free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับแก้ข้อกำหนดการนำเข้า เคลื่อนย้าย และการจัดการสัตว์ ผลิตภัณฑ์เพื่อการสืบพันธุ์ และผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ ที่ส่งไปยังสหภาพยุโรป

สหภาพยุโรปปรับแก้ข้อกำหนดการนำเข้า เคลื่อนย้าย และการจัดการสัตว์ ผลิตภัณฑ์เพื่อการสืบพันธุ์ และผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ ที่ส่งไปยังสหภาพยุโรป

Featured Image by Vinicius Pontes under Pexels license

    คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ  Commission  Delegated  Regulation (EU) 2023/119 ว่าด้วย การปรับแก้ Delegated Regulation (EU) 2020/692 ข้อกำหนดเสริมให้กับ Regulation (EU) 2016/429  เกี่ยวกับ ข้อกำหนดการนำเข้า เคลื่อนย้าย การจัดการสัตว์ ผลิตภัณฑ์เพื่อการสืบพันธุ์ และผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ ที่ส่งไปยังสหภาพยุโรป ใน EU Official Journal L 16/5 โดยมีรายละเอียดดังนี้

ปรับแก้ มาตรา 1 ข้อ 6. ของ Delegated Regulation (EU) 2020/692  ใหม่ ดังนี้

    «  6. Part V ว่าด้วย ข้อกำหนดสุขภาพสัตว์สำหรับการนำเข้าไปยังสหภาพยุโรป รวมถึง

การเคลื่อนย้าย การจัดการภายหลังการนำเข้า และข้อยกเว้นจากการปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวของสัตว์น้ำในทุกช่วงชีวิต และผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์น้ำดังกล่าว ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์นอกเหนือจากสัตว์น้ำมีชีวิตที่ไม่มีการแปรรูปต่อในสหภาพยุโรป และสัตว์น้ำที่จับได้จากธรรมชาติ (wild aquatic animals) และผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์น้ำดังกล่าวเพื่อการบริโภค ที่มีการเทียบท่าโดยเรือประมง ซึ่งมีรายชื่อของสัตว์น้ำ ดังต่อไปนี้

  • ปลา สายพันธุ์ซุปเปอร์คลาส (superclass) ปลากลุ่มไม่มีขากรรไกร (Agnatha)และคลาส (classes)  ปลากระดูกอ่อน (Chondrichthyes) ปลาที่มีครีบเป็นพู่ (Sarcopterygii)และปลาที่มีก้านครีบ (Actinopterygii)
  • มอลลัสสัตว์น้ำ (aquatic molluscs) ที่มีสายพันธุ์จาก phylum Mollusca
  • ครัชเตเชียนสัตว์น้ำ (aquatic crustaceans) ที่มีสายพันธุ์จาก subphylum

Crustacea

  • สัตว์น้ำที่มีสายพันธุ์ระบุในภาคผนวก XXIX ของ Delegated Regulation (EU)

2020/692  ที่มีความอ่อนไหวต่อโรคสัตว์น้ำที่ประเทศสมาชิกบางประเทศได้มีมาตรการแห่งชาติและได้รับการรับรองตาม Commission Implementing Decision (EU) 2021/260  »

  • ปรับแก้มาตรา 2 ใหม่ ดังนี้
    • ปรับแก้ข้อ (36) ใหม่ เป็น

«  หน่วยจัดเก็บตัวอ่อน (embryo collection team) หมายถึง โรงงานผลิตภัณฑ์

เพื่อการสืบพันธุ์ (germinal product establishment) ที่ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลมืออาชีพหรือมีโครงสร้างที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักสำหรับการจัดเก็บ แปรรูป เก็บรักษา และขนส่งตัวอ่อน (embryo)  หรือตัวอ่อนจากสิ่งมีชีวิต (in vivo derived embryos) เพื่อนำเข้าไปยังสหภาพยุโรป »

  • เพิ่มข้อ (50) และข้อ (51) ดังนี้

«  ข้อ (50) สถานสงเคราะห์สัตว์  (animal shelter)  หมายถึง สถานที่พักอาศัยของสัตว์

บกที่หลงทาง จรจัด พลัดหลง ถูกปล่อยทิ้ง หรือถูกกักขัง และสถานะด้านสุขภาพของสัตว์ดังกล่าวไม่ทราบเป็นที่ชัดเจนในขณะที่สัตว์เดินทางมาถึงสถานฯ ดังกล่าว »                                                                                                                

«  ข้อ (51) สถานประกอบการที่ได้รับการปกป้องจากพาหะ (vector-protected

establishment)  หมายถึง สิ่งอำนวยความสะดวกบางส่วนหรือทั้งหมดของสถานประกอบการที่ได้รับการปกป้องจากการโจมตีของ Culicoides spp. หรือ Culicidae โดยวิธีการทางกายภาพและการจัดการที่เหมาะสม ที่มีสถานภาพของสถานประกอบการที่ได้รับการปกป้อง โดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลัก และปฏิบัติข้อกำหนดที่ระบุในภาคผนวก XI ข้อ 3 »

  • ปรับแก้มาตรา 17 เพิ่มข้อ 3. ดังนี้

«  3.  ข้อ 1 ไม่ปรับใช้กับการเคลื่อนย้ายเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่เชิงการค้าของสุนัข แมว

และพังพอน (ferrets) ที่เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยง ที่นำเข้าไปยังประเทศสมาชิกจากประเทศที่สาม ซึ่งการเคลื่อนย้ายเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่เชิงการค้าไม่สามารถดำเนินการได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 245(2) หรือมาตรา 246(1) และ (2) ของ Regulation (EU) 2016/429 »

  • ปรับแก้มาตรา 19 เพิ่มข้อ 4. ดังนี้

«  4.  ข้อ 1 และข้อ 2 ไม่ปรับใช้กับการเคลื่อนย้ายเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่เชิงการค้า

ของสุนัข แมว และพังพอน (ferrets) ที่เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงที่นำเข้าไปยังประเทศสมาชิกจากประเทศที่สาม ซึ่งการเคลื่อนย้ายเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่เชิงการค้าไม่สามารถดำเนินการได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา 245(2) หรือมาตรา 246(1) และ (2) ของ Regulation (EU) 2016/429 »

  • ปรับแก้มาตรา 21 เพิ่มข้อ 5. ดังนี้

«  5.  การละเว้นการปฏิบัติตามข้อ (1)(b) ตามคำขอของประเทศที่สามต่อคณะกรรมาธิ

การยุโรป และอยู่ภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมาธิการยุโรปนั้น รหัสของประเทศผู้ส่งออกที่อ้างถึงในข้อ (1)(b) สามารถทดแทนโดยใช้รหัสอื่นในรูปแบบของรหัสสองตัวอักษร (two-letter code) ได้ »

ปรับแก้มาตรา 38(2)(c) ใหม่ ดังนี้

«  (c)  ในช่วงระยะเวลาอย่างน้อย 30 วันหลังจากเสร็จสิ้นการกำจัด การทำความสะอาด

และการฆ่าเชื้อ ตามที่อ้างถึงในข้อ (a) และ (b) หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศที่สาม ต้องดำเนินการ จัดทำโปรแกรมการเฝ้าระวัง โดยทำสุ่มตัวอย่างจากประชากรสัตว์ที่มีความเสี่ยง เพื่อแสดงให้เห็นถึงการปลอดจากการติดเชื้อ โดยคำนึงถึงการสถานการณ์ระบาดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการระบาดที่เกิดขึ้นที่มีผลตรวจเป็น ลบ »

ปรับแก้มาตรา 53 วรรคนำและข้อ (a) ใหม่ ดังนี้

« นกจับ (captive birds)  จะได้รับอนุญาตให้นำเข้าไปยังสหภาพยุโรปได้  หากสัตว์ได้รับ

การระบุด้วยหมายเลขประจำตัว (individual identification number) ไว้บนวงแหวนปิด (closed-ring) ที่ติดอยู่กับขาสัตว์ที่สามารถมองเห็นรหัสเลขได้ชัดเจน และไม่สามารถลบออกได้ หรือโดยทรานสปอนเดอร์แบบฉีด (injectable transponder) ที่สามารถมองเห็นรหัสเลขได้ชัดเจน และไม่สามารถลบออกได้ ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุข้อมูล ดังต่อไปนี้:

  • รหัสของประเทศที่สามหรือเขตพื้นที่ที่สัตว์ได้รับการตรวจสอบ ตามมาตรฐาน ISO

Standard 3166 โดยรหัสอักษร 2 – 3 ตัว »ปรับแก้มาตรา 73 ข้อ 3 ให้เพิ่ม ดังนี้

« 3. สุนัข แมว และพังพอนที่มาจากสถานสงเคราะห์สัตว์จะได้รับอนุญาตให้นำเข้าไปยัง

สหภาพยุโรปได้ หากสัตว์ถูกส่งมาจากสถานสงเคราะห์สัตว์ ดังนี้

  • ได้รับการรับรองจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศที่สามหรือเขตพื้นที่นั้นๆ

ตามข้อกำหนดที่อย่างน้อยต้องมีความเข้มงวดเช่นเดียวกับที่ระบุในมาตรา 11 Delegated Regulation (EU) 2019/2035                                                                                                       

  •  มีเลขที่รับรองเฉพาะ (unique approval number) ที่ออกให้โดยหน่วยงานผู้รับผิด

ชอบหลักของประเทศที่สามหรือเขตพื้นที่นั้นๆ

  • ขึ้นบัญชีรายชื่อสำหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของ

ประเทศที่สามหรือเขตพื้นที่นั้นๆ ที่เป็นผู้ส่งสัตว์ รวมถึงข้อมูลที่ระบุในมาตรา 21 Delegated Regulation (EU) 2019/2035  »

มาตรา 79 เปลี่ยนใหม่ ดังนี้

                      « มาตรา 79 ประเทศที่สามหรือเขตพื้นที่แหล่งกำเนิดหรือพื้นที่จากประเทศดังกล่าว

น้ำเชื้อ (semen) รังไข่ (oocytes) และตัวอ่อน (embryos) จากวัว สุกร แกะ แพะ

และม้า จะได้รับอนุญาตให้นำเข้าไปยังสหภาพยุโรปได้ หากได้รับการเก็บมาจากหรือผลิตจากสัตว์ในประเทศที่สาม เขตพื้นที่ หรือพื้นที่ของประเทศที่สามที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดสุขภาพสัตว์ที่ระบุในมาตรา 22

  • การละเว้นการปฏิบัติตามข้อ 1 ที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดสุขภาพสัตว์ที่ระบุในมาตรา

22(4)(a) น้ำเชื้อ (semen) รังไข่ (oocytes) และตัวอ่อน (embryos) จากวัว สุกร แกะ และแพะ สามารถได้รับอนุญาตให้นำเข้าไปยังสหภาพยุโรปได้ หากได้รับการเก็บมาจากหรือผลิตในประเทศที่สามหรือเขตพื้นที่ที่มีการใช้วัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย (foot and mouth disease) โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องได้รับการเก็บมาจากสัตว์ตามข้อกำหนดสุขภาพสัตว์ที่ระบุในภาคผนวก II Part 5 Chapter I ข้อ 3 หรือ 4 Delegated Regulation (EU) 2020/686  »

ใน Part III Title 3 เปลี่ยนใหม่ ดังนี้

                      « Title 3

                       ข้อกำหนดสุขภาพสัตว์สำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อการสืบพันธุ์ (germinal products) ของสัตว์นอกเหนือจากสัตว์ที่ระบุในมาตรา 1(4)(A) และ (B) สำหรับสถานที่ทำการแบบปิด (confined establishment) »

 มาตรา 117 เปลี่ยนใหม่ ดังนี้

                     « มาตรา 117

                     ข้อกำหนดสำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เพื่อการสืบพันธุ์ (germinal products) ของสัตว์ นอกเหนือจากสัตว์ที่ระบุในมาตรา 1(4)(A) และ (B) สำหรับสถานที่ทำการแบบปิด (confined establishment) »

                     การส่งน้ำเชื้อ (semen) รังไข่ (oocytes) และตัวอ่อนของสัตว์ นอกเหนือจากสัตว์ที่ระบุในมาตรา 1(4)(A) และ (B) ไปยังสถานที่ทำการแบบปิด (confined establishment) ที่ตั้งอยู่ในสหภาพยุโรป มีเงื่อนไขดังนี้  

  • ผลิตภัณฑ์เพื่อการสืบพันธุ์ดังกล่าว ได้รับการประเมินความเสี่ยงจากหน่วยงานผู้รับผิด

ชอบหลักของประเทศสมาชิกปลายทาง

  • สัตว์ผู้บริจาค (donor animals) ผลิตภัณฑ์เพื่อการสืบพันธุ์ดังกล่าวจากประเทศที่สาม

เขตพื้นที่ หรือพื้นที่ ได้รับอนุญาตให้นำเข้าพันธุ์และประเภทเฉพาะของสัตว์ไปยังสหภาพยุโรป  โดย Commission Implementing Regulation (EU) 2021/404 หรือมาตรา 230(2) Regulation (EU) 2016/429 โดยประเทศสมาชิกปลายทาง ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของสัตว์นั้นๆ 

  • สัตว์ผู้บริจาค (donor animals) ผลิตภัณฑ์เพื่อการสืบพันธุ์ดังกล่าวที่มาจากโรงงานใน

ประเทศที่สาม เขตพื้นที่ หรือพื้นที่ ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่จัดทำโดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศสมาชิกปลายทางในการนำเข้าพันธุ์สัตว์เฉพาะไปยังสหภาพยุโรป                                                                                                              

  • ผลิตภัณฑ์เพื่อการสืบพันธุ์สำหรับส่งไปยังสถานที่ทำการแบบปิด (confined establishment)  ที่ได้รับการรับรองตามมาตรา 95 Regulation (EU) 2016/429
  • ผลิตภัณฑ์เพื่อการสืบพันธุ์ถูกส่งตรงไปยังสถานที่ทำการแบบปิด (confined establishment)  ตามที่ระบุในข้อ (d) »

มาตรา 124 ปรับเพิ่มข้อ e) ดังนี้

                     « e) การยกเว้นการปฏิบัติตามข้อ c) i) ระหว่างการขนส่งไปยังโรงเชือด การขนส่งสัตว์ปีกสามารถเดินทางผ่านพื้นที่ของประเทศที่สามหรือเขตแดนที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อในการนำเข้าเนื้อสัตว์ปีก นอกเหนือจากสัตว์ปีกกลุ่มที่บินไม่ได้ (ratites) โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้

                          (i) โรงงานต้นกำเนิดของสัตว์ปีก พื้นที่ของประเทศที่สามหรือเขตพื้นที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อในการนำเข้าไปยังสหภาพยุโรปและโรงเชือดตั้งอยู่ในประเทศที่สามหรือเขตพื้นที่เดียวกัน

                          (ii) การเดินทางผ่านพื้นที่ของประเทศที่สามหรือเขตพื้นที่เป็นการผ่านที่ไม่มีการหยุดหรือขนถ่ายสินค้าลงในพื้นที่นั้นๆ  

                           (iii) การเดินทางผ่านพื้นที่ของประเทศที่สามหรือเขตแดนเป็นการผ่านโดยให้ความสำคัญกับการใช้เส้นทางหลวงสายหลักหรือทางรถไฟสายหลัก

                         (iv) การเดินทางผ่านพื้นที่ของประเทศที่สามหรือเขตแดน เป็นการผ่านโดยหลีกเลี่ยงบริเวณใกล้เคียงโรงงานเลี้ยงสัตว์ ตามบัญชีรายชื่อพันธุ์สัตว์ที่เกี่ยวข้องกับโรคสัตว์ปีก

                         (v) การเดินทางผ่านพื้นที่ของประเทศที่สามหรือเขตแดน เกิดขึ้นหลังจากการกำจัดฝูงสัตว์ปีก (depopulation) การทำความสะอาด การฆ่าเชื้อ ณ โรงงานที่ติดเชื้อจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงสูงหรือโรคนิวคาสเซิล

                         (vi) ภายหลังการเดินทางผ่านพื้นที่ของประเทศที่สามหรือเขตแดน สัตว์ปีกต้องถูกนำไปยังโรงเชือดและต้องถูกเชือดภายใน 6 ชั่วโมงนับจากเวลาที่เดินทางถึงโรงเชือด

                           หากไม่มีทางเลือกอื่นที่เหมาะสม และโดยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทั้งหมดที่ระบุไว้ใน (i) – (vi) สัตว์ปีกที่ขนส่งไปยังโรงเชือด สามารถเดินทางผ่านมากกว่าหนึ่งพื้นที่ (zone) ที่ระบุในข้อดังกล่าวนี้ได้ »

มาตรา 150 เปลี่ยนใหม่ ดังนี้

                     « มาตรา 150 โรงงานต้นกำเนิดสัตว์ซึ่งเป็นที่มาของเนื้อสัตว์

                       ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ (meat products) จะได้รับอนุญาตให้นำเข้าไปยังสหภาพยุโรปได้หากได้รับการแปรรูปจากเนื้อสด (fresh meat) ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ที่มาจากโรงงาน (establishment) หรือในกรณีที่เป็นสัตว์ป่า ต้องมาจากเขตที่อยู่ใน/และโดยรอบรัศมี ๑๐ กิโลเมตร รวมทั้งเขตพื้นที่ของประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่เคยมีการรายงานว่า มีการปรากฎของโรคตามบัญชีรายชื่อตามประเภทของสัตว์ที่ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์นั้นๆ ในช่วง 30 วันก่อนวันเชือด หรือการฆ่าสัตว์นั้นๆ ตามบัญชีรายชื่อที่กำหนดไว้ในภาคผนวก I »

มาตรา 156  เปลี่ยนใหม่ ดังนี้

                      « มาตรา 156 ผลิตภัณฑ์นม (milk products) ที่ไม่อยู่ภายใต้กระบวนการลดความเสี่ยง (not subject to a risk-mitigating treatment)

                       ผลิตภัณฑ์นมที่มาจากประเทศที่สามหรือเขตแดนหรือพื้นที่ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อฯ ที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้านมดิบ (raw milk) ไปยังสหภาพยุโรป โดยไม่ได้ผ่านกระบวนการลดความเสี่ยงเฉพาะ ตามระบุในภาคผนวก XXVII จะสามารถส่งเข้าไปยังสหภาพยุโรปได้ หากปฏิบัติตามข้อกำหนด ดังนี้

  • นมดิบหรือผลิตภัณฑ์นมจากนมดิบที่ผลิตจากนมของสัตว์พันธุ์ Bos taurus, Ovis

aries, Capra hircus, Bubalus bubalis และ Camelus dromedarius                                                                                                              

  • นมดิบหรือผลิตภัณฑ์นมจากนมดิบที่ใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์นมปฏิบัติตามข้อกำหนดทั่วไปด้านสุขภาพสัตว์สำหรับการนำเข้าสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ไปยังสหภาพยุโรป   ที่กำหนด

ในมาตรา 3 – 10 และข้อกำหนดทั่วไปด้านสุขภาพสัตว์สำหรับการนำเข้านมดิบไปยังสหภาพยุโรป ที่กำหนดในมาตรา 153 และ 154 จึงจะสามารถส่งไปยังสหภาพยุโรปได้ และโดยจะต้องมาจากแหล่งที่ระบุในข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • บัญชีรายชื่อประเทศที่สาม เขตพื้นที่ หรือเขตแดนของประเทศที่สามนั้นๆ ที่ผลิตภัณฑ์นมได้รับการแปรรูป
  • ประเทศที่สาม เขตพื้นที่ หรือเขตแดนของประเทศที่สามนั้นๆ นอกเหนือจาก

ประเทศที่สาม เขตพื้นที่ หรือเขตแดนของประเทศที่สามที่อยู่ในบัญชีรายชื่อผลิตภัณฑ์นมผ่านการแปรรูปได้รับอนุญาตให้นำเข้านมดิบไปยังสหภาพยุโรป หรือ

                               (iii) ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป »

มาตรา 163 เปลี่ยนใหม่ ดังนี้

                      « มาตรา 163 ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับสินค้าคอมโพสิตที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้ที่อุณหภูมิห้อง (self-stable composite products)

  1. การยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 3 ข้อ (c)(i) สินค้าคอมโพสิตที่ไม่มีผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์

(meat products) เป็นส่วนประกอบ ยกเว้นเจลาตินและคอลลาเจน หรือผลิตภัณฑ์จากคอลอสตรัม ที่ผ่านกระบวนการเพื่อสามารถเก็บรักษาไว้ได้ที่อุณหภูมิห้อง จะได้รับอนุญาตให้นำเข้าไปยังสหภาพยุโรป โดยมีหนังสือสำแดง (declaration) กำกับ ตามระบุในข้อ 2 ของมาตรานี้ หากประกอบด้วย ดังต่อไปนี้

  • ผลิตภัณฑ์นมที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  • สินค้าไม่ได้ผ่านกระบวนการลดความเสี่ยงตามที่ระบุในภาคผนวก XXVII โดย

มีเงื่อนไขว่าผลิตภัณฑ์นมมาจากสหภาพยุโรปหรือประเทศที่สามที่มีรายชื่อได้รับอนุญาตให้ส่งออกผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการลดความเสี่ยงเฉพาะ ตามมาตรา 156 และประเทศที่สามซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าคอมโพสิต (หากแตกต่าง) ได้รับอนุญาตให้อยู่ในบัญชีรายชื่อประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกสินค้าดังกล่าวโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการกำจัดความเสี่ยงเพื่อไปยังสหภาพยุโรปได้

  • สินค้าผ่านกระบวนการลดความเสี่ยงตามที่ระบุในช่อง A หรือ B ภาคผนวก

XXVII ตามพันธุ์ที่มาของนม โดยต้องมาจากสหภาพยุโรปหรือจากประเทศที่สามที่อยู่ในบัญชีรายชื่อสำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์นมที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการกำจัดความเสี่ยงเฉพาะ ตามมาตรา 156 หรือผลิตภัณฑ์นมที่ผ่านกระบวนการกำจัดความเสี่ยงเฉพาะ ตามมาตรา 157 และประเทศที่สาม เขตพื้นที่ หรือเขตแดนที่สินค้าคอมโพสิตได้รับการผลิต (หากความแตกต่าง) ได้รับอนุญาตให้อยู่ในบัญชีรายชื่อฯ ที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกสินค้าดังกล่าว หากได้ผ่านกระบวนการลดความเสี่ยงเฉพาะด้วยแล้ว »

  • สินค้าได้ผ่านกระบวนการลดความเสี่ยงอย่างน้อยเท่าเทียมกับกระบวนการที่

ระบุในช่อง B ภาคผนวก XXVII ไม่ว่าพันธุ์ที่มาของนมใดๆ หากผลิตภัณฑ์นมไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุในข้อ (i) หรือ  (ii) หรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาจากสหภาพยุโรปหรือประเทศที่สามที่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าผลิตภัณฑ์นมไปยังสหภาพยุโรป หากได้รับอนุญาตให้นำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์อื่นๆ ไปยังสหภาพยุโรป ตามกฎระเบียบนี้  

  • ผลิตภัณฑ์ไข่ที่ผ่านกระบวนการลดความเสี่ยงที่เท่าเทียมกับกระบวนการที่ระบุใน

ภาคผนวก XXVIII                                                                                                     

  • หนังสือสำแดง (declaration) ที่อ้างในข้อ 1 จะต้อง:
  • แนบไปกับสินค้าคอมโพสิต เฉพาะสำหรับสินค้าคอมโพสิตที่มีจุดหมายปลายทาง

อยู่ในสหภาพยุโรป

  • ออกให้โดยผู้ประกอบการที่รับผิดชอบการนำเข้าสินค้าคอมโพสิตนั้น โดยรับรอง

ว่า สินค้าคอมโพสิตปฏิบัติตามข้อกำหนดที่กำหนดไว้ในข้อ 1.

  • การละเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 3 ข้อ (a)(i) สินค้าคอมโพสิตที่มีส่วนผสมของผลิต

ภัณฑ์นมตามที่ระบุในข้อ 1 (a)(iii) ของมาตรานี้ และสินค้าคอมโพสิตที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ไข่ที่ผ่านกระบวนการเพื่อสามารถเก็บรักษาไว้ได้ที่อุณหภูมิห้องจะได้รับอนุญาตให้นำเข้าไปยังสหภาพยุโรป หากสินค้าดังกล่าวมาจากประเทศที่สามที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อเฉพาะให้นำเข้าสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ดังกล่าวไปยังสหภาพยุโรป หากแต่อยู่ในบัญชีรายชื่อให้นำเข้าไปยังสหภาพยุโรปในสินค้า ดังนี้

  • ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ (meat products) ผลิตภัณฑ์นม (dairy products) หรือ

ผลิตภัณฑ์ไข่ (egg products) หรือ

  • ผลิตภัณฑ์ประมง (fishery products) ตามมาตรา 127 Regulation (EU)

2017/625 »

มาตรา 166 ภายหลังจากวรรคแรก ให้เพิ่มวรรคดังต่อไปนี้

               « อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบทางคลินิกตามวรรคแรก อาจดำเนินการโดยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพสัตว์น้ำได้ โดยผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพสัตว์น้ำได้รับอนุญาตให้ดำเนินการโดยประเทศที่สาม ภายใต้กฎหมายแห่งชาติ »

 มาตรา 167 ข้อ (a) ให้เปลี่ยนใหม่ ดังนี้

               « นอกเหนือจากในกรณีสัตว์น้ำ ที่ระบุในมาตรา 172 ข้อ (d), (e) และ (f) สินค้าได้ถูกส่งตรงจากแหล่งกำเนิดไปยังสหภาพยุโรป »

 มาตรา 168 วรรคนำ ให้เปลี่ยนใหม่ ดังนี้

                « นอกเหนือจากในกรณีสัตว์น้ำ ที่ระบุในมาตรา 172 ข้อ (d), (e) และ (f) ที่สินค้าสัตว์น้ำได้ถูกส่งตรงไปยังสหภาพยุโรป รวมถึงการขนส่งโดยเรือ (vessel) หรือโดยเรือที่มีห้องเก็บสัตว์น้ำ (well-boat) แม้ในช่วงระยะหนึ่งของการเดินทาง สินค้าสัตว์น้ำดังกล่าวที่ขนส่งตามมาตรา 167 จะได้รับอนุญาตให้นำเข้าไปยังสหภาพยุโรปหากสินค้าสัตว์น้ำมีหนังสือสำแดง (declaration) กำกับอยู่กับหนังสือรับรองสุขอนามัยสัตว์ และลงนามโดยนายเรือ (master of vessel) ในวันที่เรือเดินทางมาถึง ณ ท่าเรือปลายทาง โดยมีข้อมูล ดังนี้   »

มาตรา 169 ข้อ 3.ให้เปลี่ยนใหม่ ดังนี้

                « 3. สินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์จากสัตว์น้ำนอกเหนือจากสัตว์น้ำมีชีวิต ที่นำเข้าไปยังสหภาพยุโรปเพื่อการแปรรูปต่อ (further processing) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด ดังนี้

  • สินค้าต้องได้รับการระบุด้วยฉลากที่อ่านได้จากด้านนอกของคอนเทนเนอร์ โดยระบุถึง

หนังสือรับรองที่ออกให้แก่สินค้านั้นๆ »

  • ฉลากดังกล่าวในข้อ (a) ต้องประกอบด้วยการระบุ ดังนี้
  • สินค้าจากสัตว์มีแหล่งกำเนิดมาจากปลา นอกเหนือจากปลามีชีวิตเพื่อการ

แปรรูปต่อในสหภาพยุโรป

  • สินค้าจากสัตว์มีแหล่งกำเนิดมาจากมอลลัส นอกเหนือจากมอลลัสมีชีวิตเพื่อ

การแปรรูปต่อในสหภาพยุโรป

  • สินค้าจากสัตว์มีแหล่งกำเนิดมาจากครัชเตเชียน นอกเหนือจากมอลลัสมีชีวิต

เพื่อการแปรรูปต่อในสหภาพยุโรป »                                                                                                        

มาตรา 174 ข้อ 1 เปลี่ยนใหม่ ดังนี้

               « 1. หลังจากการนำเข้าไปยังสหภาพยุโรป สินค้า

  • สัตว์น้ำ นอกเหนือจากที่ระบุในมาตรา 172 ข้อ (d), (e) และ (f) ต้องถูกขนส่งตรงไปยัง

สถานที่จุดหมายปลายทางในสหภาพยุโรป »

  • สัตว์น้ำ และสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์น้ำต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อ

มั่นใจได้ว่า น้ำธรรมชาติ (natural waters) ไม่ได้รับการปนเปื้อน »

Part V Title 2 ให้เปลี่ยนใหม่ ดังนี้

                « ข้อกำหนดสุขภาพสัตว์เพื่อลดผลกระทบจากโรคบางรายการ นอกเหนือจากที่ระบุในมาตรา 9(1) ข้อ d Regulation (EU) 2016/429 »

มาตรา 178 หัวข้อและวรรคเริ่มต้นของข้อ 1 ให้เปลี่ยนใหม่ ดังนี้

                « ข้อกำหนดพิเศษสำหรับการนำเข้าสัตว์เท้ากีบ (ungulates) สัตว์ปีก นกจับ (captive birds) และสัตว์น้ำจากสหภาพยุโรปที่ถูกปฏิเสธการนำเข้าไปยังประเทศที่สามหรือเขตพื้นที่ของประเทศที่สาม และถูกส่งกลับไปยังสหภาพยุโรปอีกครั้ง

  1. สัตว์เท้ากีบ (ungulates) สัตว์ปีก นกจับ (captive birds) และสัตว์น้ำจากสหภาพยุโรปที่

ถูกปฏิเสธการนำเข้าจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศที่สามหรือเขตพื้นที่ของประเทศที่สาม และถูกส่งกลับไปยังสหภาพยุโรป จะได้รับอนุญาตให้นำเข้าไปยังสหภาพยุโรปได้อีกครั้ง (re-enter) หากปฏิบัติตามข้อกำหนด ดังนี้  »

มาตรา 179  หัวข้อและวรรคเริ่มต้นของข้อ 1 ให้เปลี่ยนหม่ ดังนี้

                « ข้อกำหนดพิเศษสำหรับการนำเข้าสัตว์ นอกเหนือจากสัตว์เท้ากีบ (ungulates) สัตว์ปีก นกจับ (captive birds) และสัตว์น้ำจากสหภาพยุโรปที่ถูกปฏิเสธการนำเข้าไปยังประเทศที่สามหรือเขตพื้นที่ของประเทศที่สาม และถูกส่งกลับไปยังสหภาพยุโรปอีกครั้ง

  1. สัตว์ นอกเหนือจากสัตว์เท้ากีบ (ungulates) สัตว์ปีก นกจับ (captive birds) และสัตว์น้ำ

จากสหภาพยุโรปที่ถูกปฏิเสธการนำเข้าจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักของประเทศที่สามหรือเขตพื้นที่ของประเทศที่สาม และถูกส่งกลับไปยังสหภาพยุโรป จะได้รับอนุญาตให้นำเข้าไปยังสหภาพยุโรปได้อีกครั้ง (re-enter) หากสัตว์ดังกล่าวมีเอกสารดังต่อไปนี้ ประกอบ  »

ภาคผนวก VIII, X, XI และ XXI Regulation (EU) 2020/692 ได้รับการปรับแก้ตามภาคผนวก ของ Commission  Delegated  Regulation (EU) 2023/119 นี้

ปรับแก้ Delegated Regulation (EU) 2020/692 ในมาตรา 170(1) ข้อ (a)(iv) ดังนี้

              « (iv) โรค (disease) ที่ประเทศสมาชิกบางประเทศปรับใช้มาตรการแห่งชาติ (national measures) ที่ระบุในมาตรา 175 Delegated Regulation (EU) 2020/692 เมื่อสินค้ามีส่วนประกอบของพันธุ์สัตว์ที่ปรากฏในภาคผนวก XXIX และส่งไปยังประเทศสมาชิก พื้นที่ หรือเขตที่ระบุในภาคผนวก I หรือ II Commission (EU) 2021/260 »

กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal  (ประกาศ

ณ วันที่ 18 มกราคม 2566) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าว สามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้

https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32023R0119&from=EN