สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ได้เข้าร่วมการประชุม The 2020 EU Agricultural Outlook conference : NEXT GENERATION EU AGRICULTURE เมื่อวันที่ 16 – 17 ธันวาคม 2563 เพื่อหารือถึงผลกระทบต่อวิกฤติการณ์ COVID-19 และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางตลาดสินค้าเกษตรในช่วง 10 ปีข้างหน้า โดยสรุปคือ
ทิศทางตลาดสินค้าเกษตรสหภาพยุโรประหว่างปี 2563 – 2573 มีดังนี้
- การเพาะปลูกพืช ในสหภาพยุโรปมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงเทคนิคการเพาะปลูกและการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิตอลจะส่งเสริมการพัฒนาประสิทธิภาพการเพาะปลูกพืชให้ดียิ่งขึ้น
- การเลี้ยงสัตว์
- อุตสาหกรรมนมของสหภาพยุโรปมีแนวโน้มการเติบโตที่ชะลอตัว แม้ว่าผลจากวิกฤติการณ์ COVID-19 จะส่งผลให้ความต้องการ ในภูมิภาคและต่างประเทศปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สหภาพยุโรปยังคงเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์นมรายใหญ่ของโลก
- การบริโภคเนื้อสัตว์ปีกในสหภาพยุโรปจะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่าสินค้าเนื้อสัตว์อื่น ๆ ดีต่อสุขภาพ และนำมาปรุงอาหารได้ง่าย
- การบริโภคเนื้อสุกรและเนื้อวัวในสหภาพยุโรปจะลดลง เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
- ลักษณะของเกษตรกรในอนาคต มีดังนี้
- รู้จักการปรับตัว (adaptive) การรวมตัว (corporate) การทำเกษตรกรรมความแม่นยำสูง (precision farming) และการอนุรักษ์วิถีการผลิตแบบดั้งเดิม (patrimonial farmers)
- รู้จักการปรับใช้เทคโนโลยีในการควบคุมสิ่งแวดล้อม (controlled environment) หรือการผลิตอาหารจากเซลล์ (cell-based)
- คำนึงถึงสังคม (social care) การทำเกษตรแบบฟื้นฟู (regenerative agriculture) และการทำเกษตรในเมือง (urban)
- รู้จักการทำฟาร์มในลักษณะเป็นวิถีชีวิต(lifestyle) เป็นงานอดิเรกที่จริงจัง (serious hobby) หรือเป็นการแบ่งปันในสังคม (community-provisioning)