free page hit counter

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป

Office of Agricultural Affairs | Royal Thai Embassy, Brussels
HomeRegulationสหภาพยุโรปปรับแก้แนวทางการปฏิบัติสำหรับการตรวจสอบควบคุมสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์

สหภาพยุโรปปรับแก้แนวทางการปฏิบัติสำหรับการตรวจสอบควบคุมสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์

Featured Image by Kat Jayne under Pexels license

คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศ Commission Implementing Regulation (EU) 2021/1709 ว่าด้วย การปรับแก้ Implementing Regulation (EU) 2019/627 ด้านแนวทางการปฏิบัติสำหรับการตรวจสอบควบคุมสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ ใน EU Official Journal L 339/84 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 

  • ปรับแก้มาตรา 18(3), มาตรา 19(2),  มาตรา 20(2),  มาตรา 21(2),  มาตรา 22(2) และมาตรา 23(2) ว่าด้วย กระบวนการตรวจสอบสัตว์หลังเชือด โดยเปลี่ยนประโยคแรกใหม่ ดังนี้

                « กระบวนการตรวจสอบสัตว์หลังเชือด (Post-mortem inspection procedures) ต้องกระทำตามมาตรา 18(2)(c) Regulation (EU) 2017/625 และมาตรา 7 และ 8 Regulation (EU) 2019/624 โดยการผ่าและการคลำซากสัตว์และเครื่องใน หากเห็นว่ามีการบ่งชี้ด้านความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์ สุขภาพสัตว์ หรือสวัสดิภาพสัตว์ ตามที่ระบุในมาตรา 24 »

  • ปรับแก้มาตรา 19(2) ข้อ (b) ให้ลบคำว่า « an incision of the bronchial and mediastinal lymph nodes (Lnn. bifurcationes, eparteriales and mediastinales) »
  • ปรับแก้มาตรา 24 ว่าด้วย การบ่งชี้ความเสี่ยงที่เป็นไปได้ต่อสุขภาพมนุษย์ สุขภาพสัตว์ หรือสวัสดิภาพสัตว์ โดยเปลี่ยนประโยคแรกใหม่ ดังนี้

               « กระบวนการตรวจสอบสัตว์หลังการเชือดเพิ่มเติม (Additional post-mortem inspection procedures) ตามมาตรา 18(3), มาตรา 19(2), มาตรา 20(2), มาตรา 21(2), มาตรา 22(2) และมาตรา 23(2) จะทำการผ่าและการคลำซากสัตว์และเครื่องใน ก็ต่อเมื่อสัตวแพทย์ผู้มีอำนาจเห็นว่า มีการบ่งชี้ด้านความเสี่ยงต่อสุขภาพมนุษย์ สุขภาพสัตว์ หรือสวัสดิภาพสัตว์ ตามกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้ »

  • ปรับแก้มาตรา 27(1) ข้อ (c) ว่าด้วย กระบวนการตรวจสอบหลังการเชือดสัตว์ป่าเลี้ยงในฟาร์ม
    ให้เปลี่ยนใหม่ ดังนี้

          « (c) ในกรณีของสัตว์เท้ากีบป่า (game ungulates) อื่นๆ ที่ไม่ครอบคลุมโดยข้อ (a) และ (b) กระบวนการตรวจสอบหลังการเชือดสำหรับวัว ถูกกำหนดในมาตรา 19 »

  • ปรับแก้มาตรา 44 ข้อ 1 ว่าด้วย มาตรการในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดสวัสดิภาพสัตว์
    ให้เปลี่ยนใหม่ ดังนี้

          « 1. ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามกฏเกี่ยวกับการปกป้องสัตว์ ณ เวลาเชือดหรือฆ่า ที่กำหนดในมาตรา 3 -9 และมาตรา 14 – 17 และมาตรา 19 ของ Regulation (EC) No 1099/2009 สัตวแพทย์ผู้มีอำนาจต้องตรวจสอบให้ผู้ประกอบการต้องดำเนินมาตรการแก้ไขที่จำเป็นในทันทีและป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก »

  • ปรับแก้มาตรา 48(2) ข้อ (a) ว่าด้วย ข้อกำหนดทางเทคนิคด้านเครื่องหมายสุขภาพและการปฏิบัติในการใช้เครื่องหมาย ให้เปลี่ยนใหม่ ดังนี้

               « (a) มีการใช้เครื่องหมายสุขภาพเฉพาะกับสัตว์เท้ากีบพื้นเมืองและสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมที่
เลี้ยงในฟาร์ม (ไม่ครอบคลุมกระต่าย) ที่ผ่านการตรวจสอบก่อนและหลังการเชือด สัตว์ป่าขนาดใหญ่ที่ผ่าน
การตรวจสอบหลังการเชือดตามมาตรา 18(2)(a), (b) และ (c) Regulation (EU) 2017/625 และเป็นสินค้าที่ไม่มีเหตุผลใดที่จะระบุว่า เนื้อสัตว์ไม่เหมาะสมกับการบริโภคของมนุษย์ สินค้าดังกล่าวสามารถใช้เครื่องหมาย                                              

ก่อนที่ผลการตรวจโรค Trichinella และ/หรือ TSE จะออกได้ ตามข้อกำหนดในมาตรา 4(3) Implementing Regulation (EU) 2015/1375 และ บท A ภาคผนวก III Regulation (EC) No 999/2001 ข้อ 6.2 และข้อ 6.3 ของข้อ I และข้อ 7.2 และข้อ 7.3 ของข้อ II »

  • ปรับแก้ภาคผนวก V (ว่าด้วย วิธีที่ได้รับการยอมรับสำหรับการตรวจหาสารชีวพิษทางทะเล)
    และภาคผนวก VI (ว่าด้วย การปฏิบัติในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ประมง) Implementing Regulation (EU) 2019/627  ใหม่ ตามที่ปรากฏในภาคผนวก (Annex) ฉบับนี้
  • กฎระเบียบดังกล่าวมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากที่ประกาศใน EU Official Journal (ประกาศ ณ วันที่ 24 กันยายน 2564) ทั้งนี้ รายละเอียดของกฎระเบียบดังกล่าวสามารถสืบค้นเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ ดังนี้
https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32021R1709&from=EN
Featured Image by Olga Lioncat under Pexels license