free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืชในสินค้าพืช

สหภาพยุโรปปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืชในสินค้าพืช

Featured Image under Pexels license

คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Regulation (EU) 2022/78 ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช 4 รายการ ได้แก่ สาร dazomet สาร hexythiazox สาร metam และสาร methylisothiocyanate ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal L 13/5 ดังนี้

  1. สาร dazomet สาร metam และสาร methylisothiocyanate ให้ปรับเปลี่ยนชนิดสารพิษตกค้างที่กำหนดให้ตรวจ (residue definition) ของสาร methylisothiocyanate ซึ่งเป็นเมตาบอไลต์หลักของสาร dazomet และสาร metam ปรับลดค่า MRLs ในสินค้าพืชดังนี้
    • เกรปฟรุ๊ต ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • ส้ม ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • เลมอน ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • มะนาวเขียว ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • ส้มแมนดาริน ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • แอปเปิ้ล ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • แพร์ ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • ควินซ์ ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • เมดลาร์ ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • โลควอท ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • เอพริคอต ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • เชอร์รี (หวาน) ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • พีช ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • พลัม ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • องุ่นรับประทาน ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • องุ่นทำไวน์ ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • แบล็กเบอร์รี ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • ดิวเบอร์รี ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • แรสเบอร์รี (แดงและเหลือง) ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • บลูเบอร์รี ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • เครนเบอร์รี ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • เคอร์แรนท์ (ดำ แดง และขาว) ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • กูสเบอร์รี (เขียว แดง และเหลือง) ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • โรสฮิพ ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • มัลเบอร์รี (ดำ และขาว) ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • อาเซโรล ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม                                                                                   
    • เอลเดอร์เบอร์รี ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • มะเดื่อฝรั่ง ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • มะกอกรับประทาน ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • ส้มจี๊ด ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • พลับ ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • กีวี (เขียว แดง เหลือง) ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • ผลกระบองเพชร ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • อะโวกาโด ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • มะม่วง ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • ทับทิม ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
    • ปรับเพิ่มค่า MRLs หรือคงระดับค่า MRLs สำหรับสินค้าอื่น ๆ และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 ที่กำหนดโดย EFSA
    • เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในสตรอว์เบอร์รี  บีทรูท แครอท หัวขึ้นฉ่ายฝรั่ง ฮอสแรดิช แก่นตะวัน พาร์สนิพ รากพาร์สลีย์ แรดิช พืชหอยนางรม หัวสวีด เทอร์นิพ มะเขือเทศ พริกหวาน มะเขือ กระเจี๊ยบเขียว แตงกวา แตงกวาเกอคิน ซูกินี เมลอน ฟักทอง แตงโม ผักกาดขาว ผักเคล คอร์นสลัด ผักกาดหอม เอสคาโรล สลัดน้ำ แลนด์เครส ร็อกเก็ท มัสตาร์แดง พืชใบเล็ก (รวมถึงผักวงศ์ผักกาด) ผักโขม ผักเบี้ยใหญ่ ผักชาร์ด ชาสมุนไพรจากรากและกรวยเมล็ด ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค จึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 โดยคณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ      
  2. สาร hexythiazox
    • ให้ปรับเปลี่ยนชนิดสารพิษตกค้างที่กำหนดให้ตรวจ (residue definition) ของสาร hexythiazox ปรับลดค่า MRLs ในสินค้าพืชดังนี้
      • เกรปฟรุ๊ต ระดับ  0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ส้ม ระดับ 0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • เลมอน ระดับ 0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • มะนาวเขียว ระดับ 0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ส้มแมนดาริน ระดับ 0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • อัลมอนท์ ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ถั่วบราซิล ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • เชทนัท ระดับ 0,05  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • มะพร้าว ระดับ 0,05  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ฮาเซลนัท ระดับ 0,05  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ถั่วแมคาเดเมีย ระดับ 0,05  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ถั่วพีแคน ระดับ 0,05  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ถั่วเมล็ดสน ระดับ 0,05  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ถั่วพิสตาชิโอ ระดับ 0,05  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • วอลนัท ระดับ 0,05  มิลลิกรัม/กิโลกรัม                                                                                                 
      • แอปเปิ้ล ระดับ 0,4  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • แพร์ ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ควินซ์ ระดับ 0,4  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • เมดลาร์ ระดับ 0,4  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • โลควอท ระดับ 0,4  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • พีช ระดับ 0,7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • แบล็กเบอร์รี ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ดิวเบอร์รี ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • แรสเบอร์รี (แดงและเหลือง) ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • บลูเบอร์รี ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • เครนเบอร์รี ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • เคอร์แรนท์ (ดำ แดง และขาว) ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • กูสเบอร์รี (เขียว แดง และเหลือง) ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • โรสฮิพ ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • มัลเบอร์รี (ดำ และขาว) ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • อาเซโรล ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • เอลเดอร์เบอร์รี ระดับ 0,01  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • มะเขือเทศ ระดับ 0,1  มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • พริกหวาน ระดับ 0,09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • มะเขือ ระดับ 0,1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • แตงกวา ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • แตงกวาเกอคิน ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ซูกินี ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • เมลอน ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ฟักทอง ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • แตงโม ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ข้าวโพด ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ฮ๊อพ ระดับ 3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
      • ปรับเพิ่มค่า MRLs หรือคงระดับค่า MRLs สำหรับสินค้าอื่น ๆ และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 ที่กำหนดโดย EFSA
      • เนื่องจากข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงของสารดังกล่าวในเอพริคอต เชอร์รี (หวาน) พลัม ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ ไม่ครบถ้วน แต่ไม่ปรากฏว่าสารดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค จึงกำหนดให้คงระดับค่า MRLs และให้บรรจุในภาคผนวก II ของ Regulation (EC) No 396/2005 โดยคณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวอีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ      
  3. ในกรณีที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์อารักขาพืชที่ไม่ได้รับอนุญาต ไม่ได้รับการอนุโลมภายใต้ข้อกำหนด Import Tolerances หรือไม่เป็นไปตาม Codex ให้ค่า MRLs ของสารนั้น ๆ ถูกกำหนดไว้ที่ระดับค่าต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์ได้ (Limit of Determination : LOD) หรือที่ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตาม Regulation (EC) No 396/2005 มาตรา 18(1)(b)                                                                                                                                
  4. กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับสารทั้ง 4 รายการ ในสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรปหรือสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ก่อนวันที่ 9 สิงหาคม 2565 โดยให้สามารถใช้ค่า MRLs เดิม
  5. กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 20 มกราคม 2565) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32022R0078&from=EN