free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืชในสินค้าพืชและสัตว์

สหภาพยุโรปปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืชในสินค้าพืชและสัตว์

fruit stand
Photo by picmamba.com on Pexels.com
  1. Commission Regulation  (EU)  2023/1753  ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช pyriproxyfen ในสินค้าพืชและสัตว์ ใน EU Official Journal  L 224/1 ดังนี้

      คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช pyriproxyfen ในสินค้าพืชและสัตว์ ดังนี้

1) ปรับลดระดับค่า MRLs ในสัตว์ ดังนี้

– สุกร (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– วัว (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– แพะ (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– ม้า (กล้ามเนื้อ ไขมัน ตับ และไต) ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– นม (วัว และม้า)  ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

           2) ปรับเพิ่มระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้

– อัลมอนด์ ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– เชสท์นัท/เกาลัด ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– เฮเซลนัท ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– พีแคน ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– พิสตาชิโอ ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– วอลนัท ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– เคอร์เนลไพน์นัท/ถั่วเม็ดสน ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– โพมฟรุ๊ต (ผลไม้ตระกูลแอปเปิ้ล) ที่ระดับ 0,01 – 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– องุ่น ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– มะกอกรับประทาน ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– กากี ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– สับปะรด ที่ระดับ 0,01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– มะเขือเทศ ที่ระดับ 0,7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– พริกหวาน ที่ระดับ 0,6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– มะเขือ ที่ระดับ 0,6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– ผักวงศ์แตงที่เปลือกบริโภคได้ ที่ระดับ 0,04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– แตงโม ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– ผลไม้ตระกูลส้ม (citrus fruits) ที่ระดับ 0,7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– เชอร์รี ที่ระดับ 1,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– ส้มจี๊ด/คัมควอท ที่ระดับ 0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

           3) คงระดับค่า MRLs ในพืช ดังนี้

– แอพริคอท ที่ระดับ 0,4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม                                                                                                    

– พีช ที่ระดับ 0,5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– พลัม ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– สตรอว์เบอร์รี ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– มะม่วง ที่ระดับ 0,02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– มะละกอ ที่ระดับ 0,3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– เมลอน ที่ระดับ 0,07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– เมล็ดฝ้าย  ที่ระดับ 0,05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– ชา  ที่ระดับ 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

– กล้วย ที่ระดับ 0,7 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

           4) ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะพิจารณาปรับค่า MRLs ของสารดังกล่าวในอัลมอนด์ เชสท์นัท     เฮเซลนัท พีแคน พิสตาชิโอ วอลนัท เคอร์เนลไพน์นัท โพมฟรุ๊ต องุ่น มะกอกรับประทาน กากี สับปะรด มะเขือเทศ พริกหวาน มะเขือ ผักวงศ์แตงที่เปลือกบริโภคได้ แตงโม แอพริคอท พีช พลัม สตรอว์เบอร์รี มะม่วงมะละกอ  เมลอน เมล็ดฝ้าย  ชา ผลไม้กลุ่มส้ม เชอร์รี ส้มจี๊ด และกล้วย อีกครั้ง โดยจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในช่วง 2 ปี นับจากวันที่ประกาศกฎระเบียบฯ

5) กำหนดให้ปรับระดับค่า MRLs ให้อยู่ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) ในพืช ดังต่อไปนี้ แมคคาเดเมีย อะโวคาโด ทับทิม เชอริโมยา (น้อยหน่าออสเตรเลีย) มันฝรั่ง มันเทศ ผักราก/ผักหัวอื่นๆ ยกเว้นบีทน้ำตาล ผักหัว (bulb) กระเจี๊ยบเขียว ฟักทอง ผักกะหล่ำ (ไม่รวมรากกะหล่ำและพืชกะหล่ำใบเล็ก) ผักกาดและผักสลัด ผักโขมและพืชใบคล้ายคลึง วอเตอร์เครส วิทโลฟ สมุนไพรและดอกไม้บริโภคได้ พืชฝักตระกูลถั่ว ผักใช้ลำต้นบริโภค ถั่ว (แห้ง) และถั่วเหลือง

  • กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับสาร  pyriproxyfen ในสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรป หรือสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ก่อนวันที่ 2 เมษายน 2567 โดยให้สามารถใช้ค่า MRLs เดิม
  • กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน  EU  Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน 2566) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้
https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32023R1753

2. Commission Regulation (EU) 2023/1783 ว่าด้วย การปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช denatonium benzoate, diuron, etoxazole, methomyl และ teflubenzuron ในสินค้าพืช ใน EU Official Journal  L 229/63 ดังนี้

      คณะกรรมาธิการยุโรปเห็นควรปรับปริมาณสารตกค้างสูงสุด (MRLs) ของสารปราบศัตรูพืช ทั้ง 5 รายการ ในสินค้าพืชและสัตว์ ดังนี้

1) สาร denatonium benzoate

เนื่องจากสาร denatonium benzoate สิ้นสุดอายุการใช้งานในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2563 และไม่มีการขออนุญาตใช้งานต่อจากนั้น  คณะกรรมาธิการยุโรปจึงเห็นควรปรับระดับค่า  MRLs ของสาร denatonium benzoate ในแต่ละเฉพาะสินค้าให้อยู่ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก V

2) สาร diuron

    เนื่องจากสาร diuron สิ้นสุดอายุการใช้งานในวันที่ 30 กันยายน 2563 และไม่มีการขออนุญาตใช้งานต่อจากนั้น คณะกรรมาธิการยุโรปจึงเห็นควรปรับระดับค่า MRLs ของสาร diuron ในแต่ละเฉพาะสินค้าให้อยู่ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก V

3) สาร etoxazole

    Commission Implementing Regulation (EU) 2020/2105 อนุญาตต่ออายุการใช้งานของสาร etoxazole เฉพาะสำหรับไม้ประดับ (ornamental plants) ที่ปลูกในเรือนกระจกเท่านั้น คณะกรรมาธิการยุโรปจึงเห็นควรปรับระดับค่า MRLs ของสาร etoxazole ในแต่ละเฉพาะสินค้าให้อยู่ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก V

4) สาร methomyl

    เนื่องจากสาร methomyl  สิ้นสุดอายุการใช้งานในวันที่ 31 สิงหาคม 2562 และไม่มีการขออนุญาตใช้งานต่อจากนั้น อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้คงระดับค่า MRLs ของสาร methomyl ในส้มจี๊ด/คัมควอท และแตงเกอร์คินที่ระดับเดียวกับค่า CXLs ของ Codex ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก II

    สำหรับผักกาด ถั่ว (แห้ง) ถั่วเหลือง เมล็ดฝ้าย ข้าวโพด (maize/corn) และสินค้าอื่นๆ กำหนดให้ปรับลดในแต่ละเฉพาะสินค้าให้อยู่ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก II

 5) สาร teflubenzuron

    เนื่องจากสาร teflubenzuron สิ้นสุดอายุการใช้งานในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 และไม่มีการขออนุญาตใช้งานต่อจากนั้น อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการยุโรปกำหนดให้คงระดับค่า MRLs ของสาร teflubenzuron ในเกรฟฟรุ๊ตและส้มแมนดารินภายใต้มาตรการผ่อนปรนในการนำเข้า (import tolerance) และ กำหนดให้คงระดับค่า MRLs ของสาร teflubenzuron ในส้ม มะนาว มะนาวเขียว องุ่น มะละกอ มะเขือเทศ แตงกวา แตงเกอร์คิน เมลอน เมล็ดดอกทานตะวัน ถั่วเหลือง และเมล็ดกาแฟที่ระดับเดียวกับค่า CXLs ของ Codex ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก II

    สำหรับสินค้าอื่นๆ กำหนดให้ปรับลดในแต่ละเฉพาะสินค้าให้อยู่ที่ระดับค่าปริมาณต่ำสุดที่สามารถดักตรวจได้ (Limit of Determination: LOD) ใน Commission Regulation (EC) No 396/2005 ภาคผนวก II

6) กำหนดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านให้กับสารทั้ง 5 รายการ ในสินค้าที่ผลิตในสหภาพยุโรปหรือสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ก่อนวันที่ 8 เมษายน 2567 โดยให้สามารถใช้ค่า MRLs เดิม

 7) กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วันหลังจากที่ประกาศใน  EU  Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน 2566) และให้ปรับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32023R1783