free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปอนุญาตสารเสริมในอาหารสัตว์

สหภาพยุโรปอนุญาตสารเสริมในอาหารสัตว์

1. Commission Implementing Regulation (EU) 2022/1412 ว่าด้วย การอนุญาตให้น้ำมันหอมระเหยกระดังงา (ylang ylang essential oil) จากกระดังงาสงขลา (Cananga odorata (Lam) Hook f. & Thomson เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ ใน EU Official Journal L 217/1 โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1) คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้น้ำมันหอมระเหยกระดังงา (ylang ylang essential oil จากกระดังงาสงขลา (Cananga odorata (Lam) Hook f. & Thomson เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ (feed additive) ภายใต้กลุ่มสารเสริมทางประสาทสัมผัส (sensory additives) โดยมีหน้าที่เป็นสารแต่งกลิ่น (flavouring compounds) และอนุญาตให้ใช้กับสัตว์ทุกชนิด เป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่กฎระเบียบฯ มีผลบังคับใช้ ไปจนถึงวันที่ 11 กันยายน 2575 เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการใช้งาน ผู้ใช้งานจึงควรสวมใส่ชุดป้องกัน

2) คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้ใช้สารเสริมดังกล่าวขั้นสูงสุด เฉพาะในแมว  ที่ปริมาณ  1  มิลลิกรัมของ

สาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

3) คณะกรรมาธิการยุโรปได้กำหนดมาตรการเปลี่ยนผ่านดังนี้

        (ก) น้ำมันหอมระเหยกระดังงา และสารผสมล่วงหน้า (premixture) ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยดังกล่าวที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 11 มีนาคม 2566 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 11 กันยายน 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า 

        (ข) อาหารสัตว์ผสม (compound feeds) และวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) ที่ใช้สำหรับสัตว์ที่ผลิตเพื่อเป็นอาหาร ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยกระดังงาที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 11 กันยายน 2566 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 11 กันยายน 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า

        (ค) อาหารสัตว์ผสม (compound feeds) และวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) ที่ไม่ใช้สำหรับสัตว์ที่ผลิตเพื่อเป็นอาหาร ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยกระดังงาที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 11 กันยายน  2566 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 11 กันยายน 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า

    4) กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R1412&from=EN

2. Commission Implementing Regulation (EU) 2022/1417 ว่าด้วย การอนุญาตให้ preparation of Lactobacillus acidophilus CECT 4529  เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ ใน EU Official Journal L 218/3 โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1) คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้ preparation of Lactobacillus acidophilus CECT 4529  เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ (feed additive) ภายใต้กลุ่ม zootechnical additives เพื่อช่วยควบคุมเชื้อในกระเพาะ (gut flora stabilisers) และอนุญาตให้ใช้กับสัตว์ทุกชนิด โดยกำหนดสัดส่วนและระยะเวลาการอนุญาต ดังนี้

        – อนุญาตในสัตว์ปีกทุกชนิดและทุกประเภท ยกเว้นไก่ไข่และไก่เพื่อขุน และนกสวยงาม ไปจนถึงวันที่ 12 กันยายน     2575 โดยกำหนดการใช้สารเสริมดังกล่าวขั้นต่ำสุดที่ปริมาณ 1 x 109  CFU/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12) และขั้นต่ำสุดที่ปริมาณ 5 x 108  CFU/ลิตรของน้ำดื่มสัตว์                                                                                                                          

        – อนุญาตในไก่เพื่อขุน ไปจนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2570 โดยกำหนดการใช้สารเสริมดังกล่าวขั้นต่ำสุดที่ปริมาณ 1 x 109  CFU/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

        – อนุญาตในไก่เพื่อขุน ไปจนถึงวันที่ 12 กันยายน 2575 โดยกำหนดการใช้สารเสริมดังกล่าวขั้นต่ำสุดที่ปริมาณ 5 x 108  CFU/ลิตรของน้ำดื่มสัตว์

        เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการใช้งาน ผู้ใช้งานจึงควรสวมใส่ชุดป้องกัน

    2) กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R1417&from=EN

3. Commission Implementing Regulation (EU) 2022/1419 ว่าด้วย การอนุญาตให้น้ำมันหอมระเหยใบบูชู (buchu leaf essential oil) จากอกาธอสมา เบทูลินา (Agathosma betulina (P.J. Bergius) Pillans เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ ใน EU Official Journal L 218/12 โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1) คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้น้ำมันหอมระเหยใบบูชู (buchu leaf essential oil) จากอกาธอสมา    เบทูลินา (Agathosma betulina (P.J. Bergius) Pillans เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ (feed additive) ภายใต้กลุ่มสารเสริมทางประสาทสัมผัส (sensory additives) โดยมีหน้าที่เป็นสารแต่งกลิ่น (flavouring compounds) และอนุญาตให้ใช้กับสัตว์ทุกชนิด เป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่กฎระเบียบฯ มีผลบังคับใช้ ไปจนถึงวันที่ 12 กันยายน 2575 เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการใช้งาน ผู้ใช้งานจึงควรสวมใส่ชุดป้องกัน

2) คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้ใช้สารเสริมดังกล่าวขั้นสูงสุด เฉพาะในแมว  ที่ปริมาณ  0,2  มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

    3) คณะกรรมาธิการยุโรปได้กำหนดมาตรการเปลี่ยนผ่านดังนี้

        (ก) น้ำมันหอมระเหยใบบูชูจากอกาธอสมา เบทูลินา และสารผสมล่วงหน้า (premixture) ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยดังกล่าวที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 12 มีนาคม 2566 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 12 กันยายน 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า 

        (ข) อาหารสัตว์ผสม (compound feeds) และวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) ที่ใช้สำหรับสัตว์ที่ผลิตเพื่อเป็นอาหาร ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยใบบูชูจากอกาธอสมา เบทูลินา ที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 12 กันยายน 2566 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 12 กันยายน 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า

        (ค) อาหารสัตว์ผสม (compound feeds) และวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) ที่ไม่ใช้สำหรับสัตว์ที่ผลิตเพื่อเป็นอาหาร ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยใบบูชูจากอกาธอสมา เบทูลินา ที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 12 กันยายน  2567 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 12 กันยายน 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า

    4) กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R1419&from=EN

                                     

4. Commission Implementing Regulation (EU) 2022/1420 ว่าด้วย การอนุญาตให้ L-glutamic acid และ monosodium glutamate ที่ผลิตโดย Corynebacterium glutamicum NITE BP-01681  เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ ใน EU Official Journal L 218/17 โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1) คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้ L-glutamic acid และ monosodium glutamate ที่ผลิตโดย Corynebacterium glutamicum NITE BP-01681   เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ (feed additive) ภายใต้กลุ่มสารเสริมทางโภชนาการ (nutritional additives) โดยมีหน้าที่เป็น ‘amino acids, their salt and และภายใต้กลุ่มสารเสริมทางประสาทสัมผัส (sensory additives) โดยมีหน้าที่เป็นสารแต่งกลิ่น (flavouring compounds)  และอนุญาตให้ใช้กับสัตว์ทุกชนิด เป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่กฎระเบียบฯ มีผลบังคับใช้ ไปจนถึงวันที่ 12 กันยายน 2575 เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการใช้งาน ผู้ใช้งานจึงควรสวมใส่ชุดป้องกัน

2) กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R1420&from=EN

5. Commission Implementing Regulation (EU) 2022/1421 ว่าด้วย การอนุญาตให้น้ำมันหอมระเหยส้มจากการคั้น (expressed orange essential oil) น้ำมันหอมระเหยส้มจากการกลั่น  (distilled orange essential oil) และน้ำมันส้มผ่านการปรุงแต่งจากส้มเกลี้ยง (folded orange oils from Citrus sinensis (L.) Osbeck) เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ ใน EU Official Journal L 218/27 โดยมีรายละเอียดดังนี้

    1) คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นชอบให้ (1) น้ำมันหอมระเหยส้มจากการคั้น (expressed orange essential oil) (2) น้ำมันหอมระเหยส้มจากการกลั่น  (distilled orange essential oil) และ (3) น้ำมันส้มผ่านการปรุงแต่งจากส้มเกลี้ยง (folded orange oils from Citrus sinensis (L.) Osbeck)  เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ (feed additive) ภายใต้กลุ่มสารเสริมทางประสาทสัมผัส (sensory additives) โดยมีหน้าที่เป็นสารแต่งกลิ่น (flavouring compounds) เป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่กฎระเบียบฯ มีผลบังคับใช้ ไปจนถึงวันที่ 12 กันยายน 2575 เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ความปลอดภัยของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม สารดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงจากการใช้งาน ผู้ใช้งานจึงควรสวมใส่ชุดป้องกัน

    2) คณะกรรมาธิการยุโรปอนุญาตให้ใช้สารเสริมดังกล่าว ดังนี้

        (1) น้ำมันหอมระเหยส้มจากการคั้น (expressed orange essential oil)

              – ไก่เพื่อขุนและสัตว์ปีกวัยเยาว์เพื่อขุนอื่นๆ ไก่ไข่และสัตว์ปีกวัยเยาว์เพื่อไข่และเพื่อการสืบพันธุ์ และไก่งวงเพื่อขุน ระดับสูงสุดไม่เกิน 80 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

              – สุกรเพื่อขุนทุกสายพันธุ์ ระดับสูงสุดไม่เกิน 172 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

              – ลูกสุกรเพื่อขุนทุกสายพันธุ์ ระดับสูงสุดไม่เกิน 144 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

             – สุกรเพศเมีย ระดับสูงสุดไม่เกิน 200 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

             – สัตว์เคี้ยวเอื้อง ระดับสูงสุดไม่เกิน 130 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

             – ม้า ระดับสูงสุดไม่เกิน 230 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)                                                                                                              

             – กระต่าย และปลา (ยกเว้นปลาสวยงาม) ระดับสูงสุดไม่เกิน 50 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

             – สัตว์ประเภทอื่นๆ ระดับสูงสุดไม่เกิน 50 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)    

        (2) น้ำมันหอมระเหยส้มจากการกลั่น  (distilled orange essential oil)

              – ไก่เพื่อขุนและสัตว์ปีกวัยเยาว์เพื่อขุนอื่นๆ ไก่ไข่และสัตว์ปีกวัยเยาว์เพื่อไข่และเพื่อการสืบพันธุ์ และไก่งวงเพื่อขุน ระดับสูงสุดไม่เกิน 80 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

              – สุกร ระดับสูงสุดไม่เกิน 200 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

              – สัตว์เคี้ยวเอื้อง ระดับสูงสุดไม่เกิน 130 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

             – ม้า ระดับสูงสุดไม่เกิน 225 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

             – กระต่าย และปลา (ยกเว้นปลาสวยงาม) ระดับสูงสุดไม่เกิน 80 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

             – สัตว์ประเภทอื่นๆ ระดับสูงสุดไม่เกิน 80 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)    

        (3) น้ำมันส้มผ่านการปรุงแต่งจากส้มเกลี้ยง (folded orange oils from Citrus sinensis (L.) Osbeck)  

              – ไก่เพื่อขุนและสัตว์ปีกวัยเยาว์เพื่อขุนอื่นๆ ระดับสูงสุดไม่เกิน 15,5 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

              – ไก่ไข่และสัตว์ปีกวัยเยาว์เพื่อไข่และเพื่อการสืบพันธุ์ ระดับสูงสุดไม่เกิน 23,5 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

              – ไก่งวงเพื่อขุน ระดับสูงสุดไม่เกิน 21 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

              – สุกรเพื่อขุนทุกสายพันธุ์ ระดับสูงสุดไม่เกิน 34 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

              – ลูกสุกรเพื่อขุนทุกสายพันธุ์ ระดับสูงสุดไม่เกิน 28,5 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

              – สุกรเพศเมีย ระดับสูงสุดไม่เกิน 41,5 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

             – ลูกวัว ระดับสูงสุดไม่เกิน 66,5 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

             – สัตว์เคี้ยวเอื้องเพื่อขุน ระดับสูงสุดไม่เกิน 62,5 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

             – สัตว์เคี้ยวเอื้องให้นม  ระดับสูงสุดไม่เกิน 40,5 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

             – ม้า ระดับสูงสุดไม่เกิน 62,5 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

             – กระต่าย ระดับสูงสุดไม่เกิน 25 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)

             – ปลา (ยกเว้นปลาสวยงาม) ระดับสูงสุดไม่เกิน 70 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)                                                                                                                      

             – สัตว์ประเภทอื่นๆ ระดับสูงสุดไม่เกิน 15,5 มิลลิกรัมของสาร/กิโลกรัมของอาหารสัตว์ (ที่มีความชื้นร้อยละ 12)            

    3) คณะกรรมาธิการยุโรปได้กำหนดมาตรการเปลี่ยนผ่านดังนี้

        (ก) น้ำมันหอมระเหยส้มจากการคั้น น้ำมันหอมระเหยส้มจากการกลั่น และน้ำมันส้มผ่านการปรุงแต่งจากส้มเกลี้ยง และสารผสมล่วงหน้า (premixture) ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยส้มและน้ำมันส้มดังกล่าวที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 12 มีนาคม 2566 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 12 กันยายน 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า 

        (ข) อาหารสัตว์ผสม (compound feeds) และวัตถุดิบอาหารสัตว์ (feed materials) ที่ใช้สำหรับสัตว์ที่ผลิตเพื่อเป็นอาหาร ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหยส้มและน้ำมันส้มดังกล่าวที่ผลิตและติดฉลากก่อนวันที่ 12 กันยายน 2566 โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบฉบับเดิม ก่อนวันที่ 12 กันยายน 2565 สามารถวางจำหน่ายและใช้ได้จนกว่าสินค้าจะหมดไปจากคลังสินค้า           

    4) กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2565) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R1421&from=EN