free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปอนุญาตสารเสริมในอาหารสัตว์

สหภาพยุโรปอนุญาตสารเสริมในอาหารสัตว์

Featured Image by Thomas Iversen on Unsplash

1. Commission Implementing Regulation (EU) 2022/320 ว่าด้วย การอนุญาตให้น้ำมันหอมระเหยสกัดจากส้มแมนดาริน (expressed mandarin essential oil)  เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ ใน EU Official Journal L 55/41 โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1) คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้น้ำมันหอมระเหยสกัดจากส้มแมนดาริน (expressed mandarin essential oil) เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ (feed additive) ภายใต้กลุ่มสารเสริมทางประสาทสัมผัส (sensory additives) โดยมีหน้าที่เป็นสารแต่งกลิ่น (flavouring compounds) และอนุญาตให้ใช้กับสัตว์ปีก สุกร สัตว์เคี้ยวเอื้อง ม้า กระต่าย และปลาซัลมอน เป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่กฎระเบียบฯ มีผลบังคับใช้ ไปจนถึงวันที่ 20 มีนาคม 2575 เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการใช้งาน ผู้ใช้งานจึงควรสวมใส่ชุดป้องกัน

    2) คณะกรรมาธิการยุโรปอนุญาตให้ใช้สารเสริมดังกล่าว ดังนี้

        (1) สัตว์ปีก กระต่าย ปลาซัลมอน ระดับสูงสุดไม่เกิน 15 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        (2) สุกร  ระดับสูงสุดไม่เกิน 33 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        (3) สัตว์เคี้ยวเอื้อง ระดับสูงสุดไม่เกิน 30 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        (4) ม้า ระดับสูงสุดไม่เกิน 40 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

    3) คณะกรรมาธิการยุโรปได้กำหนดมาตรการเปลี่ยนผ่านดังนี้

        (ก) น้ำมันหอมระเหยสกัดจากส้มแมนดาริน และสารผสมล่วงหน้า (premixture) ที่มีส่วนประกอบของสารดังกล่าวที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 20 กันยายน 2565 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 20 มีนาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า

        (ข) อาหารสัตว์ผสม (compound feeds) และวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) ที่ใช้สำหรับสัตว์ที่ผลิตเพื่อเป็นอาหาร ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยสกัดจากส้มแมนดาริน ที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 20 มีนาคม ๒๕66 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 20 มีนาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า

    4) กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ๒๐ วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R0320&from=EN

2. Commission Implementing Regulation (EU) 2022/347 ว่าด้วย การอนุญาตให้น้ำมันหอมระเหยจากต้นส้มขม (petitgrain bigarade essential oil)  เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ ใน EU Official Journal L 64/1 โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1) คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้น้ำมันหอมระเหยจากต้นส้มขม (petitgrain bigarade essential oil) เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ (feed additive) ภายใต้กลุ่มสารเสริมทางประสาทสัมผัส (sensory additives) โดยมีหน้าที่เป็นสารแต่งกลิ่น (flavouring compounds) และอนุญาตให้ใช้กับสัตว์ปีก สุกร วัว แพะ แกะ ม้า กระต่าย ปลาซัลมอน สุนัข แมว และปลาสวยงาม เป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่กฎระเบียบฯ มีผลบังคับใช้ ไปจนถึงวันที่ 22 มีนาคม 2575 เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการใช้งาน ผู้ใช้งานจึงควรสวมใส่ชุดป้องกัน                                                                                                 

    2) คณะกรรมาธิการยุโรปแนะนำให้ใช้สารเสริมดังกล่าว ดังนี้

        (1) ไก่เพื่อขุน ระดับสูงสุดไม่เกิน 10 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        (2) ไก่เพื่อไข่ ระดับสูงสุดไม่เกิน 14 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        (3) ไก่งวงเพื่อขุน ระดับสูงสุดไม่เกิน 13 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        (4) สุกรเพื่อขุน ระดับสูงสุดไม่เกิน 20 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        (5) ลูกสุกร ระดับสูงสุดไม่เกิน 17 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        (6) แม่สุกรที่กำลังให้นม ระดับสูงสุดไม่เกิน 25 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        (7) ลูกวัว ระดับสูงสุดไม่เกิน 43 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        (8) วัวเพื่อขุน แพะ แกะ และม้า ระดับสูงสุดไม่เกิน 38 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        (9) วัวนม ระดับสูงสุดไม่เกิน 24 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        (10) กระต่าย ระดับสูงสุดไม่เกิน 15 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        (11) ปลาซัลมอน ระดับสูงสุดไม่เกิน 42 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        (12) สุนัข ระดับสูงสุดไม่เกิน 44 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        (13) แมว ระดับสูงสุดไม่เกิน 8 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        (14) ปลาสวยงาม ระดับสูงสุดไม่เกิน 125 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

    3) คณะกรรมาธิการยุโรปได้กำหนดมาตรการเปลี่ยนผ่านดังนี้

        (ก) น้ำมันหอมระเหยจากต้นส้มขม และสารผสมล่วงหน้า (premixture) ที่มีส่วนประกอบของสารดังกล่าวที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 22 กันยายน 2565 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 22 มีนาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า

        (ข) อาหารสัตว์ผสม (compound feeds) และวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) ที่ใช้สำหรับสัตว์ที่ผลิตเพื่อเป็นอาหาร ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยจากต้นส้มขม ที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 22 มีนาคม 2566 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 22 มีนาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า

        (ค) วัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) และอาหารสัตว์ผสม (compound feeds) ที่ไม่ใช้สำหรับสัตว์ที่ผลิตเพื่อเป็นอาหาร ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยจากต้นส้มขม ที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 22 มีนาคม 2567 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 22 มีนาคม 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า

    4) กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 2 มีนาคม 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R0347&from=EN