en#2020/1201