free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบควบคุมอย่างเป็นทางการการใช้ยาออกฤทธิ์ที่อนุญาตให้ใช้เป็นยาสัตว์หรือเป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ และยาออกฤทธิ์ที่ห้ามใช้หรือไม่อนุญาตให้ใช้ รวมทั้งการตกค้างของยาดังกล่าว ภายใต้ Multi-Annual National Control Plan (MANCP)

แนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบควบคุมอย่างเป็นทางการการใช้ยาออกฤทธิ์ที่อนุญาตให้ใช้เป็นยาสัตว์หรือเป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ และยาออกฤทธิ์ที่ห้ามใช้หรือไม่อนุญาตให้ใช้ รวมทั้งการตกค้างของยาดังกล่าว ภายใต้ Multi-Annual National Control Plan (MANCP)

Featured Image by Walter Otto on Unsplash

คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2022/1646 ว่าด้วย แนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบควบคุมอย่างเป็นทางการการใช้ยาออกฤทธิ์ที่อนุญาตให้ใช้เป็นยาสัตว์หรือเป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ และยาออกฤทธิ์ที่ห้ามใช้หรือไม่อนุญาตให้ใช้ รวมทั้งการตกค้างของยาดังกล่าว ภายใต้ Multi-Annual National Control Plan (MANCP)ใน EU Official Journal L 248/32 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบควบคุมอย่างเป็นทางการ การใช้ยาออกฤทธิ์ (pharmacologically active substance) ที่อนุญาตให้ใช้เป็นยาสัตว์ (veterinary medicinal products) หรือเป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ (feed additive) และยาออกฤทธิ์ที่ห้ามใช้หรือไม่อนุญาตให้ใช้ รวมทั้งการตกค้างของยาดังกล่าว ภายใต้ Multi-Annual National Control Plan (MANCP) เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดที่ระบุใน Commission Delegated Regulation (EU) 2022/1644 เพื่อให้ทุกประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรปนำไปปฏิบัติตามและรายงานผลการสุ่มตรวจให้คณะกรรมาธิการยุโรปทราบภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี  โดยได้กำหนดอัตราความถี่ในการสุ่มตรวจขั้นต่ำ ดังนี้
  • ภาคผนวก I ว่าด้วย อัตราความถี่ในการสุ่มตัวอย่างขั้นต่ำ (minimum sampling frequency) ต่อประเทศสมาชิก ภายใต้แผนการควบคุมตามความเสี่ยงสำหรับการผลิตในประเทศสมาชิก (National risk-based control plans for production in the Member States) โดยกำหนดให้สุ่มตรวจหายาสัตว์ตกค้างตามบัญชีรายชื่อยาที่ระบุในภาคผนวก I (กลุ่ม A และกลุ่ม B)* ของ Commission Delegated Regulation (EU) 2022/1644  ในสินค้าจากวัว แกะ แพะ สุกร ม้า สัตว์ปีก สัตว์น้ำเพาะเลี้ยง นม ไข่ กระต่าย สัตว์ป่าเพาะเลี้ยง สัตว์เลื้อยคลาน แมลง น้ำผึ้ง และไส้สัตว์
  • ภาคผนวก II ว่าด้วย อัตราความถี่ในการสุ่มตรวจขั้นต่ำ (minimum sampling frequency) ต่อประเทศสมาชิก ภายใต้แผนการเฝ้าระวังสุ่มตรวจสำหรับการผลิตในประเทศสมาชิก (National randomised surveillance plans for production in the Member States) โดยกำหนดให้สุ่มตรวจหายาสัตว์ตกค้างตามบัญชีรายชื่อยาที่ระบุในภาคผนวก I (กลุ่ม A และกลุ่ม B) ของ Commission Delegated Regulation (EU) 2022/1644  ในสินค้าจากวัว แกะ แพะ สุกร ม้า สัตว์ปีก สัตว์น้ำเพาะเลี้ยง นม ไข่ กระต่าย สัตว์ป่าเพาะเลี้ยง สัตว์เลื้อยคลาน แมลง น้ำผึ้ง และไส้สัตว์ โดยกำหนดปริมาณสุ่มตัวอย่างขั้นต่ำในสัตว์และสินค้าจากสัตว์แต่ละชนิดสำหรับแต่ละประเทศสมาชิก  ให้ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการผลิตและการบริโภคสินค้านั้น ๆ  ในแต่ละประเทศสมาชิก โดยกำหนดให้สุ่มตัวอย่างที่ระดับร้อยละ 25 สำหรับยาสัตว์กลุ่ม A และร้อยละ 75 สำหรับยาสัตว์ กลุ่ม B ของ Commission Delegated Regulation (EU) 2022/1644
  • ภาคผนวก III ว่าด้วย อัตราความถี่ในการสุ่มตรวจขั้นต่ำ (minimum sampling frequency) ต่อประเทศสมาชิก  ภายใต้แผนการควบคุมตามความเสี่ยงสำหรับการนำเข้าจากประเทศที่สาม (National risk-based control plans for third countries imports) โดยกำหนดให้สุ่มตรวจหายาสัตว์ตกค้าง ณ ด่านนำเข้าตามบัญชีรายชื่อยาและกลุ่มสินค้าที่ระบุในภาคผนวก I (กลุ่ม A และกลุ่ม B) ของ Commission Delegated Regulation (EU) 2022/1644  ในสินค้าจากวัว แกะ แพะ สุกร ม้า สัตว์ปีก สัตว์น้ำเพาะเลี้ยง นม ไข่ กระต่าย สัตว์ป่าเพาะเลี้ยง สัตว์เลื้อยคลาน แมลง น้ำผึ้ง และไส้สัตว์ โดยกำหนดปริมาณสุ่มตัวอย่างขั้นต่ำ(ร้อยละ) ในสินค้าแต่ละประเภทต่อปริมาณสินค้าที่นำเข้า (imported consignments) จากประเทศที่สาม

ระเทศไทยมีความเกี่ยวข้องภายใต้แผนการควบคุมตามความเสี่ยงสำหรับการนำเข้าจากประเทศที่สาม (National risk-based control plans for third countries imports) ในสินค้าเนื้อสัตว์ปีก สินค้าสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยง แมลง และน้ำผึ้ง ตามบัญชีรายชื่อยาและกลุ่มสินค้าที่ระบุในภาคผนวก I และ II (กลุ่ม A และกลุ่ม B ของ Commission Delegated Regulation (EU) 2022/1644*) โดยสหภาพยุโรปกำหนดให้มีการสุ่มตรวจ ณ ด่านนำเข้า เพื่อตรวจหายาออกฤทธิ์ (pharmacologically active substance) ที่ห้ามหรือไม่อนุญาตให้ใช้ และการสุ่มตรวจเพื่อควบคุมค่าอนุโลมตกค้างสูงสุด (MRLs/MLs) จากการตกค้าง (residues) ของยาออกฤทธิ์ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้ โดยอัตราความถี่ในการสุ่มตรวจขั้นต่ำในเนื้อสัตว์ปีก สินค้าสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยง และน้ำผึ้ง ที่ระดับขั้นต่ำร้อยละ 7 ของปริมาณสินค้าที่นำเข้า (minimum 7% of the imported consignments) และแมลง ระดับขั้นต่ำร้อยละ 12 ของปริมาณสินค้าที่นำเข้า (minimum 12% of the imported consignments)  

  • กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 26 กันยายน 2565) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้ https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R1646&from=EN