free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeUncategorizedสหภาพยุโรปปรับปรุงแก้ไขบัญชีรายชื่อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์จากประเทศที่สามที่ปลอดสารตกค้างและได้รับอนุญาตให้ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป

สหภาพยุโรปปรับปรุงแก้ไขบัญชีรายชื่อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์จากประเทศที่สามที่ปลอดสารตกค้างและได้รับอนุญาตให้ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป

Featured Image under Pexels license

คณะกรรมาธิการยุโรปได้ประกาศ Commission Implementing Decision (EU) 2021/2315 ว่าด้วย การปรับปรุงแก้ไขบัญชีรายชื่อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์จากประเทศที่สามที่ปลอดสารตกค้างและได้รับอนุญาตให้ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ใน EU Official Journal L 464/17 โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ปรับปรุงแก้ไขบัญชีรายชื่อประเทศที่สามที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารตกค้างไปยังสหภาพยุโรป โดยประเทศที่สามจะต้องดำเนินการส่งมอบรายงานการควบคุมการตรวจสารตกค้างประจำปี ตามเงื่อนไขที่สหภาพยุโรปกำหนดใน Council Directive 96/23/EC มาตราที่ 29(1) และ (2) และผ่านการพิจารณาให้อยู่ในบัญชีรายชื่อในภาคผนวกของ Decision 2011/163/EU
  2. ในส่วนของประเทศไทยได้รับอนุญาตให้ส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ปีก (poultry) ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพาะเลี้ยง (aquaculture) ครอบคลุมปลา ครัชเตเชียน มอลลัส และผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง (honey) ซึ่งเป็นรายการสินค้าเดิมที่ได้รับอนุญาต (X) รวมถึงได้รับอนุญาตให้ใช้ส่วนประกอบที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์จากประเทศสมาชิกฯ หรือประเทศที่สามอื่นที่ได้รับการรับรองแล้วในสินค้าคอมโพสิต (X (2a)) ซึ่งครอบคลุมนม ไข่ หมู และวัว (นอกเหนือจากที่ไทยได้รับอนุญาตอยู่แล้ว ได้แก่ สินค้าสัตว์ปีก สินค้าประมง และน้ำผึ้ง)
  3. ในส่วนของประเทศที่สามอื่นๆ สรุปดังนี้

3.1 แอลบาเนีย อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย เบลารุส บราซิล ชีลี จีน โคลัมเบีย อียิปต์ อินเดีย อิหร่าน ญี่ปุ่น เลบานอน มองโกเลีย โมร็อกโก นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปารากวัย รัสเซีย เซอร์เบีย สวิตเซอรแลนด์ ซีเรีย ตูนิเซีย ตุรกี ยูเครน สหราชอาณาจักร อุรุกวัย และอุซเบกิสถาน ได้รับอนุญาตให้ส่งออกไส้สัตว์ (casings) เนื่องจากผลรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในสินค้าดังกล่าวเป็นที่พอใจ

3.2 แอลบาเนีย อาร์เจนตินา อาร์มีเนีย เบลารุส บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ หมู่เกาะแฟโร เกาะแมน อิสราเอล ญี่ปุ่น เคนยา มอริเชียส มอลโดวา มอนเตเนโกร โมร็อกโก นิวซีแลนด์ มาซิโดเนียเหนือ เซอร์เบีย สิงคโปร์ ตุรกี ยูกันดา ยูเครน สหราชอาณาจักร และอุรุกวัย ได้รับอนุญาตให้ส่งออกปลา (finfish) ภายใต้หมวดสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง เนื่องจากผลรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้าง
ในสินค้าดังกล่าวเป็นที่พอใจ

3.3 ออสเตรเลีย อิหร่าน และมาดากัสการ์ ได้รับอนุญาตให้ส่งออกผลิตภัณฑ์จากปลา (products of finfish) ภายใต้หมวดสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง เนื่องจากผลรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในสินค้าดังกล่าวเป็นที่พอใจ

3.4 เบลีซ บรูไน คิวบา กัวเตมาลา โมซัมบิก นิวแคลิโดเนีย นิการากัว ไนจีเรีย แทนซาเนีย และ เวเนซูเอลา ได้รับอนุญาตให้ส่งออกครัชเตเชียน (crustaceans) ภายใต้หมวดสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง เนื่องจากผลรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในสินค้าดังกล่าวเป็นที่พอใจ

3.5 เม็กซิโกไม่ได้ส่งมอบรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในสินค้าสุกร อย่างไรก็ตาม เม็กซิโกได้ให้หลักประกันในการขอใช้สินค้าสุกรจากประเทศสมาชิก ฯ หรือจากประเทศที่สามอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตในการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปแทน

                                                                                                       

3.6 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่ได้ส่งมอบรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในปลา (finfish) อย่างไรก็ตาม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ให้หลักประกันในการขอใช้ปลาจากประเทศสมาชิกฯ หรือจากประเทศที่สามอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตในการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปแทน

3.7 อัลบาเนียไม่ได้ส่งมอบรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในนม (milk) อย่างไรก็ตาม อัลบาเนียได้ให้หลักประกันในการขอใช้นมจากประเทศสมาชิกฯ หรือจากประเทศที่สามอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตในการส่งออกสินค้าคอมโพสิต

3.8 อียิปต์ไม่ได้ส่งมอบรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในนม (milk) อย่างไรก็ตาม อียิปต์ได้ให้หลักประกันในการขอใช้นมจากประเทศสมาชิกฯ หรือจากประเทศที่สามอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาต
ในการส่งออกสินค้าคอมโพสิต

3.9 อินโดนีเซียไม่ได้ส่งมอบรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในนม (milk) และไข่ (eggs) อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียได้ให้หลักประกันในการขอใช้นมและไข่จากประเทศสมาชิกฯ หรือจากประเทศ
ที่สามอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตในการส่งออกสินค้าคอมโพสิต

3.10 ญี่ปุ่นไม่ได้ส่งมอบรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในน้ำผึ้ง (honey) อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นได้ให้หลักประกันในการขอใช้น้ำผึ้งจากประเทศสมาชิกฯ หรือจากประเทศที่สามอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาต
ในการส่งออกสินค้าคอมโพสิต

3.11 เม็กซิโกไม่ได้ส่งมอบรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในนม (milk) อย่างไรก็ตาม เม็กซิโกได้ให้หลักประกันในการขอใช้นมจากประเทศสมาชิกฯ หรือจากประเทศที่สามอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาต
ในการส่งออกสินค้าคอมโพสิต

 3.12 โมร็อกโกไม่ได้ส่งมอบรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในนม (milk) ครัชเตเชียน  (crustaceans) และไข่ (eggs) อย่างไรก็ตาม โมร็อกโกได้ให้หลักประกันในการขอใช้นม ครัชเตเชียน และไข่จากประเทศสมาชิกฯ หรือจากประเทศที่สามอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตในการส่งออกสินค้าคอมโพสิต

 3.13 โอมานไม่ได้ส่งมอบรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในนม (milk) ไข่ (eggs) และน้ำผึ้ง (honey) อย่างไรก็ตาม โอมานได้ให้หลักประกันในการขอใช้นม ไข่ และน้ำผึ้งจากประเทศสมาชิกฯ หรือจากประเทศที่สามอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตในการส่งออกสินค้าคอมโพสิต

 3.14 ไต้หวันไม่ได้ส่งมอบรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในนม (milk) อย่างไรก็ตาม ไต้หวันได้ให้หลักประกันในการขอใช้นมจากประเทศสมาชิกฯ หรือจากประเทศที่สามอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาต
ในการส่งออกสินค้าคอมโพสิต

3.15 เวียดนามไม่ได้ส่งมอบรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในนม (milk) และไข่ (eggs) อย่างไรก็ตาม เวียดนามได้ให้หลักประกันในการขอใช้นมและไข่จากประเทศสมาชิกฯ หรือจากประเทศที่สามอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตในการส่งออกสินค้าคอมโพสิต

3.16 ออสเตรเลียได้รับอนุญาตให้ส่งออกไข่ (eggs) เนื่องจากผลรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในสินค้าดังกล่าวเป็นที่พอใจ

3.17 กานาถูกถอนการอนุญาตส่งออกน้ำผึ้ง (honey) เนื่องจากผลรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในสินค้าดังกล่าวไม่เป็นที่พอใจ

3.18 อิหร่านได้รับอนุญาตให้ส่งออกปลา (finfish) และครัชเตเชียน (crustaceans) ภายใต้หมวดสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง เนื่องจากผลรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในสินค้าดังกล่าวเป็นที่พอใจ

3.19 โอมานถูกถอนการอนุญาตส่งออกปลา (finfish) เนื่องจากผลรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในสินค้าดังกล่าวไม่เป็นที่พอใจ

 3.20 ตูนิเซียถูกถอนการอนุญาตส่งออกสัตว์ป่า (wild game) เนื่องจากไม่ได้ส่งรายงานการควบคุมการปนเปื้อนของสารตกค้างในสินค้าดังกล่าว รวมถึงไม่มีการส่งออกสัตว์ป่าติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี

 3.21 วอลิสและฟูตูนาได้รับอนุญาตให้ส่งออกน้ำผึ้ง (honey) เนื่องจากผลรายงานการควบคุม
การปนเปื้อนของสารตกค้างในสินค้าดังกล่าวเป็นที่พอใจ

4. กำหนดให้แยกช่องระบุสัตว์น้ำเพาะเลี้ยง (aquaculture) ในภาคผนวก Decision 2011/163/EU  ออกเป็น 4 ช่องย่อย ดังนี้ (1) ปลา (2) ผลิตภัณฑ์จากปลา (3) ครัชเตเชียน และ (4) มอลลัส

 5. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในวันที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม 2564) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32021D2315&from=EN